กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

พิษภัย 10 ประการของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
พิษภัย 10 ประการของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

อันตรายจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มีอะไรบ้าง?

1. สารอาหารไม่ครบถ้วน

 บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซองมีสารอาหารหลัก ๆ อยู่แค่ไม่กี่อย่าง ซึ่งก็แน่นอนว่าไม่ครบถ้วนพอที่ร่างกายต้องการอยู่แล้ว นอกจากนี้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ก็ไม่ควรรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วย เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะเป็นตัวบล็อกให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์จากอาหารชนิดอื่นได้อีก

2. มีสารก่อมะเร็ง

 สารสไตโรโฟม (Styrofoam) หรือสารเคมีที่พบมากในกล่องโฟม และพลาสติกทั้งหลาย เป็นสารที่ถูกพบว่ามีอยู่ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปด้วยเหมือนกัน ซึ่งไม่บอกก็คงพอจะเดากันออกว่าสารเคมีตัวนี้มีอันตรายอยู่ไม่น้อย และที่สำคัญก็เป็นสารที่เข้าไปกระตุ้นเซลล์มะเร็งในร่างกายของเราให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นด้วย ยิ่งถ้าเป็นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบถ้วยที่สะดวกและง่าย แต่รู้ไหมว่า บะหมี่ถ้วยนั้นทวีสารก่อมะเร็งอีกหลายเท่าเลยนะจ๊ะ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. อันตรายต่อลูกในท้อง

 หญิงตั้งครรภ์ทั้งหลายไม่ควรกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างยิ่ง เพราะนอกจากสารอาหารที่ได้ไม่ครบถ้วนแล้ว สารสังเคราะห์จากอาหารสำเร็จรูปยังมีส่วนทำให้เด็กในครรภ์ได้รับอันตราย บางรายอาจจะถึงขั้นแท้งบุตรเลยก็ได้ ฉะนั้นเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ เช่น โฟเลต วิตามินบี แคลเซียม และเหล็กดีกว่านะ

4. เป็นอาหารขยะ

 แม้ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะมีคาร์โบไฮเดรต ไขมัน เกลือแร่ และไฟเบอร์ แต่ก็มีผงชูรสในปริมาณที่เยอะมาก จนเทียบเท่าอาหารขยะทั่วไปเลยทีเดียว ฉะนั้นหากปล่อยให้ร่างกายคุ้นชินกับสารอาหารเหล่านี้เรื่อย ๆ ร่างกายเราก็จะขาดสารอาหารที่สำคัญ ๆ ไปหลายอย่างเลยล่ะ

5. โซเดียมสูง

 เมื่อมีผงชูรสในปริมาณสูง ก็หมายความว่าโซเดียมที่มีอยู่ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็จะสูงตามไปด้วย และหากใครมีปริมาณโซเดียมในร่างกายมากเกินไป ก็จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ไตวาย และโรคอัมพาตได้เลยนะ

6. ผงชูรสเต็มเปี่ยม

 โมโนโซเดียม กลูตาเมต (Mono sodium Glutamate) หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ผงชูรส เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เพราะจะช่วยชูรสให้มีรสชาติอร่อยกลมกล่อมมากยิ่งขึ้น ซึ่งใครที่มีอาการแพ้เจ้าผงชูรสนี้ ก็อาจได้รับผลกระทบแบบเฉียบพลันทันที โดยอาจจะมีอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน หน้าแดงก่ำ คัน หรืออาการแพ้อื่น ๆ ตามมาได้ง่าย ๆ

7. โรคอ้วนถามหา

 อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ไม่ยาก เนื่องด้วยความที่มีโซเดียม และแป้งสูง จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการบวมน้ำและมีน้ำหนักเกินได้ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย และไม่ควบคุมอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ฉะนั้นหากไม่อยากเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ก็ควรงดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกันตั้งแต่วันนี้เลยนะจ๊ะ

8. ก่อกวนระบบย่อยอาหาร

 เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีแต่แป้งและคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่ จึงจัดว่าเป็นอาหารที่ย่อยยาก และยังมีผลต่อระบบลำไส้และระบบย่อยอาหารของเราไม่น้อยเลย เพราะสารอาหารพวกนี้เคลื่อนที่ในลำไส้ได้ค่อนข้างลำบาก ด้วยเหตุนี้เลยกลายเป็นอาหารที่ไม่ควรรับประทานเท่าไร โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องระบบย่อยอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

9. ลดประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน

 โพรไพลีน ไกลคอน (Propylene Glycol) หรือ พีจี ที่มีอยู่ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป จะเข้าไปก่อกวนระบบภูมิคุ้มกันของเรา ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนอาจจะเป็นเหตุให้มีโรคแทรกซ้อนขึ้นมาได้ อีกทั้งสารโพรไพลีน ไกลคอนยังซึมซามลงสู่ตับ ไต หัวใจ และอวัยวะภายในเราได้ง่าย ๆ อีกด้วย รู้แบบนี้กลัวขึ้นมาหรือยังจ๊ะ

10. อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายลดลง

ทั้งสารสังเคราะห์จากธรรมชาติ สารแต่งกลิ่น แต่งสี และสารกันบูดในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ล้วนแล้วแต่มีส่วนทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย (Metabolism rate) ลดลงเรื่อย ๆ ยิ่งถ้าหิ้วท้องไว้กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ่อย ๆ ระบบเมตาบอลิซึมก็จะถดถอยลงเรื่อย ๆ จนเสี่ยงมีน้ำหนักเกินได้ในที่สุด

รับประทานได้แต่ต้องเพิ่มคุณค่าด้วยการเติมผักและเนื้อสัตว์ลงไปและไม่ควรทานบ่อยจนเกินไป เพราะร่างกายจะได้สารอาหารไม่ครบแถมยังส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What Makes Eating Instant Noodles So Bad?. Medical Daily. (https://www.medicaldaily.com/eating-instant-noodles-bad-438340)
Are Instant Noodles Bad for You?. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/instant-noodles)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป