กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เจ็บสะดือ เกิดจากอะไร แล้วอันตรายไหม?

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เจ็บสะดือ เกิดจากอะไร แล้วอันตรายไหม?

เจ็บสะดือ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ และหลายครั้งก็ทำให้เรากังวลใจ เนื่องจากเรามักไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอันตรายหรือไม่ 

สาเหตุของอาการเจ็บสะดือ

แท้จริงแล้วสาเหตุของอาการเจ็บสะดือนั้นมีมากมาย ทั้งที่ไม่อันตราย และเป็นอันตราย เราลองมาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

1. เจาะสะดือ

การเจาะสะดืออาจเป็นแฟชันสุดแซ่บ! แต่ก็มีผลเสียกว่าที่คิด เพราะบริเวณที่เจาะนั้นอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดแผลติดเชื้อ เนื่องจากดูแลทำความสะอาดไม่ดี หรือใส่จิวที่ไม่สะอาด อีกทั้งการถอดห่วงเจาะออกเองก็เสี่ยงต่อการเกิดแผลอักเสบติดเชื้อได้เหมือนกัน ซึ่งอาการที่มักเกิดขึ้นนอกเหนือจากเจ็บสะดือ คือผิวรอบสะดือบวมแดง มีเลือดและหนองไหลออกมา และอาจรู้สึกแสบคันด้วย

2. เกิดบาดแผล

การแคะ เขี่ย และทำความสะอาดสะดือไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดแผลที่สะดือได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ และด้วยลักษณะของสะดือที่เว้าลงไปเป็นหลุม ทำให้บางครั้งเรามองไม่เห็นว่ามีบาดแผลเกิดขึ้น ดังนั้น ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการแคะเขี่ยสะดือจะดีกว่า

3. ผิวหน้าท้องขยาย

ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็อาจมีอาการเจ็บสะดือได้เหมือนกัน เนื่องจากผิวและกล้ามเนื้อหน้าท้องขยายตัวออก สะดือจึงถูกดึงรั้งจนรู้สึกเจ็บระคายเคืองได้ นอกจากนี้ ยังมักเกิดอาการคันหน้าท้องได้เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติที่ไม่ต้องกังวล

4. อาการหลังผ่าตัด

หลังการผ่าตัดเนื้อเยื่อจะเกิดการซ่อมแซมตัวเองจนกลายเป็นพังผืด ยิ่งแผลผ่าตัดอยู่ใกล้สะดือมากเท่าไหร่ เวลาขยับตัวพังผืดก็จะดึงรั้งเส้นประสาททำให้เนื้อเยื่อบริเวณข้างเคียงเกิดอาการเจ็บจี๊ดๆ ไปด้วย ซึ่งหากเจ็บรุนแรงมากก็อาจทำให้เรารำคาญใจถึงขั้นทรมานได้

5. การใช้แรง/ยกของหนัก

การออกกำลังกายหรือยกของหนักจนเกิดแรงกดที่หน้าท้อง อาจทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหดเกร็งรุนแรงจนเสียหายหรือฉีกขาดได้ และยิ่งถ้าออกแรงแบบเดิมเป็นประจำ อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นอักเสบจนกลายเป็นพังผืด เมื่อเราขยับตัวจะมีการดึงรั้งพังผืดจนรู้สึกเจ็บสะดือขึ้นมาเฉยๆ ได้ 

6. ลำไส้อักเสบ

การปวดตำแหน่งกึ่งกลางท้องและรอบสะดือนั้นอาจบ่งบอกถึงความผิดปกติของลำไส้ โดยเฉพาะโรคลำไส้อักเสบที่พบได้บ่อย และมักก่ออาการเจ็บท้อง ปวดบิด รวมถึงอาการอื่นๆ เช่น ท้องร่วง ถ่ายเหลวมีมูกเลือด คลื่นไส้ อาเจียน และอาจมีไข้หนาวสั่นด้วย

7. มดลูกกดทับ

ในหญิงตั้งครรภ์ที่หน้าท้องมีขนาดใหญ่ขึ้น มดลูกจะขยายตัวจนไปกดทับกล้ามเนื้อผนังหน้าท้องและเส้นประสาทรอบๆ จนทำให้รู้สึกเจ็บสะดือได้ ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่อันตราย

8. ไส้เลื่อน

คือการที่ลำไส้เล็กเคลื่อนที่ไปกองอยู่ผิดตำแหน่ง ซึ่งสามารถเกิดกับบริเวณรอบๆ สะดือได้เหมือนกัน หากสาเหตุเกิดจากไส้เลื่อน มักพบก้อนบวมแถวๆ สะดือ รวมถึงอาจปวดมวนท้อง อาหารไม่ย่อย และคลื่นไส้อาเจียนด้วย

การรักษาอาการเจ็บสะดือ

การรักษานั้นแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ซึ่งโดยหลักการแล้วจะมีแนวทางรักษาดังนี้

  • หากสาเหตุมาจากไส้เลื่อน ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หากเป็นโรคลำไส้อักเสบ สิ่งที่ต้องระวังคือภาวะร่างกายขาดน้ำ จึงต้องรักษาโดยการดื่มน้ำเกลือและให้สารน้ำชดเชยเป็นหลัก
  • หากเกิดอาการเจ็บหลังการออกแรงหรือยกของหนัก ให้งดออกแรงกดที่หน้าท้อง เพื่อป้องกันกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง
  • หากเกิดบาดแผลอักเสบที่สะดือ ให้ใช้ก้านพันสำลีชุบน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดเบาๆ และหากแผลมีการติดเชื้อแบคทีเรียก็อาจต้องทานยาปฏิชีวนะด้วย

การป้องกันอาการเจ็บสะดือ

สำหรับอาการเจ็บสะดือที่เกิดจากสาเหตุที่หลีกเลี่ยงได้ เราสามารถป้องกันได้ดังนี้

  • หากรักจะเจาะสะดือ ควรดูแลความสะอาดให้ดี เลือกใส่จิวหรือห่วงเจาะที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อ และหากต้องการเอาห่วงออก ควรให้แพทย์เอาออกให้
  • หลีกเลี่ยงการใช้เล็บหรือวัตถุปลายแหลมแคะเขี่ยสะดือ การทำความสะอาดควรใช้ก้านพันสำลีชุบน้ำเช็ดเบาๆ เท่านั้น
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือออกแรงกดที่หน้าท้องอย่างหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน

26 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
9 Appendicitis Symptoms You Should Know, According to Doctors. Health.com. (https://www.health.com/condition/digestive-health/9-symptoms-of-appendicitis)
Periumbilical Pain: 8 Causes, When to Seek Help, Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/periumbilical-pain)
11 reasons for belly button pain. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/319931)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)
อาหารและเมนูสำหรับกรดไหลย้อน (Heartburn)

แค่ปรับอาหารและพฤติกรรมการรับประทานให้เหมาัะสม ก็สามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนได้

อ่านเพิ่ม