ทำความรู้จัก “จิตแพทย์”

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำความรู้จัก “จิตแพทย์”

จิตแพทย์ คือ แพทย์ผู้ที่ผ่านการอบรม สอบได้วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรทางด้านจิตเวช  จิตแพทย์เป็นผู้รักษาโรคทางจิต ซึ่งมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับความรู้สึก ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม   

เส้นทางของการเป็นจิตแพทย์ คือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • เรียนแพทย์ทั่วไป  6  ปี
  • ไปทำงานเพิ่มพูนทักษะในต่างจังหวัดหรือการทำงานใช้ทุน 1-3 ปี
  • เรียนต่อเฉพาะทางด้านจิตเวช (Psychiatry) แยกเป็น 2 หลักสูตร คือ
    • หลักสูตรจิตแพทย์ทั่วไป หรือ จิตแพทย์ผู้ใหญ่ 3 ปี
    • จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 4 ปี

สรุปคือ การเป็นจิตแพทย์ต้องเรียนอย่างน้อย 9 ปี จะเห็นว่าจิตแพทย์ต้องจบแพทย์มาก่อน จึงมีความรู้ความสามารถในระดับแพทย์ทั่วไปด้วย จึงรักษาโรคทั่วๆ ไป เช่น ไข้หวัด เบาหวาน ความดัน ฯลฯ ได้ด้วย

จิตแพทย์ทำหน้าที่อะไรบ้าง

  • ให้คำปรึกษา แนะนำ กรณีที่ไม่ได้เจ็บป่วย ไม่ได้เป็นโรคอะไร ก็สามารถรับคำปรึกษาปัญหาต่างๆ จากจิตแพทย์ได้ เช่น ปรึกษาปัญหาครอบครัว  ปัญหาพัฒนาการเด็ก  ปัญหาการเรียน ปัญหาชีวิตคู่  ปรึกษาก่อนแต่งงาน  ปัญหาความขัดแย้งในใจ
  • รักษาโรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders) ตัวอย่าง เช่น  โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นต้น
  • รักษาโรคทางระบบประสาท (Neurology) และประสาทจิตเวช (Neuropsychiatry) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างบางส่วนของสมอง แล้วมีผลทำให้เกิดปัญหาเรื่องอารมณ์ พฤติกรรมและอาการทางจิต  เช่น  โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)  ภาวะบาดเจ็บที่สมอง (Traumatic brain injury) เป็นต้น
  • เป็นส่วนหนึ่งในทีมรักษาร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ เพื่อร่วมกันดูแลรักษาในแบบองค์รวม เช่น หน่วยผู้ป่วยวาระสุดท้าย (end of life care), หน่วยรักษาความเจ็บปวด (pain unit), การปลูกถ่ายอวัยวะ (organ transplantation), หน่วยโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke unit) เป็นต้น

จิตแพทย์รักษาผู้ป่วยอย่างไร

จิตแพทย์ใช้วิธีที่คล้ายกับแพทย์สาขาอื่นๆ ในการตรวจวินิจฉัยโรค ได้แก่

  • การถามประวัติอาการ และ ข้อมูลจากการตรวจร่างกาย
  • การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ (laboratory examination) ในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น การตรวจเลือด การส่งX-ray เป็นต้น 
  • การตรวจสภาพจิต (mental status examination) ซึ่งแสดงออกมาทาง อารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม/อาการทางกาย โดยจิตแพทย์มีวิธีตรวจ ดังนี้
    • อารมณ์ : สังเกตจากสีหน้า แววตา น้ำเสียง 
    • ความคิด : สังเกตจากวิธีการพูดและเนื้อหาของสิ่งที่พูด
    • พฤติกรรม/อาการทางกาย : สังเกตจากความสะอาดของร่างกาย การแต่งตัว การแสดงออกไม่สอดคล้องกับสถานการณ์
  • การบำบัดรักษา มีทั้งการใช้ยาและการทำจิตบำบัด ตามความเหมาะสมของโรค

บทความที่เกี่ยวข้อง
เมื่อไหร่ควรไปปรึกษาจิตแพทย์


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Psychiatrist: Expertise, Specialties, and Training. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/psychiatrist-a-career-overview-2795641)
Psychologists or Psychiatrists: The Distinctions Between Psychology vs. Psychiatry. WebMD. (https://www.webmd.com/mental-health/features/psychologist-or-psychiatrist-which-for-you#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)