ความเชื่อผิดๆ และความจริงเกี่ยวกับการกำจัดขนด้วยเลเซอร์

เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความเชื่อผิดๆ และความจริงเกี่ยวกับการกำจัดขนด้วยเลเซอร์

อย่างที่ทราบกันดีว่า มีหลายวิธีที่ช่วยให้เรามีผิวเรียบเนียนไร้ขน โดยวิธีที่ได้รับความนิยมคือ การถอน แว็กซ์ หรือใช้ครีมกำจัดขน ซึ่งเราทำเองได้ง่ายๆ ที่บ้าน และนอกจากวิธีเหล่านั้นแล้ว การกำจัดขนด้วยเลเซอร์ก็นับว่าได้รับความนิยมไม่แพ้กัน แต่หลายคนอาจกังวลใจว่าจะปลอดภัยหรือเปล่า มีผลข้างเคียงหรือไม่ เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อที่ผิด รวมทั้งความจริงที่อยากแชร์ให้คุณรู้เกี่ยวกับการเลเซอร์ขน มาให้ทราบกัน

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับการกำจัดขนด้วยเลเซอร์

  1. เลเซอร์กำจัดขนทำให้เกิดโรคมะเร็ง 
    บางคนเชื่อว่าการใช้เลเซอร์กำจัดขนทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง แต่จริงๆ แล้ว เลเซอร์จะช่วยกำจัดเส้นขนเท่านั้น แต่ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผิว อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อยคือ รอยแดงบริเวณรูขุมขน แต่จะหายได้เองภายใน 1 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งผิวหนังอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกำจัดขนด้วยวิธีนี้
  2. การกำจัดขนด้วยเลเซอร์ทำให้รู้สึกเจ็บมาก 
    หลายคนเชื่อว่าการกำจัดขนด้วยเลเซอร์เป็นวิธีที่เจ็บมาก เพราะเคยได้ยินมาว่าผิวหนังบางตำแหน่งต้องทายาชาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด อย่างไรก็ตามความเจ็บนั้นก็ขึ้นอยู่กับความไวต่อการกระตุ้นของแต่ละคน โดยส่วนใหญ่จะกล่าวว่ารู้สึกเหมือนถูกหนังยางเส้นเล็กๆ ดีดที่ผิวหนัง แต่ก็อยู่ในระดับที่ทนได้
  3. มีราคาแพง 
    อัตราค่าเลเซอร์กำจัดขนอาจจะสูงกว่าการกำจัดขนรูปแบบอื่นๆ แต่เมื่อเทียบกับประโยชน์ในระยะยาว ที่ไม่ต้องกำจัดขนบ่อยครั้ง ก็ถือว่าคุ้มค่า โดยคุณอาจเลเซอร์แค่ปีละ 1-2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความหนาของเส้นขนและอัตราการเติบโต ในขณะที่การกำจัดขนด้วยวิธีแว็กซ์นั้น เราต้องเสียเงินทุกเดือน

ความจริงเกี่ยวกับการกำจัดขนด้วยเลเซอร์

  1. การเลเซอร์ขนจะไม่ได้ผลดี ในผู้ที่มีขนบางหรือขนสีบลอนด์ 
    เนื่องจากกระบวนการทำงานของเลเซอร์คือ การกําจัดขนโดยอาศัยพลังงานความร้อนจากแสงไปทำลายรากขน โดยบริเวณรากขนจะมีเซลล์เม็ดสีที่เรียกว่า เมลานิน ซึ่งทำหน้าที่ดูดพลังงานแสงให้มาอยู่ที่บริเวณรากขน แล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้เส้นขน รากขน และเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ทำหน้าที่ผลิตขนถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว แต่ในผู้ที่มีขนสีบลอนด์ จะมีเมลานินน้อยกว่าผู้ที่มีขนสีเข้ม จึงดูดซับพลังงานความร้อนได้น้อย ทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดขนไม่ดีเท่าที่ควร 
  2. จำเป็นต้องโกนขนก่อนที่จะกำจัดขนด้วยเลเซอร์
    ก่อนกำจัดขนด้วยเลเซอร์ คุณจำเป็นต้องโกนขนก่อน เพื่อป้องกันเส้นขนไหม้ระหว้างการทำเลเซอร์ แต่ไม่ควรใช้วิธีถอนขน เพราะเลเซอร์จำเป็นต้องทำลายรากขน  หากไม่มีรากขน การใช้เลเซอร์กำจัดขนก็จะไม่ได้ผล โดยควรงดกำจัดขนด้วยการถอน แว๊กซ์ หรือใช้ครีมกำจัดขนประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนเลเซอร์ แต่ควรใช้วิธีการโกนแทน และควรหยุดโกนขนอย่างน้อย 2-3 วันก่อนการเลเซอร์
  3. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดทั้งก่อนและหลังทำเลเซอร์
    ผู้ที่ต้องการเลเซอร์ขน ไม่ควรให้ผิวสัมผัสกับแสงแดดอย่างน้อย 3 วันก่อนหลังเลเซอร์กำจัดขน นอกจากนี้คุณควรใช้ครีมกันแดด SPF 30  PA+++ ขึ้นไป และหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวแทน เพราะจะทำให้ผิวบอบบางมากเป็นพิเศษ จนอาจเกิดการระคายเคืองได้

หากคุณเป็นอีกคนหนึ่งที่อยากมีผิวที่เรียบเนียนไร้ขน นอกจากการแว็กซ์หรือโกนขนด้วยตัวเองที่บ้านแล้ว การกำจัดขนด้วยเลเซอร์ก็เป็นวิธีที่ดี แต่คุณต้องเลือกร้านที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือเพื่อที่คุณจะได้มีผิวที่เนียนสวยอย่างปลอดภัย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
กำจัดขนหน้าวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 193 บาท ลดสูงสุด 91%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

บทความน่าสนใจ เลเซอร์ขน คืออะไร? ขั้นตอนเป็นอย่างไร อันตรายหรือไม่?

ที่มาของข้อมูล 

Step to health. Myths and Truths of Laser Hair Removal.https://steptohealth.com/myths....23 November 2018


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Totally BS Hair Removal Myths - Beauty. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/beauty-pictures/totally-bs-hair-removal-myths.aspx)
Laser hair removal side effects: What you need to know. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322042)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป