กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.วรพันธ์ พุทธศักดา

10 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคไข้หวัด

สำรวจข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโรคไข้หวัด อะไรบ้างที่คุณยังเข้าใจผิดอยู่ มาดูกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 มิ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
10 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับโรคไข้หวัด

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ไม่ใช่แค่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเท่านั้นที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แต่ผู้ที่ร่างกายแข็งแรงอยู่แล้ว ก็ควรเข้าการรับวัคซีนป้องกันเป็นประจำด้วยเช่นเดียวกัน
  • ทางเดียวที่คุณจะติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้คือ การสัมผัสกับเชื้อไวรัสทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การสัมผัสกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่โดยตรง การได้รับฝอยละอองจากการไอ จาม ของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 
  • ระหว่างป่วยเป็นโรคไข้หวัดควรรับประทานอาหารตามปกติเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องรับประทานมากเกินไปด้วย ส่วนการไม่รับประทานอาหารเลยซึ่งอาจเกิดอาการเบื่ออาหารจะทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้าขึ้นด้วย
  • เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการพัฒนาสายพันธุ์ หรือกลายพันธุ์ทุกปี ดังนั้นคุณจึงควรเข้ารับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปีและดูแลตนเองให้มีสุขอนามัยที่ดี ร่างกายแข็งแรง
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ถ้าเคยเป็นไข้หวัดใหญ่มาก่อน คุณก็คงจะเข้าใจความรู้สึกเจ็บในขณะนั้นได้ดี คุณอาจจะเคยได้รับคำแนะนำจากเพื่อน หรือครอบครัวเกี่ยวกับสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง หรือวิธีการรักษาไข้หวัดใหญ่ ด้วยความห่วงใยมาก่อน

แต่ถึงอย่างนั้นหลายคำแนะนำก๋ไม่ถูกต้องเสมอไป หรือไม่ก็เป็นเพียงความเชื่อที่เชื่อกันต่อๆ มาเท่านั้น ซึ่งนั่นไม่มีประโยชน์ในทางปฏิบัติเพื่อให้หายจากโรคไข้หวัดใหญ่เลย บางครั้งยังอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิมอีกด้วย 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

และนี่คือ 10 ความเชื่อผิดๆ ที่เราเคยได้ยินเกี่ยวกับไข้หวัดใหญ่

1. สามารถเป็นโรคไข้หวัดใหญ่จากการฉีดวัคซีนได้

วัคซีนป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ผลิตขึ้นมาจากเชื้อไวรัสที่ไม่สามารถก่อโรคได้ และไม่สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ 

ดังนั้นผู้ที่มีอาการป่วยหลังจากฉีดวัคซีนนั้นจึงไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อจากวัคซีนแต่อย่างใด แต่คนส่วนมากมักชอบคิดว่า พวกเขาป่วยจากการฉีดวัคซีน หลังฉีดวัคซีน คุณจะต้องรออย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ก่อนที่วัคซีนจะสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 

2. ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่จำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีน

แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง หรืออยู่ในกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เช่น ผู้ที่มีภาวะอ้วน หญิงตั้งครรภ์ ผู้ป่วยโรคปอด โรคเบาหวาน โรคไต โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง เด็ก และผู้สูงอายุ 

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะไม่ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เพราะหากเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้ว ความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคไข้หวัดก็เกิดขึ้นได้ไม่ต่างจากผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

นอกจากนี้ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ง่ายต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้ที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ก็ควรได้รับการฉีดวัคซีนด้วยเช่นกัน 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมผู้ที่ทำงานในสถานพยาบาล หรือคลินิก จึงมักจะได้รับคำแนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นั่นก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไปยังผู้ป่วยที่มารับบริการด้วยนั่นเอง

3. เมื่อฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้ว ไม่จำเป็นต้องดูแลตัวเองเพิ่มเติมอีกเลย

นั่นเป็นความเชื่อที่ผิดเพราะนอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีอีกหลายขั้นตอนที่ควรทำตามเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูการระบาดของไข้หวัดใหญ่ เช่น 

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ที่เป็นโรค 
  • ล้างมืออย่างถูกวิธีบ่อยๆ 
  • หมั่นรักษาสุขอนามัยของร่างกายให้แข็งแรง
  • ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น หลอดดูดน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์อยู่เสมอ โดยเฉพาะผักสดและผลไม้สดเพื่อให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุอย่างเพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในชุมชนแออัด หรือสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนจนง่ายต่อการติดเชื้อ
  • สวมหน้ากากผ้า หรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องเดินทางในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่แพร่ระบาด 

4. ไข้หวัดใหญ่คือ การเป็นหวัดแบบรุนแรงเท่านั้น

หลายคนมักเข้าใจผิดว่า อาการโรคไข้หวัดใหญ่ก็คืออาการไข้หวัดทั่วไป เพียงแต่อยู่มีอาการรุนแรงเท่านั้น แต่ความจริงโรคไข้หวัดสามารถส่งผลลุกลามไปถึงขั้นเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงถึงชีวิตได้ เช่น 

  • ต่อมทอนซิลอักเสบ 
  • ภาวะไซนัสอักเสบ 
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคสมองอักเสบ
  • โรคปอดอักเสบ

5. ถ้ารู้สึกว่า ตัวเองแข็งแรงดีแล้ว คุณจะไม่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้

ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ที่มีเชื้อไขหวัดใหญ่ถึง 20-30% นั้นอาจจะไม่มีอาการแสดงอะไรออกมาเลย จนส่งผลให้แพร่เชื้อไปสู่คนรอบข้างโดยไม่ทันได้รู้ตัว

6. ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนทุกปี

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสายพันธุ์ หรือกลายพันธุ์ทุกปี ดังนั้นการได้รับวัคซีนทุกปีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันที่เหมาะสมและจำเพาะกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในปีนั้นๆ

7. อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ได้จากการออกไปอยู่ในที่ที่อากาศหนาว ผมเปียกๆ หรือนั่งอยู่ใกล้หน้าต่างที่มีลมแรง

วิธีเดียวที่คุณจะเป็นไข้หวัดใหญ่ได้คือ เมื่อคุณสัมผัสกับเชื้อไวรัสทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การสัมผัสกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่โดยตรง การได้รับฝอยละอองจากการไอ จาม ของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

บังเอิญว่า ในช่วงที่มักมีการระบาดของไข้หวัดนั้นมักจะตรงกับช่วงฤดูฝนและฤดูหนาวจึงทำให้คนเข้าใจผิดว่า ตัวเองเป็นไข้หวัดใหญ่จากการอยู่ในที่ๆ มีอากาศเย็น หรือลมแรง กำลังตัวเปียก หรือเพิ่งสระผมเสร็จ 

ในความเป็นจริง ปัจจัยที่เชื่อกันต่อๆ มานี้มันไม่เกี่ยวข้องกันเลย

8. ควรรับประทานมากๆ เมื่อเป็นไข้หวัดเพื่อลดไข้

หากเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือหวัดธรรมดาแล้วมีไข้ สิ่งที่คุณต้องการมากกว่าปกติก็คือ "น้ำ" ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณอาหารที่รับประทานแต่อย่างใด 

อย่างไรก็ตาม แม้หลายคนอาจมีอาการเบื่ออาหารในช่วงที่ป่วย แต่การไม่รับประทานอาหารเลยจะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ช้าอีกด้วย

9. การรับประทานซุปไก่จะทำให้หายจากไข้หวัดใหญ่ได้เร็วยิ่งขึ้น

การดื่มเครื่องดื่ม หรือน้ำร้อนๆ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอและทำให้ร่างกายได้รับสารน้ำเพียงพอได้ แต่การรับประทานซุปไก่ไม่ได้มีส่วนผสม หรือความสามารถใดๆ ที่จะช่วยให้ร่างกายหายจากหวัดได้เร็วขึ้นแต่อย่างใด

10. หากมีไข้สูงนาน 1-2 วันจากการเป็นหวัด จะต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ใช้ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นจึงไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อไวรัส เช่น ไว้รัสไข้หวัดใหญ่ 

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางคนอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อนได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการนาน หรือรุนแรงกว่าปกติ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

เมื่อเข้าสู่ฤดูที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ทุกคนควรดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงทั้งด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม 

อย่าเชื่อการบอกข้อมูลปากต่อปาก หรือข่าวสารที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ หรือรับรองจากหน่วยงานเกี่ยวกับสุขภาพ รวมทั้งควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกๆ ปีด้วย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะทำงานด้านการรักษาพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข, คู่มือแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขในการรักษาและดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หรืออาจติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ (http://dsaapp.wu.ac.th/document/1465_3_แนวทางการรักษา.pdf), 4 มิถุนายน 2563.
Health.com, 10 Most Ridiculous Myths About The Flu (https://www.health.com/condition/cold-flu-sinus/10-biggest-myths-about-the-flu), 15 January 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)