โรคตับอักเสบ A

เผยแพร่ครั้งแรก 25 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
โรคตับอักเสบ A

โรคตับอักเสบ A (hepatitis A) คือภาวะติดเชื้อของตับที่เกิดจากไวรัสที่แพร่กระจายทางอุจจาระของผู้ติดเชื้อ โรคนี้เกิดขึ้นได้บ่อย แต่ก็มีผู้คนบางกลุ่มที่อาจมีความเสี่ยงมากกว่าปรกติ ซึ่งรวมไปถึงนักเดินทางที่มาจากสถานที่ที่มีระดับสุขอนามัยต่ำ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย และผู้ที่ใช้ยาเสพติดประเภทฉีด

โรคตับอักเสบ A เป็นโรคที่สร้างความไม่สบายเนื้อสบายตัว และมักจะไม่ร้ายแรง โดยผู้ป่วยมักจะฟื้นตัวได้สมบูรณ์ภายในสองถึงสามเดือน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะเด็กเล็กอาจจะไม่มีอาการใด ๆ แต่โรคตับอักเสบ A ก็สามารถเกิดขึ้นได้นานหลายเดือน และในกรณีหายาก โรคนี้ก็ส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้ด้วยหากทำให้ตับของผู้ติดเชื้อหยุดทำงานไป (ภาวะตับล้มเหลว)

โรคตับอักเสบ A สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนให้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้สูง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

คุณควรไปพบแพทย์หากว่า:

  • คุณมีอาการจากโรคตับอักเสบ A: โดยแพทย์จะดำเนินการตรวจเลือดเพื่อยืนยันการติดเชื้อที่มี
  • คุณอาจสัมผัสกับเชื้อไวรัสตับอักเสบ A เมื่อไม่นานมานี้และยังไม่มีอาการใด ๆ : การรักษาที่เริ่มขึ้นเร็วจะช่วยหยุดยั้งการเติบโตของไวรัสได้
  • คุณคาดว่าตนเองจำเป็นต้องได้รับวัคซีน: แพทย์จะแนะนำและตรวจสอบว่าคุณควรได้รับวัคซีนตับอักเสบ A หรือไม่

แม้ว่าโรคตับอักเสบ A มักจะไม่ร้ายแรง แต่สิ่งสำคัญคือการเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นภาวะสุขภาพร้ายแรงอื่น ๆ ที่มีอาการคล้ายกัน เช่นโรคตับอักเสบ C (hepatitis C) หรือโรคตับแข็ง (cirrhosis)

การวินิจฉัยหาโรคยังควรต้องตรวจสอบทั้งเพื่อน ครอบครัว และคู่นอนของคุณด้วยเพราะโรคนี้สามารถติดต่อให้กับผู้อื่นได้

สาเหตุของโรคตับอักเสบ A

โรคตับอักเสบ A เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ A ที่แพร่กระจายทางอุจจาระของผู้ติดเชื้อ กรณีติดเชื้อส่วนมากเกิดขึ้นในประเทศที่มีมาตรฐานความสะอาดของอาหารและผู้คนต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

คุณติดเชื้อตับอักเสบ A ได้อย่างไร?

โรคตับอักเสบ A แพร่อยู่ในประเทศที่มีมาตรฐานสุขอนามัยและความสะอาดของอาหารต่ำ เช่นบางภูมิภาคของประเทศแอฟริกา ประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้และกลาง

คุณติดเชื้อตับอักเสบ A ได้จาก: การรับประทานอาหารที่เตรียมโดยผู้ติดเชื้อที่ไม่ล้างมือ หรือที่ใช้น้ำที่ปนเปื้อนเชื้อในการจัดเตรียม การดื่มน้ำปนเปื้อนเชื้อ (รวมไปถึงการเคี้ยวน้ำแข็งก้อนที่มีเชื้อด้วย) การทานอาหารจำพวกดิบจากแหล่งน้ำปนเปื้อนเชื้อ การเข้าใกล้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อ (พบได้ไม่บ่อย และจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นกับกลุ่มชายรักชาย) หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

ผู้ติดเชื้อตับอักเสบ A จะแพร่เชื้อได้มากสุดในช่วงสองอาทิตย์แรกหลังเริ่มมีอาการ จนถึงประมาณหนึ่งสัปดาห์หลังมีอาการครั้งแรก

ความคาดหวังที่มีต่อโรคตับอักเสบ A

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ A ส่วนมากจะหายจากโรคได้เองภายในสองเดือน และโรคนี้ก็ไม่ส่งผลระยะยาว เมื่อหายจากโรค ร่างกายของคุณจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคตับอักเสบ A ตลอดชีวิตขึ้นมา

โดยผู้ป่วย 1 ใน 7 คนจะมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ เป็นเวลานาน 6 เดือนก่อนที่จะหายไปในที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากโรคตับอักเสบ A เช่นตับล้มเหลวนั้นเป็นภาวะหายากที่เกิดขึ้นน้อยกว่า 1 ใน 250 ราย ผู้ที่มีความเสี่ยงนี้สูงที่สุดคือผู้ที่มีปัญหาตับอยู่ก่อนและผู้สูงอายุ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณประสบกับภาวะตับล้มเหลว ส่วนมากแพทย์จะแนะนำการปลูกถ่ายตับในการรักษา

อาการของโรคตับอักเสบ A

อาการของโรคตับอักเสบ A มักจะเกิดขึ้นประมาณ 4 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่ไม่ประสบกับอาการใด ๆ เลย

อาการแรกเริ่มของโรคตับอักเสบ A

อาการแรกเริ่มของโรคตับอักเสบ A มีดังต่อไปนี้: รู้สึกไม่สบายและเหน็ดเหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ มีไข้อ่อน ๆ ที่มักจะไม่เกิน 39 องศาเซลเซียส ไม่อยากอาหาร รู้สึกคลื่นไส้ ปวดหน้าท้อง ณ ส่วนเหนือบนทางขวา ปวดศีรษะ เจ็บคอ และไอ ท้องผูกหรือท้องร่วง คันผิวหนัง

อาการแรกเริ่มของโรคตับอักเสบ A

หลังจากประสบกับอาการแรกเริ่มของโรคตับอักเสบ A แล้ว อาการต่อไปนี้อาจจะเกิดขึ้นตามมา: ผิวหนังและตาขาวออกสีเหลือง (ดีซ่าน) อุจจาระมีสีซีดและปัสสาวะมีสีเข้ม คันผิวหนัง ปวดหน้าท้อง ณ ส่วนเหนือบนทางขวาจนมีอาการบวมและกดเจ็บ

ผู้ป่วยส่วนมากจะฟื้นตัวจากโรคได้ภายในสองถึงสามเดือน กระนั้นอาการต่าง ๆ อาจจะเกิดขึ้นแบบเป็น ๆ หาย ๆ หลังจากนี้ได้นานหกเดือน

สัญญาณของปัญหาร้ายแรง

โรคตับอักเสบ A ไม่ใช่ภาวะเจ็บป่วยร้ายแรง แต่ในกรณีหายากภาวะนี้ก็อาจทำให้ตับหยุดทำงานได้ (ภาวะตับล้มเหลว) ซึ่งนอกจากอาการข้างต้นแล้ว สัญญาณของภาวะตับล้มเหลวมีดังนี้: อาเจียนกะทันหัน เกิดรอยฟกช้ำกับเลือดออกได้ง่าย (ยกตัวอย่างเช่น มีเลือดกำเดาหรือเลือดออกตามไรฟันออกบ่อย) ฉุนเฉียว มีปัญหาด้านความทรงจำและสมาธิ ง่วงนอนและสับสน

การรักษาโรคตับอักเสบ A

ยังไม่มีวิธีรักษาโรคตับอักเสบ A แต่ภาวะนี้ก็มักจะหายไปเองภายในสองถึงสามเดือน ซึ่งระหว่างนี้คุณสามารถดูแลตนเองได้เองที่บ้าน

การบรรเทาอาการของโรคตับอักเสบ A

ในขณะที่คุณป่วยอยู่นั้น ควรจะ: พักผ่อนให้มาก ๆ ทานยาแก้ปวด เช่นพาราเซตตามอล หรืออิบูโพรเฟนบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ โดยคุณควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับขนาดยาที่ควรใช้ก่อน พยายามอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เย็นและอากาศถ่ายเท สวมเสื้อผ้าหลวม ๆ และเลี่ยงการอาบน้ำเย็นเพื่อลดอาการคัน ทานอาหารเบา ๆ มื้อไม่หนักเกินไปเพื่อเลี่ยงอาการคลื่นไส้อาเจียน เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ตับต้องแบกรับภาระมากขึ้น

ปรึกษาแพทย์หากว่าอาการของคุณส่งผลต่อการใช้ชีวิตเกินไป หรือไม่ดีขึ้นหลังผ่านไปแล้วสองถึงสามเดือน แพทย์จะสามารถจัดจ่ายยาช่วยลดอาการคัน คลื่นไส้หรืออาเจียนได้ตามความจำเป็น

การป้องกันการแพร่กระจายของโรคตับอักเสบ A

ในขณะที่คุณกำลังป่วยอยู่นั้น สิ่งสำคัญคือการลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น โดยคุณควร: หยุดงานหรือลาเรียน และเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์หลังมีอาการดีซ่านหรืออาการอื่น ๆ ขึ้นมา เลี่ยงการเตรียมอาหารให้ผู้อื่น (หากทำได้) ฝึกดูแลความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี เช่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ และล้างมือหลังทำธุระให้สะอาด เป็นต้น เลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน และพยายามซักผ้าของผู้ติดเชื้อแยกด้วยความร้อน ทำความสะอาดห้องน้ำ ด้ามบิดประตู และก๊อกน้ำบ่อยขึ้น เลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่คุณแพร่เชื้อได้ โดยไวรัสตับอักเสบ A จะแพร่เชื้อง่ายมากในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังมีอาการ จนถึงหนึ่งสัปดาห์หลังมีอาการครั้งแรก

การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้คนในบ้านเรือนเดียวกันก็มีโอกาสแพร่เชื้อได้เช่นกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้สมาชิกในครัวเรือนเดียวกับผู้ติดเชื้อควรได้รับวัคซีนป้องกันไว้ก่อน

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ A

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ A ไม่ได้เป็นวัคซีนบังคับเพราะคนส่วนมากจะมีความเสี่ยงต่อโรคนี้ต่ำอยู่แล้ว

วัคซีนนี้จะแนะนำให้กับผู้ที่อาจมีความเสี่ยงมากกว่าปกติ เช่น: ผู้ที่อยู่ใกล้กับผู้ติดเชื้อโรคตับอักเสบ A ผู้ที่วางแผนจะเดินทางหรืออาศัยอยู่ในประเทศที่โรคตับอักเสบ A แพร่กระจาย โดยเฉพาะสถานที่ที่มีมาตรฐานสุขอนามัยต่ำ ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง กลุ่มชายรักชาย ผู้ที่ใช้ยาฉีดผิดกฎหมาย ผู้ที่อาจสัมผัสกับเชื้อตับอักเสบ A ้รจากการประกอบอาชีพ เช่นช่างประปา บุคลากรในสถานที่ที่มีสุขอนามัยต่ำ และผู้ที่ทำงานร่วมกับลิง เป็นต้น

ประเภทของวัคซีนโรคตับอักเสบ A

วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ A มีอยู่ 3 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้: วัคซีนสำหรับโรคตับอักเสบ A เท่านั้น วัคซีนรวมโรคตับอักเสบ A กับ B วัคซีนรวมสำหรับโรคตับอักเสบ A และไข้ไทฟอยด์

ควรปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาว่าวัคซีนประเภทใดที่เหมาะสมกับคุณที่สุด หากคุณต้องเดินทาง ควรเตรียมฉีดวัคซีนล่วงหน้าเอาไว้ ซึ่งควรจะได้รับวัคซีนก่อนเดินทางอย่างน้อยสองหรือสามสัปดาห์ และในบางกรณีการฉีดวัคซีนก็สามารถทำได้ก่อนวันเดินทางตามความจำเป็น

แพทย์แนะนำให้คุณรับวัคซีนโดสเพิ่มเติมอีกครั้งหลังจากฉีดครั้งแรก 6-12 เดือนเพื่อเป็นการป้องกันระยะยาว

ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโรคตับอักเสบ A

ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการปวดเมื่อย ผิวแดงและแข็ง ณ จุดที่ทำการฉีดวัคซีนตับอักเสบ A ชั่วคราว โดยจุดที่โดนฉีดวัคซีนอาจจะเกิดก้อนขนาดเล็กที่ไม่เจ็บปวดขึ้นมา แต่มักจะหายไปอย่างรวดเร็วและไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ตามมา

ผลข้างเคียงจากวัคซีนที่พบได้ไม่บ่อยมีดังนี้: 

  • มีไข้ขึ้นเล็กน้อย 
  • รู้สึกไม่สู้ดี
  • เหน็ดเหนื่อย 
  • ปวดศีรษะ 
  • ไม่อยากอาหาร

15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hepatitis A. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-a/)
Hepatitis A Information | Division of Viral Hepatitis. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hepatitis/hav/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป