กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

6 วิธีดูแลไตให้มีสุขภาพดี

เผยแพร่ครั้งแรก 4 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 วิธีดูแลไตให้มีสุขภาพดี

 " ไต " เป็นอวัยวะที่มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วแดง ซึ่งการทำงานของไตมีความสำคัญต่อสุขภาพในภาพรวม ทั้งนี้ไตมีหน้าที่ทำให้เลือดสะอาด ควบคุมปริมาณน้ำภายนอกเซลล์ ระดับอิเล็กทรอไลต์ และค่า PH ภายในร่างกาย อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการหลั่งฮอร์โมนบางชนิดที่ควบคุมการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง และควบคุมความดันโลหิต ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรนำนิสัยที่ดีต่อสุขภาพมาปรับใช้ เพื่อให้ไตทำงานได้ราบรื่น และป้องกันไม่ให้โรคร้ายมาถามหา สำหรับบทความนี้ เราจะพาคุณไปดูหลากวิธีดูแลตัวเอง เพื่อให้ไตมีสุขภาพดี มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1.ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

นิสัยการทานอาหารถือเป็นอีกหนึ่งตัวชี้วัดได้ถึงการทำงานของไตว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

คำแนะนำ

  • เพิ่มการทานผักและผลไม้สด
  • ทานธัญพืชเต็มเมล็ดแทนธัญพืชที่ผ่านการขัดสีแล้ว
  • ทานอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า-3 สูง เช่น เมล็ดพันธุ์ ถั่ว ปลาที่มีไขมันสูง
  • จำกัดการทานเนื้อแดง และอาหารที่มีไขมันสูง
  • หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์แปรรูปประเภทเนื้อหมัก เนื้อกระป๋อง และมันฝรั่งทอด
  • จำกัดการทานเกลือและน้ำตาลให้อยู่ในระดับปานกลาง

2.ดื่มน้ำให้มากขึ้น

การดื่มน้ำจะช่วยสนับสนุนให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างราบรื่น ทั้งนี้น้ำมีความสำคัญต่อการกรองสารพิษออกจากเลือด และช่วยดีท็อกซ์ผ่านทางปัสสาวะ

คำแนะนำ

  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้วต่อวัน
  • ดื่มชา น้ำผลไม้ หรืออาหารที่มีน้ำเป็นองค์ประกอบสูง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง หรือบรรดาซอฟต์ดริ้งค์ทั้งหลาย

 

3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เรามักเชื่อมโยงการสูบบุหรี่กับการเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ แต่ความจริงแล้ว มันยังทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่นกันค่ะ สารพิษที่อยู่ในบุหรี่จะเข้าไปในกระแสเลือด และส่งผลต่อสุขภาพของหัวใจและไต ทั้งนี้คนที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะไตวายมากถึง 3 เท่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่สูบบุหรี่

คำแนะนำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ แต่ถ้าคุณพบว่ามันเป็นเรื่องยาก ให้คุณลองไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ
  • ในกรณีที่คุณไม่สูบบุหรี่ ให้คุณหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่

4.จำกัดการทานยา

เมื่อถึงคราวที่ไม่สบาย หลายคนมักจะคุ้นชินกับการรักษาตัวเองโดยทานยาตามที่แพทย์สั่ง หรือซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไป แต่การทานยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานานกลับไปเร่งให้การทำงานของไตเสื่อมถอยลง

คำแนะนำ

  • ทานยาเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ
  • หลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ หรือยาต้านอักเสบที่ซื้อจากร้านขายยา
  • ทานยาตามที่ระบุไว้เสมอ และคอยสำรวจปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อยา
  • ในกรณีที่อาการเจ็บป่วยไม่ได้ร้ายแรง คุณอาจเลือกรักษาตัวด้วยวิธีธรรมชาติ

5.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นประจำไม่เพียงแต่ช่วยรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสมเท่านั้น แต่มันยังช่วยสนับสนุนให้คุณมีสุขภาพโดยรวมที่ดีอีกด้วย ทั้งนี้การออกกำลังกายจะช่วยทำให้กระบวนการเผาผลาญทำงานดีขึ้น และกระตุ้นการกำจัดของเสียที่สะสมในเลือด รวมถึงยังเป็นวิธีแบบธรรมชาติที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต และการคั่งของๆ เหลว ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ขัดขวางการทำงานของไต

คำแนะนำ

  • อุทิศเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันให้กับการออกกำลังกาย
  • หากคุณไม่มีเวลาไปยิม คุณอาจออกกำลังกายที่บ้านแทน

6.ดีท็อกซ์ไต

ไตเป็นอวัยะที่ช่วยกรองของเสียออกจากร่างกาย แต่หากมีการสะสมของสารพิษ โซเดียม และไขมันในปริมาณสูง มันก็เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณควรช่วยเหลือไตเพื่อให้กระบวนการกำจัดสารพิษทำงานได้อย่างสมบูรณ์

คำแนะนำ

  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล และเกลือในปริมาณมาก
  • ทานผลไม้ และสมูทตี้สูตรดีท็อกซ์

นอกจากการปฏิบัติตัวตามที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว มันก็ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่เราต้องหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อให้มั่นใจว่าไตมีสุขภาพดี และหากแพทย์พบความผิดปกติ คุณก็จะได้ไหวตัวทันค่ะ

ที่มา : https://steptohealth.com/6-basic-care-tips-to-protect-your-kidneys/


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Keeping your kidneys healthy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-body/keeping-your-kidneys-healthy/)
Take Care of Your Kidneys | Prevention & Risk Management | Chronic Kidney Disease Initiative. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/kidneydisease/prevention-risk/take-care.html)
Kidney Health: 8 Ways to Keep Your Kidneys Healthy. Healthline. (https://www.healthline.com/health/kidney-health)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้
บอกเล่าประสบการณ์ของ Steve กับการเลิกบุหรี่ที่กว่าจะสำเร็จได้ในวันนี้

เรื่องราวของ Steve กว่าจะเลิกบุหรี่สำเร็จ ต้องใช้ความอดทนมากแค่ไหน

อ่านเพิ่ม
ประโยชน์ของบุหรี่ มีอะไรบ้าง? เรื่องราวจากผู้มีประสบการณ์
ประโยชน์ของบุหรี่ มีอะไรบ้าง? เรื่องราวจากผู้มีประสบการณ์

เรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของการสูบบุหรี่ คุ้มหรือไม่ ที่คุณจะเป็นทาสบุหรี่ต่อไป

อ่านเพิ่ม