ความรู้เฉพาะสตรี เรื่องของประจำเดือน หรือระดู

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
ความรู้เฉพาะสตรี เรื่องของประจำเดือน หรือระดู

ระดู คือ สิ่งที่ขับออกมาจากโพรงมดลูก ประกอบด้วยเลือดน้ำเหลืองปนกับเยื่อบุผนังมดลูกและเยื่อบุผนังช่องคลอด

ระดูเกิดได้อย่างไร

a11.gif

 เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์มดลูกจะมีการเปลี่ยนแปลงเพราะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนในร่างกายทำให้เยื่อบุมดลูกหนาขึ้นและมีเลือดมาเลี้ยงมากมายเพื่อเป็นที่ให้ไข่ที่ผสมแล้วฝังตัว ถ้าไข่ไม่ได้ผสมฮอร์โมนที่มากระตุ้นจะลดลง ทำให้เลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุมดลูกน้อยลง เป็นเหตุให้เยื่อบุมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงและหลุดลอกเป็นระดู

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ระดูมีลักษณะอย่างไร

a11.gif

 ระดู มีสีค่อนข้างคล้ำ และหยุดได้เองครั้งหนึ่งจะออกนาน 3-7 วัน และรอบเดือนหนึ่งยาวประมาณ 28 วัน อาจช้าหรือเร็วได้ไม่เกิน 7 วัน

ระหว่างมีระดู มีอาการอะไรได้บ้าง

a11.gif

 ระหว่างมีระดู มดลูกจะมีการบีบตัวทำให้ปากมดลูกเปิดกว้างเล็กน้อย เพื่อให้ระดูออกมา บางรายอาจมีอาการ ปวดท้อง ปวดหัว ปวดหลัง รู้สึกถ่วงในท้อง ตึงบริเวณหน้าอก และปวดเมื่อยทั่วไปได้

ระหว่างมีระดู ความปฏิบัติตัวอย่างไร

a11.gif

 ระหว่างมีระดู สามารถทำงานได้ตามปกติ ออกกำลังกายปานกลาง อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเสมอ และใช้ผ้าอนามัยที่เหมาะสม

ระดู มีครั้งแรกเมื่อไรและหมดเมื่อไร

a11.gif

 ระดู มักจะมีครั้งแรกเมื่อเด็กผู้หญิงเข้าสู่วัยรุ่น โดยปกติจะเริ่มมีในช่วง 11-14 ปี และมีเรื่อยไปจนถึงวัยหมดระดู คือช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี


ระดู คือเลือดเสียใช่หรือไม่

a11.gif

 คำตอบคือไม่ใช่ ระดูประกอบด้วยสิ่งดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นการมีระดูมาน้อย ไม่ได้แปลว่ามีเลือดเสียค้างอยู่ในร่างกาย และไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคใด ๆ ทั้งสิ้น

การปวดระดูพบบ่อยหรือไม่

a11.gif

 การปวดระดูพบได้ค่อนข้างบ่อยถึงร้อยละ 30-50 บางคนปวดเล็กน้อย เมื่อนอนพักผ่อนหรือรับประทานยาแก้ปวดก็หายไปบางคนปวดมาก จนต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การปวดระดู มีอาการอย่างไร

a11.gif

 การปวดระดูมักเกิดประมาณหนึ่งวันก่อนจะมีระดู และมีต่อไปจนวันที่ 1-2 ของระดู จะปวดแบบเป็นพัก ๆ และปวดบริเวณท้องน้อยเป็นส่วนใหญ่ อาจร้าไปที่ต้นขาและหลัง

อาการอื่นที่พบร่วมกับปวดระดู คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ ตื่นเต้น มึนงง บางรายที่เป็นมากอาจเป็นลมได้

การปวดระดู เกิดจากสาเหตุอะไร

a11.gif

 การปวดระดูเกิดจากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อยคือ

  1. การอักเสบติดเชื้อในเชิงกราน
  2. มดลูกคว่ำไปด้านหลังและปากมดลูกตีบ
  3. สิ่งแปลกปลอมในโพรงมดลูก
  4. การเจ็บปวดของลำไส้ร่วมกับการมีระดู
  5. โรคเอ็นโดเมทริโอซิส
  6. โรคอดีโนมายโอซิส
  7. ไม่ทราบสาเหตุ

ควรปฏิบัติอย่างไร เมื่อมีการปวดระดู

a11.gif

 การปวดระดูส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง เพราะฉะนั้นควรทำจิตใจให้สบายไม่วิตกกังวล ออกกำลังกายตามสมควร พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารให้ครบถ้วน และรักษาโรคเรื้อรังถ้ามีอยู่ นอกจากนั้น อาจใช้ผ้าอุ่นประคบที่ท้องน้อย หรือรับประทานยาแก้ปวด ในรายมีอาการมาก ควรปรึกษาหมอ

การไม่มีระดู คืออะไร

a11.gif

 การไม่มีระดู คือการที่หญิงเจริญเติบโตถึงวัยที่ควรจะมีระดู แล้วยังไม่เคยมีระดูเลย โดยปกติแล้วไม่ควรเกินอายุ 18 ปี

การไม่มีระดู เกิดจากสาเหตุอะไร

a11.gif

 การไม่มีระดูเกิดจากสาเหตุหลายประการเช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. ความผิดปกติของสมอง และต่อมใต้สมอง
  2. ความผิดปกติของรังไข่
  3. ความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ เช่น เยื่อพรหมจารีไม่ทะลุ ช่องคลอดตีบแคบ ไม่มีมดลูก

ฉะนั้น ควรปรึกษาหมอเมื่อหญิงอายุ 18 ปี แล้วยังไม่มีประจำเดือน

การขาดระดู คืออะไร

a11.gif

 การขาดระดู คือการที่หญิงที่เคยมีระดูแล้ ระดูขาดหายไปเมื่อถึงรอบเดือนอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งไม่รวมถึงหญิงมีท้อง หญิงให้นมลูก หรือหญิงที่ตัดมดลูกทิ้ง อันเป็นสาเหตุโดยธรรมชาติ

การขาดระดู เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง

a11.gif

 การขาดระดู มีสาเหตุหลายอย่างเช่น

  1. ความผิดปกติของมดลูก
  2. ความผิดปกติที่รังไข่
  3. ความผิดปกติที่สมอง และต่อมใต้สมอง
  4. โรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคขาดอาหาร วัณโรค เบาหวาน ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ

ฉะนั้นหากไม่ได้เกิดจากสาเหตุธรรมชาติควรปรึกษาหมอ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Mapping the knowledge and understanding of menarche, menstrual hygiene and menstrual health among adolescent girls in low- and middle-income countries. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/pmnch/media/news/2017/mapping_knowledge/en/)
Menstruation: Periods, the menstrual cycle, PMS, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/154699)
Knowledge, readiness, and myths about menstruation among students at the Princess Noura University. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6293938/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)