6 วิธีช่วยเอาชนะอาการอ่อนเพลียในตอนเช้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ

เผยแพร่ครั้งแรก 29 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีช่วยเอาชนะอาการอ่อนเพลียในตอนเช้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ

หลายคนในที่นี้น่าจะเคยตื่นนอนมาพร้อมกับความรู้สึกอ่อนเพลีย ซึ่งแน่นอนว่ามันจะพาลทำให้คุณไม่อยากลุกออกจากเตียงเพื่อไปทำงาน ทั้งนี้อาการอ่อนเพลียในตอนเช้าสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ตัวอย่างเช่น การมีไลฟ์สไตล์ที่หนักหน่วง ความเครียด ความวิตกกังวล การไม่ได้รับสารอาหารบางชนิด การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ การนอนในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ฯลฯ อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจึงอยากมาแนะนำหลากเคล็ดลับที่จะช่วยให้คุณเอาชนะปัญหาดังกล่าว และกลับมาสดชื่นพร้อมที่จะออกไปทำงานอีกครั้ง แต่จะมีอะไรบ้างนั้น เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

1. ปรับปรุงคุณภาพการนอน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การที่คุณจะตื่นมาพร้อมกับพลังงานที่เปี่ยมล้น อันดับแรกคือ คุณต้องมั่นใจว่าการนอนมีคุณภาพ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า อาการอ่อนเพลียในตอนเช้าอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อมของสถานที่ๆ คุณนอน สำหรับวิธีที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้สนิทมีดังนี้

  • นอนในห้องที่เงียบ
  • ไม่มีแสงสาดส่องเข้ามาในห้อง เพราะมันจะไปขัดขวางการผลิตเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการนอน
  • ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่รอบตัว
  • อุณหภูมิในห้องต้องมีความเหมาะสม
  • ห้องสะอาดเรียบร้อย และไม่มีสิ่งของวางเกะกะใกล้กับบริเวณที่คุณนอน
  • ห้องมีการระบายอากาศอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในระหว่างวัน
  • อาบน้ำอุ่นก่อนเข้านอน

2. รับมือกับความเครียด

ความเครียดถือเป็นศัตรูตัวฉกาจของสุขภาพ ซึ่งมันจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเป็นต้นเหตุของการเกิดความผิดปกติต่างๆ ทั้งนี้หนึ่งในอาการพื้นฐานที่เกิดจากความเครียดก็คือ การเป็นโรคนอนไม่หลับ หรือต้องใช้เวลาในการนอนหลับมากขึ้น ซึ่งมันจะทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยในเช้าวันถัดมา และเหนื่อยตลอดทั้งวัน อย่างไรก็ดี คุณควรหาวิธีจัดการกับความเครียด โดยพยายามจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ  หาวิธีที่ทำให้ตัวเองผ่อนคลาย และทานอาหารให้เหมาะสม

3. ออกกำลังกายชนิดหนักปานกลาง

เราอาจมีปัญหากับการนอน ถ้าเราไม่ทำให้ร่างกายเหนื่อยในระหว่างวัน ซึ่งในที่นี้หมายถึงความเหนื่อยทางกายค่ะ ทั้งนี้คนส่วนมากมักจะเหนื่อยใจ และนั่นก็จะทำให้เกิดวิถีชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ หรือ Sedentary Lifestyles อย่างไรก็ดี การได้ออกกำลังกายระดับปานกลางอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง จะช่วยให้คุณนอนหลับได้สบายขึ้น และตื่นเช้ามาพร้อมกับความสดชื่น

4. ติดตามการทานอาหารเย็น

คุณไม่ควรทานอาหารเย็นหนักจนเกินไป เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักขึ้นก่อนเข้านอน การทำเช่นนี้ยังช่วยให้ตับและถุงน้ำดีไม่ทำงานหนัก ปรับปรุงระดับพลังงาน และทำให้คุณรู้สึกดีเมื่อตื่นนอน แต่ถ้าเราทานอาหารมื้อเย็นแบบจัดเต็มมากเกินไป ร่างกายก็จะมุ่งเน้นการใช้พลังงานไปกับกระบวนการย่อยอาหารแทนที่จะช่วยให้เราฟื้นตัวจากความอ่อนล้าที่เกิดจากการทำกิจกรรมในระหว่างวัน

5. ทานอาหารเช้าที่ดีต่อสุขภาพ

บางคนอาจรีบออกจากบ้านไปทำงานหลังจากดื่มกาแฟเพียงแค่แก้วเดียว แต่ความจริงแล้วร่างกายของเราจำเป็นต้องได้รับคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันชนิดดีเพื่อให้เริ่มต้นเช้าวันใหม่โดยมีพลังเต็มเปี่ยม ทั้งนี้อาหารที่คุณควรทานเป็นอาหารเช้ามีดังนี้

  • ผักและผลไม้สด ไม่ว่าจะในรูปแบบสลัดหรือสมูทตี้
  • ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวโอ๊ต ขนมปังที่ทำจากแป้งไรย์ หรือแป้งสเปลท์
  • ถั่วและเมล็ดพันธุ์ น้ำผัก

6. ทานอาหารเสริมถ้าจำเป็น

ในบางกรณี เราอาจจำเป็นต้องทานอาหารเสริมเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงให้ร่างกาย ตัวอย่างของอาหารเสริม เช่น สไปรูริน่า โสมเกาหลี แมคนีเซียม น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ ผงมาคา โปรไบโอติก ใบมะกอก ฯลฯ ทั้งนี้คุณสามารถทานเป็นครั้งคราว และสลับทานอาหารเสริมชนิดอื่นบ้างค่ะ

สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามักมีอาการอ่อนเพลียในตอนเช้า การทำตามวิธีที่เราแนะนำข้างต้นเป็นประจำก็จะช่วยให้คุณกลับมามีพลัง และพร้อมที่จะออกไปเผชิญกับโลกภายนอกอีกครั้งค่ะ


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
11 Tricks for Waking Up Early in the Morning. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/sleep-pictures/tricks-to-waking-up-in-the-morning.aspx)
How to Wake Up Rested in the Morning. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/best-ways-to-wake-up-3014993)
Can’t Wake Up: Tips to Make the Morning Easier. WebMD. (https://www.webmd.com/sleep-disorders/ss/slideshow-wakeup-tips)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป