มะเร็งปอดคืออะไร

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มะเร็งปอดคืออะไร

มะเร็งปอดเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ปกติภายในปอดเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นเซลล์ผิดปกติ ซึ่งมีความสามารถในการเจริญเติบโตอย่างไม่จำกัด เซลล์เหล่านี้แบ่งได้หลายชนิดทำให้เกิดมะเร็งที่แตกต่างกันไป บางชนิดโตและลุกลามได้เร็ว ในประเทศไทยมะเร็งปอดคงเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในทั้งเพศชายและหญิง

ใครบ้างมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด

  • ผู้ที่สูบบุหรี่ และดมควันบุหรี่ (second hand smoker)
  • ผู้ที่สัมผัสกับก๊าซเรดอน (radon) ซึ่งแปลงสภาพมาจากธาตุยูเรเนียมซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสี ก๊าซเหล่านี้สามารถมากับหิน ดิน ทราย เป็นวัสดุที่ใช้ก่อสร้างอาคาร
  • ผู้ที่สัมผัส สูดดมโลหะหนักซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้แก่ สารหนู แคดเมี่ยม โครเมี่ยม นิกเกิ้ล เบอรีเลี่ยม ซิลิก้า ละอองน้ำมัน แร่ใยหิน
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็งที่อวัยวะอื่น
  • ผู้ที่มีโรคปอดเป็นโรคประจำตัว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง
  • ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด

อาการของมะเร็งปอดมีอะไรบ้าง 

  • ไอ หายใจเหนื่อย บางครั้งมีเสียงวี๊ดๆ เกิดจากก้อนเนื้องอกกดเบียดหลอดลมหรือเนื้อปอด
  • ไอเป็นเลือด เกิดจากก้อนเนื้องอกลุกลามสู่หลอดเลือด
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ เกิดจากก้อนเนื้องอกทำให้เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบหรือลุกลามไปยังเยื่อหุ้มปอด
  • เสียงแหบ เกิดจากมีการกดเบียดหรือทำลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียง โดยเส้นประสาทนี้อยู่บริเวณช่องอก
  • ปวดศีรษะหน้าบวม แขนบวม พบได้กรณีมีภาวะอุดตันของหลอดเลือดดำจากก้อนเนื้องอกไปกดเบียด ทำให้เลือดดำของศีรษะ ใบหน้าและแขน ไหลกลับสู่หัวใจไม่สะดวกและเกิดการคั่งของเลือด จึงมีอาการบวม
  • กรณีก้อนเนื้องอกอยู่บริเวณยอดปอด จะทำให้เกิดอาการปวดแขนหรือร้าวลงแขนและไหล่จากการกดบริเวณเส้นประสาทส่วนคอหากมีการกดเบียดถึงไขสันหลัง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรงของมือได้ อาการหนังตาตกเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่บริเวณใกล้กับยอดปอดถูกกดเบียด

การตรวจวินิจฉัย

กรณีมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งปอดแม้ภาพเอกซเรย์ปอดจะปกติ(พบได้ประมาณร้อยละ 25) แพทย์จะมีการตรวจเพิ่มเติมด้วยการถ่ายภาพทางรังสีที่ละเอียดกว่า เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือ PET scan เมื่อเห็นก้อนในปอดที่สงสัยว่าแล้วจะทำการตัดชิ้นเนื้อไปตรวจว่าเป็นก้อนเนื้องอกชนิดใดต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ใครควรจะต้องตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปอด  

ในประเทศไทยยังให้การคัดกรองมะเร็งปอดเป็นแบบแล้วแต่โอกาสคือคัดกรองทำโดยอิสระขึ้นกับแต่ละสถานพยาบาล ซึ่งต่างกับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งทวารหนักที่มีอยู่ในแผนสาธารณสุขระดับชาติที่รัฐสนับสนุน ซึ่งคัดกรองประชากรกลุ่มใหญ่

  • ผู้อยู่ในกลุ่มมีความเสี่ยงสูงแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปอดคือผู้ที่มีลักษณะดังนี้
  • อายุระหว่าง 55-74 ปี ที่สูบบุหรี่มากกว่า 30 pack yearsและเลิกบุหรี่น้อยกว่า 15 ปี
  • อายุมากกว่า 50 ปี ที่สูบบุหรี่มากกว่า 20 pack years และมีความเสี่ยงอื่นๆของมะเร็งปอด
  • Pack years คำนวณจากจำนวนบุหรี่ที่สูบต่อวันเป็นปริมาณซอง คูณกับระยะเวลาที่สูบ เช่น สูบบุหรี่วันละ 20 มวน เป็นเวลา 10 ปี คือ สูบ 1 ซอง (มี 20 มวน) x 10 ปี = 10 pack years

การคัดกรองจะทำโดยการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สามารถเห็นก้อนในปอดได้ชัดเจนกว่าการตรวจภาพเอกซเรย์ปอดทั่วไป จากนั้นจะมีการนัดติดตามเป็นระยะขึ้นกับว่าตรวจพบอะไรบ้าง  อย่างไรก็ตามการตรวจคัดกรองไม่สามารถการันตีว่าจะตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มแรกและรักษาได้หายขาด บางครั้งผลที่ตรวจได้เป็นผลลวงคือคัดกรองว่าเป็นมะเร็งในความเป็นจริงไม่ใช่มะเร็งเนื่องจากคัดกรองจากภาพเอกซเรย์ซึ่งไม่มีผลชิ้นเนื้อและผู้ป่วยต้องรับรังสีจากการถ่ายเอกซเรย์ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำทำการตรวจคัดกรอง

การรักษามะเร็งปอดทำได้อย่างไร

หลังจากทำการตรวจว่าเป็นก้อนเนื้อชนิดเนื้อร้ายและทราบว่าเป็นมะเร็งขั้นไหนแล้ว แพทย์จะให้การรักษาประกอบด้วย

  • ผ่าตัด จะทำในกรณีที่สามารถเอาก้อนเนื้องอกออกได้หมด
  • การฉายแสง
  • การให้ยาเคมีบำบัด
  • การให้สารเพื่อเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยเฉพาะเจาะจง
  • การใช้วิธีการทางภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง

20 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lung Cancer: Causes, Stages, Life Expectancy, and More. Healthline. (https://www.healthline.com/health/lung-cancer)
Lung Cancer Symptoms, Types, Causes, Treatment & Diagnosis. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/lung_cancer/article.htm)
Lung cancer: Symptoms, treatment, and early diagnosis. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323701)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป