เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดยาส และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เภสัชกรรีวิว: เปรียบเทียบยาคุมกำเนิดยาส และแผ่นแปะคุมกำเนิดอีฟรา

ครั้งก่อนมีการเปรียบเทียบเมอซิลอนกับอีฟรามาแล้ว ซึ่งความแตกต่างในด้านราคาอาจทำให้เกิดความลำเอียงในการตัดสินอย่างออกนอกหน้า (ฮ่า) ในครั้งนี้ มาลองเปรียบเทียบยาเม็ดคุมกำเนิดกับแผ่นแปะคุมกำเนิดอีกทีค่ะ โดยเลือกยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีราคาสูงใกล้เคียงกันกับอีฟราบ้าง นั่นก็คือยาคุมยาสนั่นเองค่ะ

  • รูปแบบและวิธีการใช้

    ใน 1 แผงมียา 28 เม็ด

    เม็ดที่ 1 – 24 ประกอบด้วยตัวยา

    • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม
    • Drospirenone 3 มิลลิกรัม

    ส่วนเม็ดที่ 25 – 28 เป็นเม็ดแป้ง ไม่มีตัวยา

    ใน 1 กล่องมียา 3 แผ่น ซึ่งแต่ละแผ่นประกอบด้วยตัวยา

    • Ethinylestradiol 750 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 6 มิลลิกรัม

    โดยจะมีการปลดปล่อยตัวยา

    • Ethinylestradiol 0.020 มิลลิกรัม
    • Norelgestromin 0.150 มิลลิกรัม

    เข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันอย่างสม่ำเสมอ

    ยา 1 แผงสำหรับ 28 วัน

    รับประทานต่อเนื่องกันทุกวันจนหมดแผง จากนั้นต่อแผงใหม่ในวันถัดมา

    ยา 1 กล่องสำหรับ 28 วัน

    นั่นคือติดแผ่นแปะสัปดาห์ละแผ่น ติดต่อกัน 3 สัปดาห์ รวมเป็น 21 วัน แล้วเว้นว่าง 7 วัน

    ยาคุมยาสจะมีช่วงเวลาที่ได้รับฮอร์โมน 24 วัน และช่วงปลอดฮอร์โมนซึ่งจะมีการรับประทานเม็ดแป้ง 4 วัน ต่างจากอีฟราที่จะได้รับฮอร์โมน 21 วัน และช่วงปลอดฮอร์โมนโดยเว้นว่างการใช้แผ่นแปะ 7 วัน ซึ่งแต่ละอย่างจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ขอยกไปกล่าวในหัวข้อผลข้างเคียงจากยานะคะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

    แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

    จะเห็นได้ว่า ความถี่ในการบริหารยาของอีฟราจะน้อยกว่ายาสเป็นอย่างมาก เพราะจะมีการติดแผ่นยาสัปดาห์ละครั้งติดต่อกัน 3 สัปดาห์แล้วเว้นว่าง 1 สัปดาห์ ในขณะที่ยาสจะต้องรับประทานติดต่อกันทุก ๆ วันจนหมดแผง

    ดังนั้น หากเปรียบเทียบความสะดวกในการใช้ อีฟราจึงเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด

  • ประสิทธิภาพ

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%

    มีโอกาสตั้งครรภ์ 0.3 – 9%


    ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดของยาสและอีฟราไม่แตกต่างกันค่ะ นั่นคือผู้ใช้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 0.3 – 9% หากใช้ยาอย่างถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่องกันสม่ำเสมอ ไม่ลืมใช้ หรือมีปัญหาอื่น ๆ ที่อาจลดประสิทธิภาพของยา ก็จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยมาก

    แต่การรับประทานยาคุมที่มีปริมาณเอสโตรเจนน้อยมากอย่างยาคุมยาส หรือการใช้ยาคุมในรูปแบบแผ่นแปะที่อาศัยการซึมผ่านผิวหนังของตัวยาอย่างอีฟรา จะไม่เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานนะคะ เพราะยาอาจไม่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งไข่ตก จึงมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์สูงกว่าปกติค่ะ

    โดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาสหรือยาเม็ดคุมกำเนิดยี่ห้ออื่น ๆ ที่มีปริมาณ Ethonylestradiol ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ในผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกายสูงกว่าเกณฑ์ปกติ (> 25 kg/m2) และหลีกเลี่ยงการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดอย่างอีฟราในผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม

    อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบประสิทธิภาพในผู้ที่ไม่มีข้อจำกัดการใช้ ก็ถือว่าทั้งยาสและอีฟรามีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันนะคะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ผลข้างเคียง

    • สิว หน้ามัน ขนดก : พบน้อย
    • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม เป็นฝ้า : พบน้อย
    • เลือดออกกะปริบกะปรอย : พบน้อยมาก
    • ระคายเคืองเคืองบริเวณที่ติดแผ่นยา

    แม้ว่าอีฟราจะมีการปลดปล่อย Ethinylestradiol เข้าสู่ร่างกายวันละ 20 ไมโครกรัม ซึ่งเท่ากับปริมาณที่มีในเม็ดยาของยาส แต่เนื่องจากตัวยาสามารถดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ทันที โดยที่ไม่ต้องผ่านตับเหมือนกับยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้มีระดับยาในเลือดเทียบเท่ากับการรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีปริมาณ Ethinylestradiol 35 ไมโครกรัม จึงพบผลข้างเคียงจากเอสโตรเจน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ บวมน้ำ คัดตึงเต้านม และเป็นฝ้า ได้มากกว่า

    ฮอร์โมนโปรเจสตินในอีฟรา เป็นโปรเจสตินรุ่นใหม่ ทำให้มีผลข้างเคียงจากฤทธิ์แอนโดรเจนน้อย จึงไม่ค่อยพบปัญหาสิว หน้ามัน และขนดก อย่างไรก็ตาม โปรเจสตินในยาคุมยาส มีผลต้านฤทธิ์แอนโดรเจนค่ะ นอกจากจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงดังกล่าวแล้ว ยังใช้รักษาสิวในระดับปานกลางได้

    อีกทั้งโปรเจสตินของยาคุมยาสยังมีผลต้านการบวมน้ำ จึงสามารถใช้กับผู้ที่กังวลเรื่องน้ำหนักตัวได้ดี เพราะจะไม่มีปัญหาน้ำหนักเพิ่มจากการบวมน้ำค่ะ

    อย่างไรก็ตาม ผลต้านฤทธิ์แอนโดรเจนในยาคุมยาส อาจทำให้พบปัญหาช่องคลอดแห้งหรือขาดน้ำหล่อลื่นได้นะคะ ดังนั้น การไม่มีฤทธิ์แอนโดรเจนเลยก็ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสียค่ะ

    การที่แผ่นแปะคุมกำเนิดมีการปลดปล่อยตัวยาออกมาทุกวันในปริมาณที่สม่ำเสมอ จึงไม่ค่อยพบผลข้างเคียงที่เกิดจากความแปรปรวนของฮอร์โมนอย่างการเกิดเลือดกะปริบกะปรอย ในขณะที่สามารถพบจากยาคุมยาสได้โดยเฉพาะเมื่อรับประทานไม่ตรงเวลา

    แต่การที่ยาคุมยาสเป็นยาคุมสูตร 24/4 (ได้รับฮอร์โมน 24 วัน + ปลอดฮอร์โมน 4 วัน) ซึ่งช่วงปลอดฮอร์โมนสั้น ๆ เพียง 4 วัน จะช่วยให้ระดับฮอร์โมนไม่ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงลดกลุ่มอาการที่เกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงก่อนมีประจำเดือน เช่น เจ็บเต้านม ท้องอืด ปวดศีรษะ และอารมณ์แปรปรวนได้ดีกว่ายาคุมสูตร 21/7 (ได้รับฮอร์โมน 21 วัน + ปลอดฮอร์โมน 7 วัน) อย่างแผ่นแปะอีฟราค่ะ

    แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
    หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

    จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

    ผลข้างเคียงอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ก็คือ การใช้แผ่นยาแปะที่ผิวหนังอาจทำให้ผู้ใช้อีฟรารู้สึกระคายเคืองหรือคันเล็กน้อยบริเวณที่ติดแผ่นยาได้ จึงแนะนำให้ติดแผ่นยาบริเวณใหม่เสมอเมื่อต้องเปลี่ยนแผ่นตามกำหนด เพื่อลดการระคายเคืองดังกล่าว

    เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ถือว่าผลข้างเคียงจากยาสมีน้อยกว่าที่พบจากอีฟราค่ะ

  • ราคา

    แผงละ 400 - 450

    กล่องละ 450 – 580 บาท


    ราคาของยาสจะถูกกว่าอีฟราเล็กน้อยค่ะ

    ในเมื่อราคาใกล้เคียงกัน ค่าใช้จ่ายจึงอาจไม่ใช่สิ่งที่ผู้ใช้ยาสหรืออีฟราสนใจนัก ดังนั้น คงต้องพิจารณาจากความสะดวกในการใช้ หรือผลข้างเคียงที่ยอมรับได้ มาเป็นประเด็นหลักในการตัดสินใจ ซึ่งอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคนค่ะ


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Side Effects of Yaz (Drospirenone and Ethinyl Estradiol), Warnings, Uses. RxList. (https://www.rxlist.com/yaz-side-effects-drug-center.htm)
Birth Control Pills vs. the Patch (Norelgestromin/ethinyl estradiol, Ortho Evra). MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/birth_control_pills_vs_patch_ortho_evra/article.htm)
Hormonal Contraceptive Options for Women With Headache: A Review of the Evidence. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2938905/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)