ว่าด้วยเรื่องของแอลกอฮอล์

เผยแพร่ครั้งแรก 13 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ว่าด้วยเรื่องของแอลกอฮอล์

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแอลกอฮอลล์ แอลกอฮอล์สามารถทําอะไรกับร่างกายคุณบ้าง สิ่งที่คุณดื่มและเวลาที่คุณเลือกดื่ม รู้หรือไม่ว่าอะไรที่คุณดื่มไม่สําคัญมากเท่ากับว่าคุณดื่ม อีกทั้งข้อมูลเรื่องวิตามินที่ช่วยลดความอยากดื่ม หากคุณสนใจสามารถอ่านต่อได้ที่นี่

 แอลกอฮอล์ทําอะไรกับร่างกายคุณบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%

ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่

แอลกอฮอล์เป็นยาที่ใช้อย่างกว้างขวางที่สุดในสังคมมนุษย์ และเนื่องจาก เป็นสิ่งใกล้ตัวมาก คนส่วนใหญ่จึงไม่คิดว่ามันเป็นยา แต่จริงๆแล้วมันเป็นยา และหากใช้อย่างไม่ถูกต้องแล้ว มันสามารถก่อให้เกิดผลเสียกับร่างกายคุณ มากมาย

  • แอลกอฮอล์เป็นยากระตุ้นและก็เป็นยากดประสาทส่วนกลางด้วยเช่นกัน
  • สามารถทําให้เส้นเลือดดําแตกได้
  • ไม่ได้ทําให้ร่างกายคุณอุ่นขึ้น จริงๆ แล้วมันทําให้คุณรู้สึกเย็นมากขึ้น โดยเพิ่มการขับเหงื่อและการสูญเสียความร้อนออกจากร่างกาย
  • ทําลายเซลล์ประสาทโดยดึงน้ำที่จําเป็นออกจากเซลล์
  • ทําให้ร่างกายต้องสูญเสียวิตามินบี 1, 2, 6, 12 กรดโฟลิก วิตามินซี วิตามินเค สังกะสี แมกนีเซียม และโพแทสเซียม
  • การดื่มเพียงวันละประมาณ 4 แก้ว
  • สามารถทําลายอวัยวะของคุณได้

สิ่งที่คุณดื่มและเวลาที่คุณเลือกดื่ม

อย่าถูกหลอกเพียงเพราะปริมาณแอลกอฮอล์ที่ต่างกันในเครื่องดื่มแต่ละประเภท เป็นความจริงที่เบียร์มีแอลกอฮอล์ประมาณร้อยละ 4 ไวน์มีประมาณ ร้อยละ 12 และวิสกี้มีมากถึงร้อยละ 50 แต่เบียร์หนึ่งกระป๋อง ไวน์หนึ่งแก้ว และวิสกี้หนึ่งเป๊ก ต่างก็มีอานุภาพส่งผลให้คุณมั่นเมาได้เท่าๆกัน หรืออีก นัยหนึ่งคือ เบียร์ 4 กระป๋องสามารถทําให้คุณเมาได้พอๆกันกับเตกิล่า 4 เป๊ก

ที่น่าแปลกใจคือ อะไรที่คุณดื่มไม่สําคัญมากเท่ากับว่าคุณดื่ม เมื่อไร ดร.จอห์น ดี. พาล์มเมอร์ จาก University of Massachusetts พบว่า ระยะเวลาที่แอลกอฮอล์อยู่ในกระแสเลือดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของวัน และแน่นอนว่ายิ่งแอลกอฮอล์อยู่ในกระแสเลือดนานเท่าใด ก็จะมีเวลาในการทําร้ายเซลล์สมองมากขึ้นเท่านั้น ช่วงระหว่างตีสองไปจนถึงเที่ยงวันเป็นช่วงๆ อันตรายที่สุด ในขณะที่ช่วงบ่ายแก่ๆ ไปจนถึงยามเย็นเป็นช่วงที่อันตรายน้อยที่สุด ค็อกเทลหนึ่งแก้วพร้อมอาหารมื้อเย็นจะถูกขับออกได้เร็วกว่าบลัดดี้แมรี่ในมื้อเช้าประมาณร้อยละ 25 และแก้วสุดท้ายของงานปาร์ตี้ซึ่งคุณดื่มหลังเที่ยงคืน จะถูกเผาผลาญได้ช้ากว่าแก้วที่คุณรับประทานก่อนหน้านั้น ส่งผลให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงได้นานกว่า

วิตามินที่ช่วยลดความอยากดื่ม

งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทกซัสพบว่า หากหนูที่ติดสุราถูกป้อนอาหารที่มี วิตามินและสารอาหารต่างๆสูง มันจะเลิกสนใจการดื่มสุราอย่างรวดเร็ว ซึ่ง ดูเหมือนจะจริงสําหรับคนเราเช่นกัน พบว่าผู้ที่ดื่มหนักสามารถเปลี่ยนแปลง นิสัย หรือแม้แต่เลิกสนใจการดื่มได้ หากรับประทานอาหารและผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน วิตามินเอ ดี อี ซี และวิตามินบีทั้งหมด โดยเฉพาะปี 12, 6, 1 พร้อมด้วยแคลเซียม แมกนีเซียม โคลีน อินอซิทอล ไนอะซิน และอาหารโปรตีนสูง เป็นสูตรที่ได้ผลดีที่สุด นายแพทย์เอช. แอล. นิวโบลด์ จากนิวยอร์กซึ่งต้องทํางานกับผู้ที่ติดสุรา แนะนําให้รับประทาน กลูตามีน (ไม่ใช่กรดกลูตามิก) 5 แคปซูล (200 มก.) วันละ 3 เวลา เพื่อ ควบคุมพฤติกรรมการดื่ม และควรปรึกษาแพทย์ทางด้านโภชนาการเพื่อให้ ได้รับการดูแลที่ครบสมบูรณ์ที่สุด

เมื่อไม่นานมานี้ สมุนไพรจีนคุดซู ซึ่งถูกใช้ในการรักษาอาการเมาค้าง ได้นํามาใช้รักษาอาการติดสุราด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่อง แปลกแต่อย่างใด เพราะผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรจีนได้นําชาที่ต้มจากรากของ คุดซูมาบําบัดผู้ติดสุรามาเป็นเวลากว่าสองพันปีแล้ว คุดซูมีสารพฤกษเคมี สองตัวคือ เดดซินและเดดซีน ซึ่งช่วยลดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดได้ มีจําหน่ายในรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบแคปซูล 500 มก. เพื่อให้ได้ผลดี ที่สุด ควรรับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา ก่อนหรือหลังดื่มสุรา

 หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alcohol (Ethanol) Effects, Hazards & Warnings. Drugs.com. (https://www.drugs.com/alcohol.html)
Alcohol support. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/alcohol-support/)
Medications You Should Never Mix With Alcohol. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/mixing-alcohol-and-medication-harmful-interactions-67888)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป