ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบไม่เด่นชัด (Personality Disorder Not Otherwise Specified)

เป็นการวินิจฉัยเก่าจากตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, fourth edition DSM-IV)
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบไม่เด่นชัด (Personality Disorder Not Otherwise Specified)

ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ แบบไม่เด่นชัด (PD-NOS) เป็นการวินิจฉัยชนิดของความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ  อ้างอิงตามตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4  the Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, fourth edition (DSM-IV-TR) เนื่องจากเป็นภาวะที่พบความผิดปกติด้านบุคลิกภาพหลากหลาย  แต่ไม่ครบตามเกณฑ์ทั้งหมด จึงไม่สามารถระบุชนิดของภาวะผิดปกตินั้น ผู้ป่วยมักมีอาการทางจิต เช่น หูแว่ว หวาดระแวง มีความคิดแปลกๆ คำพูดแปลกๆ แต่ยังไม่ถึงขั้นที่จะสามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทหรือโรคจิตชนิดอื่นๆได้ชัดเจน ตาม ตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5(DSM-5) มีการแทนที่ ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ แบบไม่เด่นชัด (PD-NOS) ด้วยภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ แบบมีลักษณะบ่งชี้ personality disorder—trait specified (PD-TS)

ประเภทและลักษณะของภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorders)

ความผิดปกติด้านบุคลิกภาพ (Personality Disorders)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มีลักษณะเด่นชัดคือมีความคิด และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวเองและผู้อื่นไปในทางที่รู้สึกว่าตนเองด้อยค่าในการทำงาน ในการใช้ชีวิตประจำวัน  มักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น  มี 10 บุคลิกภาพผิดปกติตามที่ระบุไว้ในตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5( DSM-5)  ดังนี้

อาการบุคลิกภาพผิดปกติชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality Disorder_BPD)

  • มักมีปัญหารุนแรงด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น หวาดระแวง กลัวการถูกทอดทิ้งแบบหยั่งรากลึก อารมณ์ ไม่มั่นคง อารมณ์รุนแรง รู้สึกไม่มีตัวตน

บุคลิกหวาดระแวง (Paranoid personality disorder)

  • มักแยกตัวจากสังคม ไม่เป็นมิตร มีความกังวลว่าคนอื่น ๆ จะมีแรงจูงใจซ่อนเร้น หลอกใช้งาน มักมีปัญหาในการทำงานและการเข้ากับผู้อื่น

บุคลิกหลีกเลี่ยง (Avoidant personality disorder)

  • ขี้อาย อ่อนไหว  เจ็บปวดง่าย เห็นตัวเองไม่ดีเท่าคนอื่น  
  • มักหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรืองานที่ต้องติดต่อกับคนอื่น ไม่เปิดกว้างกับลักษณะความสัมพันธ์เชิงเสน่หา (romantic) ชอบสร้างสถานการณ์แบ่งพวก

บุคลิกจิตเภท (Schizoid personality disorder)

  • โรคนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท schizophrenia แต่ไม่รุนแรงเท่า คนที่มีความผิดปกติชนิดนี้นี้มักไม่ปรากฏตัว ชอบอยู่ในที่ห่างไกล แยกตัวเองจากคนอื่น ไม่ต้องการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับใครแม้จะเป็นสมาชิกในครอบครัว

บุคลิกครอบงำ (Obsessive-compulsive personality disorder)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • Obsessive-compulsive disorder (OCD) ต่างกับ Obsessive-compulsive personality disorder (OCPD)ในหลายลักษณะ เช่น ใน OCD มีความคิดที่ไม่ต้องการอะไรมาก แต่ ใน OCPD เชื่อว่าความคิดของตนถูกต้อง เข้มงวดกับกฎระเบียบและรายละเอียด ไม่ยืดหยุ่นใจกว้างหรือแสดงความรักต่อคนอื่น และมักถูกครอบงำด้วยการทำงานหรือ คลั่งงาน

บุคลิกต่อต้านสังคม (Antisocial personality disorder)

  • มักเกี่ยวข้องกับอาชญากรรม ชอบสั่งการคนอื่น ไม่สนใจเรื่องความปลอดภัย ชอบ โกหก ลักขโมย ชอบใช้กำลัง โกรธง่าย ไม่สำนึกต่อการทำผิด ละเมิดสิทธิคนอื่น หว่านเสน่ห์ ใช้สารเสพติด ทำ ผิดกฎหมาย และใช้งานคนอื่น เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

บุคลิกเรียกร้องความสนใจ (Histrionic personality disorder)

  • มีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีในชีวิต มักต้องการเป็นศูนย์กลางของความสนใจโดยแสดงออกทางอารมณ์รุนแรงแบบตัวละคร (drama) ชอบใช้เวลาวิพากษ์วิจารณ์ความล้มเหลวของคนอื่น จะเป็นกังวลมากเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิด เป็นกังวลอย่างมากกับภาพลักษณ์ตนเอง จะกระทำใดๆมักต้องการให้มีการอนุมัติ และ หรือการรับประกัน

บุคลิกหลงตัวเอง (Narcissistic personality disorder)

  • ต้องการเป็นคนสำคัญที่มากเกินไป  ไม่มีน้ำใจเห็นอกเห็นใจคนอื่น มุ่งเน้นแต่ความจำเป็นของตัวเอง และสิ่งที่ตนเองต้องการ

Schizotypal personality disorder

  • อาการนี้แตกต่างจากอาการจิตเภทschizophrenia   บุคลิก schizotypal personality disorder (SPD) จะสัมผัสกับความจริงมากกว่า ไม่ค่อยสัมผัสกับภาพหลอนหรือความหลงผิด   แต่มักมีความเชื่อและความกลัวที่แปลกๆ  มีสถานทางสังคมที่น่าอึดอัด   ไม่ค่อยมีเพื่อนสนิท  มีลักษณะหรือพฤติกรรมที่แปลกๆ  พูดหรือแสดงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม

บุคลิกต้องพึ่งพา(Dependent personality disorder)

  • มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยการต้องขึ้นอยู่กับคนอื่น ๆ ทั้งความต้องการทางกายภาพ หรือทางอารมณ์  มักไม่ต้องการที่จะอยู่คนเดียว ไม่กล้าตัดสินใจ, กลัวการกล้าขัดแย้ง เป็นฝ่ายตั้งรับในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนใจมากไปเกี่ยวกับสิ่งที่คนอื่นคิด  กังวลการถูกทอดทิ้ง และไม่สามารถจัดการกับคำวิจารณ์หรือการไม่เห็นด้วย

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ncbi.nlm.nih, Prevalence and construct validity of Personality Disorder Not Otherwise Specified (PDNOS). (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17685833), 2007 Aug
Kristalyn Salters-Pedneault, PhD, Personality Disorder Not Otherwise Specified (PD-NOS) (https://www.verywellmind.com/what-is-personality-disorder-not-otherwise-specified-425183), September 18, 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)