เป็นที่ทราบกันดีว่าไตทำหน้าที่หลายประการ รวมถึงการสร้างน้ำปัสสาวะและขับของเสีย เมื่อไตเสียหน้าที่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการสร้างน้ำปัสสาวะและขับของเสียเสียไป ผู้ป่วยจึงอาจเกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น หายใจเหนื่อยจากน้ำท่วมปอด มีอาการซึมจากของเสียคั่ง ดังนั้น ในผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าสู่ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย “การฟอกไต” จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยได้
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
การฟอกไต ในประเทศไทย นิยมทำ 2 วิธี ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) และการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (Continuous Peritoneal Dialysis) การฟอกไตทั้งสองวิธีมีการเตรียมผู้ป่วย และมีขั้นตอนการฟอกไตที่ต่างกัน ดังนี้
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นการนำเลือดจากหลอดเลือดดำผ่านออกทางเส้นเลือดเทียม หรือเส้นสำหรับฟอกเลือด ไปกรองที่ตัวกรองเพื่อดึงของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกายผู้ป่วย จากนั้นเลือดที่มีของเสียและน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะถูกนำกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้งทางหลอดเลือดดำ
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ประสงค์จะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะได้รับการเตรียมเส้นเลือดเทียมสำหรับใช้ฟอกเลือด หรือ เส้นฟอกเลือด (vascular access) ล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน ก่อนจะใช้เป็นทางเพื่อนำเลือดออกจากร่างกายของผู้ป่วยไปฟอกเลือด ในผู้ป่วยบางรายที่มีข้อจำกัดในการทำเส้นฟอกเลือดชนิดถาวร แพทย์อาจพิจารณาให้ทำเส้นฟอกเลือดชนิดชั่วคราว เช่น การคาเส้นฟอกเลือดที่คอ หรือ ขาหนีบ เป็นต้น
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วยจะเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมที่หน่วยไตเทียมของโรงพยาบาลหรือศูนย์ฟอกไต สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ในแต่ละครั้งที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลไตเทียมจะนำเลือดจากเส้นเลือดดำของผู้ป่วยออกมาจากเส้นเลือดเทียม หรือเส้นฟอกเลือด ผ่านสายส่งเลือด (blood line) ด้านสีแดง หรือด้าน arterial เพื่อไปกรองที่ตัวกรอง (hemodialyzer) จากนั้นเลือดที่มีของเสียและน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะถูกนำกลับสู่ร่างกายผู้ป่วยผ่านสายส่งเลือดด้านสีน้ำเงิน หรือด้าน venous ในระหว่างนี้ผู้ป่วยบางรายอาจได้รับสารป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น ยาแฮพพารีน (heparin) ฉีดเข้าทางสายส่งเลือด
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง ระหว่างรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ผู้ป่วยจะนอนพักบนเตียงหรือโซฟา และสามารถทำกิจกรรมที่ไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากนักได้ เช่น อ่านหนังสือ เล่นเกมมือถือ หรืออาจนอนหลับ โดยจะได้รับการวัดสัญญาณชีพเพื่อประเมินความผิดปกติของร่างกายทุก 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ตามสภาพผู้ป่วยแต่ละราย
ทุกครั้งที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พยาบาลไตเทียมจะให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักเพื่อประเมินปริมาณน้ำก่อนและหลังการฟอกเลือด ขณะชั่งน้ำหนัก ผู้ป่วยควรนำอุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักออกจากตัว เช่น เสื้อตัวหนาหรือกระเป๋าสัมภาระ เพื่อให้น้ำหนักที่ชั่งได้เป็นน้ำหนักที่แท้จริง
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่จะเข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรปฏิบัติตัวดังนี้
- รับประทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการฟอกเลือด หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารขณะฟอกเลือด ควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่ายเพื่อลดปริมาณเลือดไปเลี้ยงกระเพราะเพื่อย่อยอาหาร ลดโอกาสเกิดความดันต่ำขณะฟอกเลือดได้
- ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตต่ำขณะฟอกเลือด แพทย์จะพิจารณางดยาลดความดันในบางตัวก่อนการฟอกเลือด ส่วนยาอื่นๆ ผู้ป่วยสามารถรับประทานได้ตามปกติ และควรจัดยาในมื้อที่ตรงกับเวลาฟอกเลือดไปด้วยเพื่อรับประทานให้ตรงเวลา
- หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ เจ็บแน่นหน้าอก นอนราบไม่ได้ หรือ มีเลือดออกผิดปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด มีเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย มีประจำเดือน ควรแจ้งพยาบาลก่อนฟอกเลือด เพราะแพทย์อาจต้องพิจารณาปรับยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างฟอกเลือดให้เหมาะสม
- ผู้ป่วยที่มีแผนสำหรับทำหัตถการต่างๆ เช่น การผ่าตัด การถอนฟัน เลเซอร์ตา การส่องกล้องเพื่อตรวจอวัยวะต่างๆ ควรแจ้งให้พยาบาล หรือ แพทย์ ทราบกำหนดการทำหัตถการ เพื่อพิจารณางดการให้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดระหว่างฟอกเลือด
- ผู้ป่วยที่ใช้เส้นฟอกเลือดที่แขน ควรทำความสะอาดแขนบริเวณที่จะแทงหลอดเลือดโดยการฟอกสบู่ให้สะอาด ซับเบาๆ ให้แห้งก่อนการฟอกเลือดทุกครั้งและไม่ทาโลชั่น หรือ แป้งบริเวณเส้นเลือดฟอกในวันไปฟอกเลือด
- ดูแลเส้นเลือดเทียม เพื่อให้เส้นเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวิธีต่อไปนี้
- กรณีมีเส้นเลือดเทียมที่แขน ควรคลำเบาๆ บริเวณเส้นเลือดทุกวัน เพื่อประเมินอาการสั่นต่อเนื่องของหลอดเลือด ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ว่าเส้นเลือดเทียมยังมีคุณภาพสำหรับเป็นทางออกของเลือดดำไปยังตัวกรอง
ควรบริหารเส้นเลือดเทียมโดยการบีบและคลายมือเป็นระยะๆ อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง โดยบริหารหลังการฟอกเลือด 1 วัน ในวันแรกหลังการฟอกเลือดไม่ควรบริหารเส้น หรือยกของที่ต้องออกแรงแขนมาก เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณที่แทงเข็มได้ ไม่ควรงอหรือนอนทับแขนข้างที่มีเส้นเลือดเทียมเป็นระยะเวลานาน และไม่ควรสวมนาฬิกาหรือสร้อยข้อมือแขนข้างที่ทำเส้นเลือดเทียม รวมถึงหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อแขนยาวที่รัดแขน เพราะการสวมใส่เสื้อแบบนั้นจะทำให้เลือดไปเลี้ยงเส้นไม่เพียงพอ ทำให้เสียการทำงานเร็วขึ้น
- ผู้ป่วยที่คาเส้นฟอกเลือดที่คอ ควรดูแลความสะอาดของผิวหนังรอบสาย ห้ามให้แผลเปียกน้ำ ไม่ควรแกะเกาแผล และดูแลให้พลาสเตอร์ปิดคลุมแผลตลอดเวลา
- ผู้ป่วยที่คาเส้นฟอกเลือดที่ขาหนีบ นอกจากจะดูแลตนเองเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่คาเส้นฟอกเลือดที่คอแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการงอขาหนีบเป็นเวลานาน เนื่องจากจะทำให้เส้นฟอกเลือดเสียการทำหน้าที่
- กรณีมีเส้นเลือดเทียมที่แขน ควรคลำเบาๆ บริเวณเส้นเลือดทุกวัน เพื่อประเมินอาการสั่นต่อเนื่องของหลอดเลือด ซึ่งเป็นอาการที่บ่งชี้ว่าเส้นเลือดเทียมยังมีคุณภาพสำหรับเป็นทางออกของเลือดดำไปยังตัวกรอง
การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร
การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรเป็นวิธีการฟอกไตโดยใช้เยื่อบุภายในช่องท้องของผู้ป่วยเป็นตัวกรองของเสีย น้ำ และแลกเปลี่ยนเกลือแร่และกรดด่าง ผู้ป่วยจะเป็นผู้ปล่อยน้ำยาเข้าสู่ช่องท้องโดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ผ่านทางรูเปิดบริเวณผิวหนังที่แพทย์คาสายล้างไตทางช่องท้องไว้ จากนั้นค้างน้ำยาไว้ในท้องเป็นเวลา 4-8 ชั่วโมง เมื่อครบเวลา น้ำยาล้างไตที่มีของเสียอยู่จะถูกปล่อยออกจากช่องท้อง จากนั้นน้ำยาใหม่จะถูกเติมเข้าไปในช่องท้องอีกครั้ง การล่องน้ำยาเข้าและออกจากช่องท้องจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที
การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร จะทำวันละ 4 ครั้ง โดยผู้ป่วยสามารถทำเองได้ที่บ้านหรือสถานที่ทำงาน เพียงแต่ต้องปฏิบัติตามแนวทางในการทำแผลช่องสายออกและเปลี่ยนน้ำยาล้างไตอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลช่องสายและเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดเชื้อ ในระหว่างที่น้ำยาอยู่ในช่องท้อง ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่เลือกรับการรักษาด้วยการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร จะได้รับคำแนะนำให้เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ ห้องที่สะอาด มิดชิด ไม่มีลมโกรก และมีความเป็นส่วนตัว ไม่มีสัตว์เลี้ยงหรือคนที่ไม่เกี่ยวข้องเดินผ่าน อุปกรณ์สำหรับล้างมือ เช่น ก๊อกน้ำสำหรับล้างมือ ผ้าเช็ดมือ แอลกอฮอล์ชนิดเจลสำหรับล้างมือ (alcohol hand rub) เป็นต้น
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติจนสามารถปฏิบัติเองได้จึงจะเริ่มลงมือทำจริง ในการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตแต่ละครั้ง ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวอะไร นอกจากต้องปฏิบัติตามแนวทางในการเปลี่ยนน้ำยาล้างไตอย่างเคร่งครัดเท่านั้น ซึ่งต่างจากการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม