กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผลเสียจากโรคอ้วน

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 4 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ผลเสียจากโรคอ้วน

การมีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้ป่วย จากผลการศึกษา พบว่า การที่ร่างกายมีน้ำหนักเกินร้อยละ 10 จะมีอายุสั้นกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึงร้อยละ 13 และถ้าน้ำหนักตัวเกินร้อยละ 30 จะมีอายุสั้นลงถึงร้อยละ 42 นอกจากนั้นยังมีผลเสียต่าง ๆ หลายอย่างดังนี้

ผลเสียทางด้านร่างกาย

  1. โรคความดันโลหิตสูง จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า คนอ้วนเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนปกติถึง 4.5 เท่าและเมื่อลดน้ำหนักตัวลงจะส่งผลให้ความดันโลหิตลดลงด้วย
  2. ภาวะไขมันในเลือดสูง พบว่า คนอ้วนมีแนวโน้มที่จะมีภาวะไขมันในเลือดสูงกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวปกติ ซึ่งทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งและโรคหัวใจขาดเลือด
  3. โรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อร่างกายมีภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนหัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดโลหิต จากการศึกษาของนักวิจัยหลาย ๆ คนแสดงให้เห็นว่าโรคอ้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง และโรคหัวใจขาดเลือด
  4. โรคเบาหวาน จากบทความทางวิชาการหลายชิ้น พบว่า ภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนมีความสัมพันธ์การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน (Mokdad, et al., 2003) นอกจากนี้ดัชนีความหนาของร่างกาย มีความสัมพันธ์โดยตรงกับโอกาสเกิดโรคเบาหวาน (Buchwald  et al., 2009) เนื่องจากมีเซลล์ของไขมันขยายใหญ่ขึ้นความไวในการตอบสนองของตัวรับของอินซูลินที่เซลล์เป้าหมาย
    (insulin receptor) ลดลง ทำให้การกระตุ้นของอินซูลินน้อยลงส่งผลให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ร่างกายจึงต้องใช้อินซูลินมากขึ้น ทำให้เซลล์ที่ผลิตอินซูลิน (lslets of langerhans) ทำงานหนักขึ้นเพื่อผลิตอินซูลินให้มากขึ้น ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เซลล์ดังกล่าวเสื่อมสมรรถภาพ การผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่สามารถผลิตได้ ทำให้เกิดเป็นโรคเบาหวานขึ้นได้
  5. โรคนิ่วในถุงน้ำดี ในร่างกายของคนอ้วนจะมีการสะสมไขมันเพิ่มมากขึ้น จนทำให้กระบวนการเมแทบอลิซึมของคอเลสเตอรอลผิดปกติ ทำให้มีการสร้างคอเลสเตอรอลออกมาในน้ำดีมากขึ้น ส่งผลให้ความเข้มข้นของคอเลสเตอรอลในน้ำดีมากจนเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ำดีได้
  6. โรคข้ออักเสบ ในผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน โครงสร้างของร่างกายต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณกระดูกและข้อต่อที่ต้องเคลื่อนไหวมากกว่าบริเวณอื่น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องข้ออักเสบและเสื่อม (osteoarthritis) ได้ง่าย โดยเฉพาะข้อเข่าที่ต้องรับน้ำหนักทั้งร่างกาย คนอ้วนจึงมีอาการปวดเข่า เดินไม่ค่อยไหว ซึ่งการลดน้ำหนักจะช่วยลดอาการปวดข้อลงได้
  7. โรคเกาต์ โดยทั่วไปมักพบว่า กรดยูริกเพิ่มมากขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุในคนอ้วนที่มีน้ำหนักตัวเกิน ซึ่งมักไม่มีอาการผิดปกติอย่างใด แต่ถ้าปล่อยให้น้ำหนักตัวเกินร้อยละ 30 ของน้ำหนักตัวมาตรฐานที่ควรเป็นมักพบอุบัติการณ์ของโรคเกาต์ได้มากกว่าคนปกติ
  8.  เกิดปัญหาอื่น ๆ นอกจากน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วนจะทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแล้ว ยังพบว่า ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบการหายใจ เนื่องจากบริเวณรอบทรวงอกมีไขมันอยู่มาก ทำให้ขัดขวางการขยายตัวของทรวงอก รวมทั้งไขมันที่ท้องทำให้กระบังลมไม่สามารถ หย่อนตัวลงมาอย่างปกติ ส่งผลให้คนอ้วนเหนื่อยง่าย หายใจลำบากโดยเฉพาะเวลานอน อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจเป็นพัก ๆ (sleep apnea syndrome)

ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปได้ จึงทำให้เกิดอาการปวดเข่า ข้ออักเสบ และปวดหลัง เมื่อมีการเดินยืนนาน ๆ ทำให้การเคลื่อนไหวยากขึ้น ขาดความกระฉับกระเฉง เนื่องจากต้องออกแรงมากกว่าคนทั่วไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผลเสียทางด้านจิตใจ

คนอ้วนส่วนใหญ่มักวิตกกังวลเรื่องรูปร่างสืบเนื่องมาจากการแต่งตัวลำบาก เลือกเสื้อให้เหมาะกับรูปร่างยาก เกิดปมด้อย ขาดความมั่นใจ จนเกิดความรู้สึกแปลกแยกแตกต่างจากคนทั่วไป และอารมณ์แปรปรวนได้ง่าย บางครั้งเกิดอาการซึมเศร้า บางรายอาจเกิดความเครียดถ้าไม่สามารถขจัดได้อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคจิตและคิดฆ่าตัวตายตามมา


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What are the health consequences of being overweight?. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/features/qa/49/en/)
The Effects of Obesity on Your Body. Healthline. (https://www.healthline.com/health/obesity/how-obesity-affects-body)
Obesity and Overweight. Stanford Health Care (SHC) - Stanford Medical Center. (https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/healthy-living/obesity.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป