พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
เขียนโดย
พทป. บุญศิริ คณะภักดิ์ แพทย์แผนไทยประยุกต์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ หากมีอาการเหล่านี้ คุณอาจตั้งท้องแล้ว!

รวมวิธีสังเกตอาการคนท้องในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก และการตรวจสอบให้รู้ผลท้อง-ไม่ท้องที่เชื่อถือได้
เผยแพร่ครั้งแรก 4 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 ตรวจสอบความถูกต้อง 18 มี.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
อาการคนท้อง 1 สัปดาห์ หากมีอาการเหล่านี้ คุณอาจตั้งท้องแล้ว!

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ชุดตรวจครรภ์จะไม่สามารถตรวจพบอายุครรภ์ 1 สัปดาห์ได้ แต่สามารถสังเกตจากอาการแทน เช่น ประจำเดือนขาดมากกว่า 10 วัน เต้านมมีการเปลี่ยนแปลง
  • ผู้หญิงบางคนอยากมีลูกมากจนเครียดและอาจมีอาการท้องหลอกเกิดขึ้น ซึ่งเป็นความผิดปกติทางจิตที่ผู้ป่วยจะคิดเองว่า กำลังตั้งครรภ์อยู่ แต่เมื่อไปอัลตราซาวน์ก็จะไม่พบอะไร
  • ระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจการตั้งครรภ์โดยชุดตรวจที่วางขายทั่วตามท้องตลาดคือ อายุครรภ์ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และควรตรวจด้วยปัสสาวะตอนเช้า
  • ก่อนจะวางแผนมีลูก หรือไม่คุมกำเนิด ควรตรวจสุขภาพให้แน่ใจก่อนว่า ร่างกายพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์แล้วหรือไม่ (ดูแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก หรือเตรียมตัวมีบุตรได้ที่นี่)

ผู้คนทั่วไปมักเข้าใจว่า อาการของผู้หญิงตั้งครรภ์คือ คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรืออารมณ์หงุดหงิดง่าย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า แท้จริงแล้วช่วงสัปดาห์แรกที่ผู้หญิงเริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ คุณจะยังไม่สามารถตรวจว่า ตนเองตั้งครรภ์จริงหรือไม่ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เนื่องจากปริมาณของฮอร์โมนเอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin: HCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ยังอยู่ในระดับต่ำอยู่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม คุณยังสามารถสังเกตอาการบางอย่างที่ร่างกายแสดงออกมา เพื่อสันนิษฐานว่า ตนเองอาจตั้งครรภ์ได้ ดังต่อไปนี้

อาการของหญิงตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

1. ประจำเดือนขาด

โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงจะมีระยะเวลาประมาณ 21-35 วัน แต่หากประจำเดือนขาดหายไปมากกว่า 10 วัน นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า "คุณกำลังตั้งครรภ์"

เนื่องจากเมื่อไข่กับตัวอสุจิเริ่มปฏิสนธิกัน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ออกมา เพื่อยับยั้งไม่ให้ผนังมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน และส่งเสริมการฝังตัวของตัวอ่อนแทน

แต่บางครั้งอาการประจำเดือนขาดก็อาจมาจากสาเหตุอื่นได้ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ เช่น การตั้งครรภ์ ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ การใช้ยาคุมกำเนิด

2. มีตกขาวมากผิดปกติ

การตั้งครรภ์จะส่งผลให้ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจึงทำให้ตกขาวมีมากขึ้นได้ แต่ลักษณะของตกขาวยังต้องอยู่ในลักษณะปกติ คือ เป็นมูกใส หรือเป็นสีขาวขุ่น

แต่หากตกขาวมีลักษณะผิดปกติไป เช่น มีสีเขียว สีเหลือง และมีอาการคันระคายเคืองร่วมด้วย คุณควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อบางอย่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

3. มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด

ในช่วง 11-12 วันหลังปฏิสนธิ ตัวอ่อนจะไปฝังตัวอยู่ที่เยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้มีเลือดสีแดงจางๆ ปริมาณไม่มากไหลออกมาจากช่องคลอดได้ และเลือดนี้จะหยุดไหลไปเองภายใน 1-2 วัน 

แต่หากคุณมีเลือดไหลไม่หยุดและมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะเลือดที่ไหลออกมานั้นจากอาจเกิดจากการแท้ง หรือท้องนอกมดลูกได้

4. เต้านมมีการเปลี่ยนแปลง

เมื่อเริ่มตั้งครรภ์ ฮอร์โมนจากรก และรังไข่จะผลิตเพิ่มมากขึ้น ทำให้หัวนม และลานนมมีสีเข้ม หรือคล้ำขึ้น รวมถึงเต้านมขยายขนาด รวมกับมีอาการเจ็บตึงด้วย

5. ปัสสาวะบ่อย

มดลูกที่ขยายขนาดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเพิ่มมากขึ้น จะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นได้

6. ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มมากขึ้นสามารถส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ไม่ดีนัก รวมถึงมีแก๊สเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร และมีอาการท้องผูกร่วมด้วย คุณจึงอาจเกิดอาการท้องอืด หรือไม่สบายท้องได้

วิธีแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ สามารถทำได้โดยเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่ายขึ้น เช่น ผักใบเขียว นม ไข่ รวมทั้งให้เพิ่มจำนวนครั้งของการรับประทานอาหารให้บ่อยกว่าเดิม แต่รับประทานครั้งละน้อยๆ แทน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

7. มีอาการแพ้ท้อง

เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนเอชซีจีซึ่งจะมีระดับสูงขึ้นถึงประมาณ 16 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนมากจึงมักจะมีอาการแพ้ท้อง อาการเหล่านี้เป็นอาการแพ้ท้องที่หลายคนรู้จักอยู่แล้ว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ไวต่อกลิ่น

นอกจากนี้การรับกลิ่น และรสอาหารยังอาจเปลี่ยนไปด้วย บางคนอาจอยากรับประทานอาหารรสเปรี้ยว หรืออาหารที่แปลกไปจากเดิม อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจไม่ได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคน บางคนอาจไม่มีอาการเหล่านี้เลยก็ได้

8. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงยังสามารถส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ความดันเลือด และระบบไหลเวียนโลหิตได้ จึงทำให้หญิงตั้งครรภ์บางคนอาจอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายกว่าปกติได้

วิธีแก้ คือ ให้รับประทานอาหารจำพวกโปรตีน และอาหารที่มีธาตุเหล็กเพิ่มเติม อาการอ่อนเพลียจากการตั้งครรภ์จะค่อยๆ ดีขึ้นเอง

9. อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

เป็นอีกอาการจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงจึงทำให้หญิงตั้งครรภ์หลายคนมีอารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ซึ่งเป็นอาการปกติโดยเฉพาะในช่วงเริ่มตั้งครรภ์

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ และคนรอบข้างจึงควรเข้าใจอาการ และภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อจะได้เตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดการตั้งครรภ์

หากคุณแน่ใจแล้วว่าตนเองตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์กับแพทย์เพื่อให้แพทย์ดูแลและนัดมาเช็กอาการสม่ำเสมอ เพราะในการฝากครรภ์แพทย์มักทำการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ให้ก่อน และจะดูแลเป็นระยะจนกระทั่งถึงวันคลอด

“ท้องหลอก” อาการที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงตั้งครรภ์ 1 สัปดาห์

หลายคนอาจไม่รู้จักกับอาการท้องหลอก หรือชื่อทางการแพทย์คือ “Spurious Pregnancy” หรือ “Pseudocyesis” ซึ่งจัดเป็นอาการผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง

อาการท้องหลอกคือ อาการที่ผู้หญิงอุปทานไปเองว่า "ตนเองตั้งครรภ์" โดยมักมีสาเหตุมาจาก สภาพทางจิตใจที่เครียด อยากมีลูกแต่ไม่มีเสียที จนทำให้ต่อมใต้สมองสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นรังไข่และมดลูก ทำให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและไม่มีประจำเดือน

นอกจากนี้อาการท้องหลอกยังส่งผลให้เกิดอาการคล้ายกับอาการแพ้ท้องด้วย ไม่ว่าจะเป็นคลื่นไส้อาเจียน ปัสสาวะบ่อย แม้กระทั่งรู้สึกว่าลูกดิ้นในท้อง แต่เมื่อไปตรวจอัลตราซาวน์ก็จะไม่พบว่ามีการตั้งครรภ์ เพราะทุกอย่างเกิดจากการอุปทานไปเองทั้งนั้น

ดังนั้นก่อนที่จะสรุปว่า ตนเองตั้งครรภ์หรือไม่นั้น ควรไปตรวจร่างกายกับแพทย์เพื่อให้แน่ใจเสียก่อน

ระยะเวลาครรภ์ที่สามารถตรวจด้วยตนเองได้

วิธีตรวจครรภ์อายุ 1 สัปดาห์ที่แม่นยำที่สุดคือ การตรวจกับแพทย์โดยตรง แต่หากต้องการตรวจครรภ์ด้วยตนเองก็สามารถทำได้ด้วยการซื้อชุดตรวจครรภ์ที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด 

อย่างไรก็ตาม อายุครรภ์ที่จะสามารถตรวจด้วยชุดตรวจครรภ์เองได้คือ หลังจากมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่ระดับฮอร์โมนเอชซีจีสูงเพียงพอแล้วและควรใช้ปัสสาวะแรกในตอนเช้าสำหรับการตรวจ 

เหตุที่แนะนำให้ใช้ปัสสาวะตอนเช้า เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวะจะทำให้ผลตรวจออกมาแม่นยำที่สุด

หมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีความผิดปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อความมั่นใจ และจะได้ปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

ดูแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก หรือเตรียมตัวมีบุตร เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ซักประวัติ ฝากครรภ์ คุณหมอถามอะไรบ้าง?, (https://hdmall.co.th/c/what-doctor-ask-in-antenatal-history-taking).
WebMD, Early Pregnancy Symptoms (https://www.webmd.com/baby/guide/pregnancy-am-i-pregnant#1), 25 March 2020.
Mayoclinic, Symptoms of pregnancy : what happens first (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestlye/getting-pregnant/in-depth/symptoms-of-pregnancy/), 25 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม