หนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของผู้หญิงก็คือ การได้ตั้งครรภ์และได้เห็นหน้าลูกของตัวเองเป็นครั้งแรกเมื่อถึงกำหนดคลอด ดังนั้นตลอดระยะเวลา 9 เดือนที่ตั้งครรภ์ ผู้หญิงจึงต้องพยายามดูแลตัวเองเป็นพิเศษเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง
ทั้งในเรื่องการดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อาหารการกินที่มีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ การพักผ่อนที่เพียงพอ การหลีกเลี่ยงความเครียด การออกกำลังกายที่เหมาะสม
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
แต่ในสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ในหลายๆ พื้นที่ ผู้หญิงหลายคนอาจสงสัยว่า หากตนเองติดเชื้อ COVID-19 หรือมีแนวโน้มจะติด จะมีผลกระทบอย่างไรต่อทารกในครรภ์หรือไม่ บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยให้คุณกัน
ติด COVID-19 ตอนตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์จะติดด้วยไหม?
จากการศึกษาขนาดเล็กพบว่า "ไม่ติดเชื้อ" แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่า ทารกจะไม่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเลย
จากการศึกษาผู้หญิงชาวจีนที่กำลังตั้งครรภ์ 9 คน และคลอดในขณะที่เป็นโรค COVID-19 ผลตรวจทารกทั้ง 9 คน จากเลือดในสายสะดือ สารคัดหลั่งภายในคอ และน้ำคร่ำของแม่ พบว่า "ผลตรวจเป็นลบ ไม่พบเชื้อโคโรนาไวรัสแต่อย่างใด"
แต่ในขณะเดียวกัน งานศึกษาขนาดใหญ่อีกงานที่ทดสอบกับผู้หญิง 30 คน พบว่า "มีทารกแรกคลอด 3 คนที่มีผลตรวจเลือดเป็นบวก หรือพบเชื้อโคโรนาไวรัส"
ปัจจุบันนักวิจัยยังไม่สามารถยืนยันได้ชัดเจนว่า เชื้อ COVID-19 ส่งต่อกันตั้งแต่ในครรภ์ หรือส่งต่อผ่านการสัมผัสโดยตรงหลังคลอด เรื่องนี้จึงยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยต่อไป
ติด COVID-19 จะให้นมบุตรได้ไหม?
แม้จะมีข้อมูลจำกัด แต่ผลจากหลายการศึกษายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า "ภายในน้ำนมแม่ไม่มีเชื้อโคโรนาไวรัส" แต่การให้นมบุตรในขณะที่แม่ยังมีเชื้อ COVID-19 อยู่ ก็ถือเป็นการเพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อในทารกได้
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้นแนวทางการให้นมทารกแรกคลอด อาจมีดังต่อไปนี้
- แม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนสวมหน้ากากอนามัย
- แม่ต้องสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ให้นม
- แม่ต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนจับอุปกรณ์ปั๊มนมรวมถึงขวดนม
- หากสามารถหลีกเลี่ยงการให้นมบุตรด้วยตนเองได้ ควรเว้นระยะห่างจากทารก เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจและแนวทางการปฏิบัติขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้ดูแล เนื่องจากผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีปัจจัยอื่นๆ เกี่ยวข้องมากกว่าโรค COVID-19
ทารกแรกคลอดควรใส่หน้ากากอนามัยไหม?
ทารกแรกคลอดไม่ควรใส่หน้ากากอนามัยเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากทารกยังพัฒนาระบบทางเดินหายใจได้ไม่เต็มที่จึงทำให้ไม่สามารถใช้ปากในการหายใจแทนจมูกได้
เมื่อทารกใส่หน้ากากอนามัยจะทำให้เกิดการสะสมของคาร์บอนไดออกไซด์ในหน้ากาก อีกทั้งทารกยังไม่สามารถใช้ปากรับออกซิเจนทดแทนเข้าไปได้ การใส่หน้ากากอนามัยจึงเป็นอันตรายกับทารกมาก
ผู้ที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงที่จะเป็น COVID-19 เพิ่มมากขึ้นไหม?
อาจเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน เนื่องจาก COVID-19 ยังเป็นโรคอุบัติใหม่ และยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
แต่หน่วยงานป้องกันโรคระบาดของสหรัฐอเมริกา (Centers for disease control: CDC) ให้คำแนะนำไว้ว่า หลังเกิดการปฏิสนธิจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อไม่ให้ร่างกายทำอันตรายกับทารกในครรภ์
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้นภูมิคุ้มกันของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะอ่อนแอกว่าคนทั่วไปเล็กน้อย และมีโอกาสเป็นโรคบางชนิดมากขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ แต่สำหรับเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ยังคงไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่า "ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์มีความเสี่ยงติดเชื้อมากขึ้นหรือไม่"
ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าตั้งครรภ์จึงควรรีบไปฝากครรภ์ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือสถานพยาบาลที่วางใจ เพื่อให้ครรภ์อยู่ในความดูแลของแพทย์ แพทย์จะให้คำแนะนำทั้งเรื่องการรับวัคซีนที่จำเป็น เหมาะสม และปลอดภัย รวมถึงการปฏิบัติตัว การดูแลครรภ์อย่างถูกต้องจนกระทั่งคลอด
เป็น COVID-19 ส่งผลกระทบกับทารกในครรภ์หรือไม่?
มีความเป็นไปได้ที่จะส่งผลกระทบ แม้จะยังมีข้อมูลจำกัด แต่ผู้เชี่ยวชาญจาก CDC เผยว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็น COVID-19 มีโอกาสจะคลอดก่อนกำหนดอยู่ระหว่าง 4-36 สัปดาห์
ผู้เชี่ยวชาญยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า การคลอดก่อนกำหนด เกิดจากการติดเชื้อ หรือแพทย์วินิจฉัยให้ผ่าคลอดเพราะอาการของแม่ แต่หนึ่งในอาการของ COVID-19 ที่อาจเป็นสาเหตุคือ อาการไข้ หากร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นจะนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) และกระตุ้นให้ร่างกายคลอดก่อนกำหนดได้
นอกจากนี้หากแม่มีอาการแทรกซ้อนรุนแรงเกี่ยวกับปอด เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) อาจทำให้ได้รับออกซิเจนน้อยลง และส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้
ติด COVID-19 ควรทำคลอดแบบไหน?
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ควรคลอดแบบธรรมชาติมากกว่า แม้จะยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า เชื้อ COVID-19 ที่ติดทารกนั้น ติดต่อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ หรือติดจากการสัมผัสเชื้อภายนอก
แต่การคลอดแบบธรรมชาติจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วกว่า และออกจากโรงพยาบาลได้เร็วกว่าการผ่าคลอด ซึ่งต้องนอนพักฟื้นในโรงพยาบาลหลายวัน จนอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อจากผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้การผ่าคลอดในผู้หญิงที่ร่างกายกำลังอ่อนแอจากโรค COVID-19 ยังอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้ง่าย
ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้ห่างไกล COVID-19 ขณะตั้งครรภ์
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง ดังนั้นจึงควรระวังตัวให้มากขึ้นและทำตามมาตรการป้องกันโรคติดต่อ ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการเดินทางไปที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีผู้คนอยู่มาก
- หากต้องออกจากบ้านควรสวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัย
- เว้นระยะห่างในสังคมอย่างน้อย 1-2 เมตร
- ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดให้สะอาดและถูกวิธีนานครั้งละอย่างน้อย 20 วินาที
- หากไม่สะดวกล้างมือ ให้ใช้เจลล้างมือที่มีแอลกอฮอล์ 70% ขึ้นไป
- รับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ตับวัว ไข่แดง ผักสด ผลไม้สด
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรง
- พักผ่อนให้เพียงพอ
ระหว่างตั้งครรภ์ หากเริ่มมีอาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 เช่น ไอแห้ง เจ็บคอ ปวดหัว มีไข้สูง ควรโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด หรือปรึกษาแพทย์ออนไลน์ หรือติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 เพื่อขอแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 หรือมีประวัติเข้าใกล้กับผู้ติดเชื้อ ควรทำคลอดที่โรงพยาบาล เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดทารกแรกคลอด ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจเชื้อ COVID-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android