กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

เป็นหวัดช่วงตั้งครรภ์ ควรกินยาอย่างไร

เป็นหวัดขณะตั้งครรภ์ควรดูแลตัวเองอย่างไร กินยาอย่างไรไม่ให้เป็นอันตราย
เผยแพร่ครั้งแรก 6 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เป็นหวัดช่วงตั้งครรภ์ ควรกินยาอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ในช่วงตั้งครรภ์ 12 สัปดาห์แรก หากป่วยเป็นไข้หวัด ควรหลีกเลี่ยงการรักษาโรคไข้หวัดด้วยยา เพราะอายุครรภ์ดังกล่าว เป็นช่วงเวลาสำคัญต่อพัฒนาการของร่างกายทารก
  • หากมีอการมึนศีรษะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก อาเจียน ทารกเคลื่อนไหวลดลง เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างเป็นไข้หวัดในช่วงตั้งครรภ์ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน
  • ช่วงที่ตั้งครรภ์คือ ช่วงเวลาที่ภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำกว่าปกติ จึงต้องดูแลตนเองให้ร่างกายปลอดจากเชื้อโรค และแข็งแรงมากที่สุด อีกทั้งควรดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาดด้วย
  • หากเป็นไข้หวัด อย่าเพิ่งซื้อยามารับประทานเอง แต่ควรไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการ และหญิงตั้งครรภ์สามารถรีบวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนฉีด
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร

เมื่อตั้งครรภ์ ภูมิคุ้มกันร่างกายที่ต่ำลงกว่าปกติอาจทำให้ผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น สภาพร่างกายที่เจ็บป่วยย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ไปด้วย 

แม้จะเป็นเพียง "โรคไข้หวัด" แต่หากเจ็บป่วยในระหว่างตั้งครรภ์ก็ต้องมีวิธีรักษาที่ซับซ้อนกว่าเดิม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อแม่และทารกในครรภ์น้อยที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ยารักษาโรคไข้หวัดที่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์

ช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์คือ ช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยามากที่สุดโดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อพัฒนาการของอวัยวะสำคัญในร่างกายทารก 

แพทย์บางท่านอาจให้งดการใช้ยาไปจนถึงอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ ส่วนตัวยาจัดว่าปลอดภัยหากใช้หลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 12 สัปดาห์ ได้แก่

  • ตัวยาที่มีส่วนผสมของสารเมนทอลสำหรับถูหน้าอก ขมับ ใต้จมูก
  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) สำหรับลดอาการ และเป็นไข้
  • ยาลดอาการไอในช่วงกลางคืน
  • ยาขับเสมหะระหว่างวัน
  • ยาในกลุ่มแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium-carbonate) หรือยาใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก คลื่นไส้ มวนท้อง
  • ยาน้ำแก้ไอ
  • ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของยาเดกซ์โตรมีธอร์แฟน (Dextromethorphan)

ยารักษาโรคไข้หวัดที่ไม่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ตัวยาที่กล่าวไปข้างต้นจะปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์ แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาผสมหลายๆ ตัวเพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นหลายอย่าง

ทางที่ดีควรเลือกใช้ยาเพียง 1 ตัวเท่านั้น เพื่อรักษาอาการที่เกิดขึ้นไปทีละอาการ อย่าเพิ่งใช้ยาพร้อมๆ กันหลายตัว

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาต่อไปนี้ขณะตั้งครรภ์ หรือควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อการตั้งครรภ์ได้

  • ยาแอสไพริน (Aspirin)
  • ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)
  • ยานาพรอกเซน (Naproxen)
  • ยาโคเดอีน (Codeine)
  • ยาแบคทริม (Bactrim)

วิธีรักษาโรคหวัดขณะตั้งครรภ์ด้วยตนเอง

นอกจากการรับประทานยาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยยังควรดูแลร่างกายให้ดีเพื่อให้อาการป่วยหายดีขึ้นโดยเร็ว และไม่ทำให้อาการของโรคส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารก เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพราะในช่วงที่มีอาการไข้หวัดจนน้ำมูกไหล หรือคัดจมูก สารน้ำในร่างกายจะออกจากร่างกายมากกว่าปกติ
  • หมั่นกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ อยู่เสมอ หากมีอาการไอ หรือเจ็บคอ
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน รวมถึงงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • งดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามปกติ เน้นผักสดและผลไม้สดเพื่อเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ
  • ไม่ต้องอดอาหาร หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็น
  • ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • หากมีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นธรรมดา หากไม่จำเป็นไม่ต้องใช้ยารักษา

หากอาการโรคไข้หวัดแย่ลง ให้ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หยอดจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อลดอาการคัดจมูก บรรเทาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อในจมูก
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายขับความร้อนออกมาผ่านปัสสาวะ อาการไข้จะได้ลด
  • เปลี่ยนจากการพักอยู่ในห้องแอร์ ไปอยู่ในที่มีแสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ควรอยู่ในที่แออัด มีผู้คนมาก เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อโรคอื่นๆ ได้มากกว่าเดิม
  • ทำให้อุณหภูมิรอบตัวอบ มีความอุ่นชื้นเพียงพอเสมอ คุณอาจใช้เครื่องทำไอน้ำ หรือสูดไอน้ำร้อนเพื่อให้จมูกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น
  • ดื่มน้ำอุ่น รับประทานอาหารอ่อนๆ ที่อุ่นร้อนเพื่อลดอาการอักเสบในลำคอ ลดเสมหะ และอาการคัดจมูก
  • ประคบร้อน หรือประคบเย็น เพื่อลดอาการปวดในโพรงจมูก

ระยะอาการป่วยที่ควรไปพบแพทย์

หากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์และมีอาการโรคไข้หวัดดังต่อไปนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

คำแนะนำอื่นๆ สำหรับป้องกันอาการป่วยเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์

  • ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด 
  • หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธีเสมอๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากไปสัมผัสสิ่งของสาธารณะมา 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้วิตามินและแร่ธาตุเพียงพอต่อร่างกายของคุณกับเด็กในครรภ์ โดยเฉพาะผลไม้ ซึ่งมีส่วนช่วยป้องกันโรคไข้หวัดได้ดี เช่น ส้ม อะโวคาโด ฝรั่ง แอปเปิล ลิ้นจี่ แก้วมังกร กล้วย ทับทิม แตงโม
  • ลดใช้สารเคมีบางประเภทและอยู่ให้ห่างจากสารพิษบางชนิด เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาย้อมผม น้ำผอม น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด
  • งดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน งดเสพยาเสพติด งดสูบบุหรี่
  • งดรับประทานอาหารรสจัด
  • ใส่เสื้อผ้าที่สบาย
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อาจปรึกษาแพทย์ด้วยว่า ควรออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะกับอายุครรภ์
  • อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ไม่ทำงานหนัก หรือทำงานหักโหมจนร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ 
  • ไปตรวจครรภ์ตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง รวมถึงหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วย
  • อย่าปล่อยให้ตนเองเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ควรทำให้สุขภาพจิตของตนเองดีอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่แออัดไปด้วยผู้คนเพราะตัวการที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดมากที่สุดคือ การติดเชื้อไวรัสจากผู้อื่น หากคุณต้องทำงานในที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนอาจเปลี่ยนไปทำงานที่บ้านแทน

นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ยังสามารถไปเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ทางที่ดีก่อนรับวัคซีนป้องกันโรคใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้วัคซีนส่งผลกระทบต่อร่างกายของทารก

นอกจากตัวคุณแม่แล้ว ว่าที่คุณพ่อก็ต้องคอยดูสุขภาพของคุณแม่ไปด้วย เพื่อไม่ให้คุณแม่รับภาระหนักในการดูแลตนเองเพียงลำพัง หรืออาจรู้สึกเครียดเกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเองมากเกินไป

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฝากครรภ์ คลอดบุตร จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
นศภ. ชนัญญา สุขโสภณ นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/238/ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร/contact.php), 4 มิถุนายน 2563.
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา มหาวิทบาลัยมหิดล, เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา (https://med.mahidol.ac.th/obgyn/th/article/05082014-1142-th), 4 มิถุนายน 2563.
Medical News Today, Flu during pregnancy: Being safe and when to seek help (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327343), 12 November 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม