การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายคืออะไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายคืออะไร?

การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายนั้นเกิดเมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่ส่งผลต่อต่อมน้ำลายหรือท่อน้ำลาย การติดเชื้อนั้นอาจจะเกิดจากการที่มีน้ำลายไหลน้อยลงซึ่งอาจจะเกิดจากการที่มีการอุดตันหรือการอักเสบในท่อน้ำลาย

น้ำลายนั้นช่วยในการย่อยอาหาร ทำให้อาหารนั้นแตกตัวและยังช่วยดูแลความสะอาดในปากด้วยการล้างแบคทีเรียและเศษอาหาร นอกจากนั้นยังช่วยควบคุมปริมาณแบคทีเรียชนิดที่ดีและไม่ดีในปาก เวลาที่น้ำลายนั้นไหลเข้ามาในปากได้น้อยลงจะทำให้มีแบคทีเรียและเศษอาหารที่ถูกทำความสะอาดลดลงซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในร่างกายคนเรานั้นมีต่อมน้ำลายหลักๆ อยู่ 3 คู่ โดยอยู่ที่คนละซีกของใบหน้า ต่อม parotid นั้นเป็นต่อมที่มีขาดใหญ่ที่สุดและตั้งอยู่บริเวณแก้ม เหนือขากรรไกรและด้านหน้าต่อหู เวลาที่ต่อมใดต่อมหนึ่งหรือมากกว่านั้นมีการติดเชื้อจะเรียกว่า parotitis

สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย

การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายนั้นมักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อที่พบว่าเป็นสาเหตุบ่อยที่สุดคือเชื้อ Staphylococcus aureus สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายประกอบด้วย

  • Streptococcus viridans
  • Haemophilus influenzae
  • Streptococcus pyogenes
  • Escherichia coli

การติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายสร้างน้ำลายลดลงซึ่งมักจะเกิดจากการอุดตันหรือการอักเสบที่ท่อน้ำลาย นอกจากนั้นยังมีเชื้อไวรัสหรือโรคอื่นๆ ที่สามารถลดการผลิตน้ำลายได้ เช่น

  • โรคหัด ซึ่งเป็นการติดเชื้อไวรัสที่พบบ่อยในเด็กที่ยังไม่ได้รับวัคซีน
  • การติดเชื้อ HIV
  • การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด A และเชื้อ parainfluenza ชนิดที่ I และ II
  • เชื้อ herpes
  • มีนิ่วในต่อมน้ำลาย
  • ท่อน้ำลายอุดตันจากเมือก
  • เนื้องอก
  • Sjogren’s syndrome เป็นภาวะที่แพ้ภูมิคุ้มกันตัวเองรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ปากแห้ง
  • Sarcoidosis ภาวะที่ทำให้มีปื้นที่เกิดจากการอักเสบนั้นเกิดขึ้นทั่วร่างกาย
  • การขาดน้ำ
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • การฉายแสงในการรักษาโรคมะเร็งที่ศีรษะและลำคอ
  • การที่มีสุขภาพในช่องปากไม่สะอาดเพียงพอ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ปัจจัยต่อไปนี้จะทำให้มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายเพิ่มขึ้น

  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • ดูแลสุขภาพในช่องปากได้ไม่ดีพอ
  • ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด

โรคเรื้อรังต่อไปนี้สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้

  • การติดเชื้อ HIV
  • โรคเอดส์
  • Sjogren’s syndrome
  • เบาหวาน
  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • การติดแอลกอฮอล์
  • Bulimia
  • Xerostomia หรือกลุ่มอาการที่ทำให้ปากแห้ง

อาการที่พบ

อาการต่อไปนี้เป็นอาการที่อาจแสดงว่ามีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย คุณควรไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการเหล่านี้นั้นอาจจะคล้ายคลึงกับอาการที่เกิดจากโรคอื่นได้ อาการที่เกิดขึ้นประกอบด้วย

  • มีกลิ่นปากผิดปกติเรื้อรัง
  • ไม่สามารถอ้าปากสุดได้
  • รู้สึกปวดเวลาที่อ้าปากหรือกินอาหาร
  • มีหนองในปาก
  • ปากแห้ง
  • เจ็บปาก
  • เจ็บที่ใบหน้า
  • มีอาการแดงหรือบวมที่บริเวณขากรรไกรด้านหน้าต่อหู ใต้ขากรรไกรหรือที่พื้นของช่องปาก
  • ใบหน้าหรือลำคอบวม
  • มีอาการของการติดเชื้อเช่นมีไข้หรือหนาวสั่น
  • ควรไปพบแพทย์ทันทีหากคนมีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายและมีไข้สูง หายใจหรือกลืนลำบากหรือมีอาการรุนแรงขึ้น เพราะอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายนั้นพบได้ไม่บ่อย หากไม่ได้รับการรักษา อาจจะทำให้มีหนองสะสมและทำให้เกิดหนองในต่อมน้ำลายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายนั้นสามารถเกิดได้จากเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้ายที่ทำให้ต่อมนั้นโตขึ้น เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายนั้นจะโตอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้ใบหน้าข้างนั้นไม่สามารถขยับได้ และอาจจะส่งผลเฉพาะส่วนดังกล่าวหรือทั้งบริเวณก็ได้

ในรายที่มีการติดเชื้อที่ต่อม parotid อีกครั้ง อาจจะทำให้เกิดอาการบวมที่คออย่างรุนแรงซึ่งสามารถทำลายต่อมที่เกิดการติดเชื้อได้

คุณอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้หากการติดเชื้อแบคทีเรียในครั้งแรกนั้นมีการแพร่กระจายจากต่อมน้ำลายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังที่เรียกว่า cellulitis หรือ Ludwig’s angina ซึ่งเป็น cellulitis รูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นที่พื้นของช่องปาก

การวินิจฉัย

แพทย์สามารถวินิจฉัยการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายได้ด้วยการตรวจร่างกาย หากพบหนองหรือมีอาการเจ็บที่ต่อมน้ำลายจะแสดงว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย หากแพทย์สงสัยว่ามีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลาย อาจจะมีการส่งตรวจอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัยและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

ตัวอย่างการตรวจทางรังสีวินิจฉัยต่อไปนี้สามารถช่วยวิเคราะห์การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายที่เกิดจากหนอง นิ่ว หรือเนื้องอกได้

  • การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
  • การตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
  • แพทย์อาจจะมีการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนของต่อมน้ำลายและท่อน้ำลายไปตรวจเพื่อทำการทดสอบเนื้อเยื่อหรือสารน้ำเพื่อหาเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส

การรักษา

การรักษานั้นจะขึ้นกับความรุนแรงของการติดเชื้อ สาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ และอาการอื่นๆ ที่มีเช่นบวมหรือปวด อาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย หนองหรือไข้ และอาจจะมีการใช้เข็มเพื่อเจาะระบายหนองได้

การรักษาที่บ้านประกอบด้วย

  • ดื่มน้ำผสมเลมอนวันละ 8-10 แก้วเพื่อกระตุ้นน้ำลายและต่อมน้ำลาย
  • นวดต่อมน้ำลายที่มีอาการ
  • ประคบอุ่นที่ต่อมน้ำลายที่มีอาการ
  • ล้างปากด้วยน้ำเกลืออุ่น
  • กินลูกอมรสเลมอนที่เปรี้ยวเพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำลายและลดอาการบวม

การติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายส่วนใหญ่นั้นมักจะไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดนั้นอาจจะจำเป็นในรายที่มีการติดเชื้อเรื้อรังหรือกลับเป็นซ้ำ การผ่าตัดนั้นสามารถตัดส่วนหรือต่อม parotid ทั้งหมดหรือต่อม submandibular ได้

การป้องกัน

ไม่มีวิธีใดที่สามารถป้องกันการติดเชื้อที่ต่อมน้ำลายส่วนใหญ่ได้ วิธีที่ดีที่สุดก็คือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อด้วยการดื่มน้ำมากๆ และดูแลสุขภาพในช่องปาก ซึ่งรวมถึงการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันวันละ 2 ครั้ง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ผศ.นพ.วีระชัย ตันตินิกร, ก้อนเนื้อที่คอ (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=334), 9/8/2559
รศ.นพ.บุญชู พงศ์ธนากุล, ภาวะต่อมน้ำเหลืองโตในเด็ก (http://www.tsh.or.th/knowledge_detail.php?id=38), 2016-12-08
ผศ.ดร.ทพ. ขจรเกียรติ เจนบดินทร์, ความสำคัญของน้ำลาย (https://dt.mahidol.ac.th/th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-2/), 21 ม.ค. 2020

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)