หลายคนคงจะเคยได้ยินเรื่อง “การฟอกไต” ว่า มีวิธีการแตกต่างกันในการเลือกใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตวายเรื้องรัง รวมถึงมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงแตกต่างกัน ข้อดีข้อเสีย และค่าใช้จ่าย ที่แตกต่างกัน
การ “ฟอกไต” เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ซึ่งไตสูญเสียหน้าที่ในการทำงานแล้ว โดยปกติแล้วการรักษาแบ่งออกเป็น 2 แนวทางสำคัญคือ
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม หรือ ที่เรารู้จักและเรียกกันว่า “การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม”
- การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร
ทั้ง 2 วิธีนั้น มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันและมีข้อบ่งชี้ที่แตกต่างกันตามดุลยพินิจของแพทย์ว่า จะเลือกการรักษาด้วยวิธีใดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยที่สุดนั่นเอง
ทำไมต้องฟอกเลือด
การฟอกเลือดเป็นการนำเอาของเสีย หรือน้ำส่วนเกินออกจากเลือดของผู้ป่วย โดยภาวะปกติ เลือดเสีย หรือเลือดที่ลำเลียงของเสียจากเซลล์จะผ่านเส้นเลือดดำมากรองเอาของเสียออกที่ไต ซึ่งมีหน่วยไตที่ทำหน้าที่กรองของเสียจำนวนนับล้านหน่วย โดยหน่วยไตนี้เมื่อขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบว่ามีลักษณะคล้ายท่อขดไปมา ในท่อจะมีปลายข้างหนึ่งที่ตันและมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วย เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman s capsule)” ภายในจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า “โกลเมอรูลัส (glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่ไหลผ่านไตนั่นเอง
สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ไตจะเสียความสามารถในการกรองจนไม่สามารถกรองเอาของเสียออกจากเลือดได้ และไม่สามารถดูดซึมเอาสารและแร่ธาตุบางชนิดที่ยังมีประโยชน์ต่อร่างกายจากเลือดดำกลับคืนเข้าสู่หัวใจและปอดเพื่อเติมออกซิเจน แล้วไหลกลับมาสู่หัวใจอีกครั้งเพื่อสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกายนั่นเอง
การฟอกไต
การฟอกไตที่จะกล่าวถึงนี้เป็นการฟอกไตสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไตไม่สามารถทำงานได้ แต่กลไกการทำงานของร่างกายหากไม่มีการขับของเสียออกจากร่างกายจะทำให้อวัยวะต่างๆ ล้มเหลว ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้
ดังนั้นการฟอกไตเพื่อช่วยขับของเสียและรักษาชีวิตผู้ป่วยไตวายเรื้อรังสามารถทำได้ 2 วิธีสำคัญดังนี้
ตรวจไต ฟอกไต รักษาโรคไต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 50 บาท ลดสูงสุด 83%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
1. การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยทางเส้นเลือดดำ แล้วผ่านตัวกรองซึ่งภายในตัวกรองจะมีเนื้อเยื่อช่วยกรองของเสียและน้ำออกจากเลือด เมื่อเลือดผ่านการกรองกลายเป็นเลือดดี เครื่องจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกายอีกครั้ง ทั้งนี้ก่อนการฟอกเลือดต้องมีการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด ซึ่งมี 3 วิธีคือ
- การนำเส้นเลือดดำต่อกับเส้นเลือดแดงบริเวณแขน หรือเรียกว่า การทำเอวีฟิทูล่า ( AV fistula) เพื่อให้เส้นเลือดดำใหญ่ขึ้นและมีแรงดันพอที่จะทำให้เลือดไหลเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้
- การต่อเส้นเลือดดำกับเส้นเลือดแดงของผู้ป่วยโดยการใช้เส้นเลือดเทียม (AV graft)
- การใส่สายเข้าไปในเส้นเลือดดำขนาดใหญ่ที่คอเพื่อไว้สำหรับต่อกับเครื่องไตเทียม วิธีการนี้เป็นการทำแบบชั่วคราว
หลังการผ่าตัดทัวิธีใดวิธีหนึ่งเสร็จสิ้น และผู้ป่วยมีความพร้อม แพทย์ก็จะนัดให้ผู้ป่วยมารับการฟอกไตต่อไป การฟอกไตวิธีนี้จะใช้เวลาในการฟอกครั้งละประมาณ 4 ชั่วโมง ในหนึ่งสัปดาห์ต้องทำการการฟอกไต 3 ครั้ง
2. การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD)
เป็นการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวรคือ เป็นการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเฉพาะเพื่อกรองของเสียในร่างกายออกโดยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนด น้ำยาจะพักอยู่ในช่องท้องเพื่อทำการกรองของเสีย และน้ำส่วนเกินออกจากช่องท้องช่วงพักน้ำยาอยู่ในช่องท้องอาจใช้เวลา 4-6 ชั่วโมง การเติมน้ำยาจะเติมผ่านทางท่อซึ่งท่อนี้ต้องทำการฝังเข้าไปในช่องท้อง เมื่อครบตามเวลาที่กำหนดก็จะปล่อยน้ำยาที่ดูดซึมเอาของเสียจากร่างกายและน้ำส่วนเกินออกจากช่องท้องออกมาด้วย ใช้เวลาครั้งละประมาณ 30 นาที
การฟอกไตทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร
การฟอกไตทั้ง 2 แบบ เป็นการช่วยรักษาภาวะของเสียคั่งจากไตวายเรื้อรัง ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้กำหนดวิธีการรักษาร่วมกับการตัดสินใจของผู้ป่วยดังนี้
- การฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียม จะต้องทำที่โรงพยาบาล หรือศูนย์ฟอกไตเทียมเท่านั้น การบริการมีทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน มีระบบจองคิวในการทำและใช้เวลาในการฟอกแต่ละครั้งตามความรุนแรงของโรคและอาการผู้ป่วย ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการทำเท่านั้น ระยะในการฟอกไตและความถี่แพทย์จะเป็นผู้กำหนด เช่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งขึ้นไปตามสภาพผู้ป่วย การฟอกแต่ละครั้งจะใช้เวลา 3-4 ชั่วโมงขึ้นไป ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจึงสูงกว่า
- การฟอกไตทางช่องท้อง สามารถทำได้เองที่บ้าน หรือที่ทำงาน โดยที่ผู้ป่วย หรือผู้ดูแลสามารถเรียนรู้วิธีการทำจากผู้เชี่ยวชาญ มีความถี่ในการทำบ่อยกว่าวิธีแรก โดยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดตามสภาพอาการของผู้ป่วยเช่นกัน เช่น ต้องล้างช่องท้องทุกวันโดยเปลี่ยนน้ำยา 4-5 ครั้งต่อวัน ใช้เวลาครั้งละ 2-3 ชั่วโมงเป็นต้น วิธีนี้ยังมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าวิธีแรก
ข้อดีข้อเสียของสองวิธี
ดังนั้นการฟอกไตทั้ง 2 แบบมีข้อดีข้อเสียต่างกัน รวมทั้งมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนแตกต่างกัน โดยเฉพาะการฟอกไตด้วยเครื่องไตเทียมนั้น เชื่อว่า มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากทำในโรงพยาบาลโดยผู้เชี่ยวชาญ แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนก็จะมีอาการรุนแรงมากกว่า
ส่วนการฟอกไตด้วยการล้างช่องท้องแบบถาวรนั้น หากผู้ป่วย หรือผู้ดูแล ล้างไตทางหน้าท้องไม่ถูกวิธีก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้เช่นกัน เพียงแต่วิธีนี้จะได้ประโยชน์ในแง่ของความสะดวก ทั้งเรื่องเวลา สถานที่ และค่าใช้จ่าย
ไม่ว่าแต่ละวิธีจะมีข้อดี- ข้อเสีย อย่างไร เราก็ไม่ควรพาตัวเอง หรือคนที่เรารักไปอยู่ในจุดๆ นั้นเลย เราควรดูแลป้องกันตัวเองและคนที่รักจากโรคไตตั้งแต่วันนี้ดีกว่า