ผู้ป่วยกลุ่มใดที่ต้องใช้ หรือไม่ใช้ยาอินซูลิน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ต้องการอินซูลินต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ผู้ป่วยกลุ่มใดที่ต้องใช้ หรือไม่ใช้ยาอินซูลิน

การเป็นเบาหวานหมายความว่าคุณจะต้องเริ่มการฉีดอินซูลินโดยอัตโนมัติหรือไม่? คำตอบก็คือขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวานและความรุนแรงของโรค

ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ต้องการอินซูลินเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เองในปริมาณที่มากพอ ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 พบว่ามีผู้ป่วยเพียง 1/3 เท่านั้นที่ต้องกาอินซูลิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (CDC) ประมาณว่ามีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ประมาณ 28% ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ต้องใช้อินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันจำนวนมากกว่านี้

เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 คุณอาจสงสัยว่าตนเองต้องใช้อินซูลินหรือไม่ คุณอาจกลัวเรื่องการฉีดยา และอาจเชื่อว่าการฉีดอินซูลินแสดงถึงความล้มเหลวของตัวคุณ และปฏิเสธการฉีดยาแม้ว่าคุณจะต้องใช้มันก็ตาม ไม่ว่าอย่างไร อย่างแรกที่ควรทำก็คือทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการฉีดยาตัวนี้

ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนต้องฉีดอินซูลินหรือไม่

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 เป็นภาวะที่บ่งบอกว่าคุณมีอินซูลินไม่เพียงพอ หรือไม่สามารถตอบสนองได้พอที่จะทำการลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เกิดปัญหาขึ้น 2 อย่างคือระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงและการลดลงของการสะสมกลูโคสซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย

ความแตกต่างระหว่างเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ก็คือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้

Beta cells เป็นเซลล์ที่พบในตับอ่อน จะทำหน้าที่ผลิตอินซูลินในแก่ร่างกาย โรคเบาหวานชนิดที่ 1 พบว่าเซลล์เหล่านี้ส่วนใหญ่จะถูกทำลาย ทำให้มีอินซูลินไม่เพียงพอ ดังนั้น ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ขณะที่ในเบาหวานชนิดที่ 2 ตับอ่อนจะยังสามารถสร้างอินซูลินได้ แต่มีปริมาณไม่มากพอ หรือร่างกายเกิดการดื้อต่ออินซูลิน ดังนั้น การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกายและยาชนิดรับประทานหลายตัวสามารถช่วยให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากโรคเกิดความรุนแรงขึ้น ก็แสดงว่าอาจจำเป็นต้องใช้การรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลิน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทางเลือกในการรักษาด้วยอินซูลิน

มีอินซูลินมากถึง 20 แบบที่จำหน่ายภายในสหรัฐอเมริกา แต่ละชนิดมีความแตกต่างจากสารที่ใช้ผลิต การทำงานในร่างกายและราคา การเลือกใช้อินซูลินขึ้นจะต้องให้ความสนใจกับ 3 ปัจจัยหลักนั่นคือเวลาที่อินซูลินเริ่มออกฤทธิ์ เวลาที่อินซูลินมีประสิทธิภาพมากที่สุด และระยะเวลาที่อินซูลินยังมีประสิทธิภาพอยู่ภายในร่างกาย

แพทย์อาจเลือกใช้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น ออกฤทธิ์แบบปานกลาง และชนิดที่ออกฤทธิ์ยาวขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการรักษาโรคและการวางแผนของผู้ป่วย ซึ่งอินซูลินเหล่านี้สามารถเริ่มออกฤทธิ์ได้ตั้งแต่ 10-15 นาทีหรือนาน 6 ชั่วโมงหลังเริ่มฉีด อินซูลินจะยังคงออกฤทธิ์ได้นานถึง 24 ชั่วโมง ในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหากับการปรับระดับยาด้วยตนเองอาจเลือกใช้เป็นอินซูลินที่มีการผสมแล้ว

การใช้อินซูลิน

อินซูลินสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี วิธีที่ใช้แบบดั้งเดิมคือการฉีดอินซูลินด้วยเข็มหรือปากกา การใช้ปากกาอาจสะดวกต่อการใช้งานมากกว่า และมีรูปร่างเหมือนปากกาทั่วไป ความถี่และปริมาณยาที่ใช้ขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือดและชนิดของอินซูลินที่ใช้

นอกจากนั้น ผู้ป่วยยังสามารถใช้อินซูลินแบบสูด (Insulin pumps) ซึ่งจะทำให้ร่างกายได้รับอินซูลินที่ออกฤทธิ์เร็วอย่างต่อเนื่องผ่านสายใต้ผิวหนัง อัตราที่ใช้จะเรียกว่าอัตราเร็วขั้นพื้นฐาน และเมื่อผู้ป่วยมีการรับประทานอาหารตามมื้อหรือขนม หรือต้องการปรับระดับน้ำตาล ผู้ป่วยจะสามารถสั่งให้หลั่งอินซูลินที่เรียกว่า bolus ออกมาเพิ่มเติมได้

อินซูลินแบบสูดดมนี้ เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกฤทธิ์สั้นก่อนการรับประทานอาหารหรือขนม ทำผู้ป่วยไม่ต้องฉีดยาในกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้น และก็ไม่ได้มีความแม่นยำเท่ากับการฉีดยา และยังไม่ทราบว่ามีผลข้างเคียงต่อสุขภาพในระยะยาวหรือไม่

เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยจะต้องเปลี่ยนจากการทานยามาเป็นการใช้อินซูลิน

ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถคุมอาหารและออกกำลังกายได้ดีสามารถคุมโรคได้ดี อย่างไรก็ตามหากมีระดับน้ำตาลที่สูงอย่างต่อเนื่องแสดงว่าต้องเริ่มใช้ยาในการรักษา

ในอดีตผู้ป่วยจะเริ่มรักษาโรคเบาหวานโดยการใช้ยาเบาหวานแบบกิน แต่ในปัจจุบันพบว่าหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 7% อาจเริ่มการรักษาด้วยอินซูลินทันที โดยเมื่อโรคมีความรุนแรงมากขึ้น beta cell ในตับอ่อนจะผลิตอินซูลินออกมาได้ลดลงทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับอินซูลินในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อควบคุมโรค ความเร็วของการดำเนินโรคซึ่งก็คือความเร็วในการเสื่อมของ beta cells นั้น ขึ้นกับหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงน้ำหนัก พันธุกรรม การคุมอาหารและกิจกรรมในแต่ละวันของผู้ป่วย และเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ป่วยควรอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าการมีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 7% เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยควรเริ่มการใช้อินซูลิน

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการใช้อินซูลินหรือไม่?

เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกกังวลหรือไม่สบายใจในการเริ่มใช้อินซูลิน แต่นี่ไม่ควรทำให้คุณเปลี่ยนใจ เนื่องจากหากคุณสามารถใช้ยาได้ถูกต้อง อินซูลินจะเป็นยาที่ช่วยทำให้มีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น แต่หากใช้ยาแล้วรู้สึกไม่สบายใจ คุณสามารถปรึกษาทีมแพทย์หรือปรึกษากลุ่มที่ให้ความช่วยเหลือได้


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Type 1 vs. Type 2 Diabetes Differences: Which One Is Worse?. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/type_1_vs_type_2_diabetes_similarities_differences/article.htm)
Types 1 and 2 diabetes: Similarities and differences. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/7504)
Differences between Type 1 and Type 2 diabetes. Diabetes UK. (https://www.diabetes.org.uk/diabetes-the-basics/differences-between-type-1-and-type-2-diabetes)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)