ไวรัสตับอักเสบซี : ติดต่อกันผ่านเลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ไวรัสตับอักเสบซี : ติดต่อกันผ่านเลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

โรคไวรัสตับอักเสบซี สามารถตรวจพบได้ประมาณ 1 - 2 % ของผู้ที่มาบริจาคเลือด โดยหลังจากเป็นโรคตับอักเสบชนิดนี้แล้ว ผู้ป่วยยังมีแนวโน้มที่จะเป็นตับอักเสบเรื้อรังถึง 20% และจะเป็นโรคตับแข็งใน 10 - 20 ปี บางส่วนอาจลุกลามกลายเป็นมะเร็งตับ 

โรคไวรัสตับอักเสบซีติดต่อกันอย่างไร

ไวรัสตับอักเสบซีสามารถติดต่อกันได้ทาง เลือด และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่ก็มีผู้ป่วยบางคนที่ได้รับเชื้อมาอย่างไม่ทราบสาเหตุหรือแหล่งที่มา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 553 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดโรค

  • ผู้ที่เคยรับ(การบริจาค)เลือด และสารเลือดในช่วงก่อนปี ค.ศ. 1992 เพราะช่วงก่อนนี้เป็นช่วงที่ยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในเบือดที่บริจาค
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำ
  • ผู้ป่วยติดยาเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกัน
  • เด็กทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ โดยสามารถติดได้ 5%
  • คนที่ร่วมเพศโดยไม่ป้องกัน
  • ได้รับเชื้อจากการสักร่างกาย

กิจกรรมใดบ้างที่ทำให้ติดเชื้อ 

  • การให้นมบุตร 
  • จามหรือไอ 
  • การทานอาหารหรือน้ำร่วมกันด้วยจาน ชาม แก้ว ช้อน รวมกัน

อาการของผู้ป่วยเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ผู้ป่วยมักมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน ปวดบริเวณชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ

ส่วนผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังจะมีอาการ ตับม้ามโต ตัวเหลืองตาเหลืองเป็นดีซ่าน กล้ามเนื้อเล็กลีบลง ท้องมาน เท้าบวมใหญ่

 

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี

  • รักษาด้วยการให้ Alpha Interferon ตามแพทย์สั่ง
  • รักษาด้วยการให้ยาสองตัวได้แก่ Alpha Interferon และ Ribavirin ตามแพทย์สั่ง

วิธีการป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซี

  • ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 
  • ใส่ถุงมือก่อนที่จะสัมผัสเลือด 
  • ไม่ใช้มีดโดนหรือแปรงสีฟันร่วมกัน 
  • ไม่ใช้อุปกรณ์สักร่างกายร่วมกัน 
  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งหากมีเพศสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า 
  • คนที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซีห้ามบริจาคเลือด 

เมื่อผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ควรป้องกันอาการอักเสบอย่างไร

  • งดการดื่มสุรา 
  • เข้าพบแพทย์ตามเวลานัดหมาย 
  • ก่อนใช้ยาอะไรที่แพทย์ไมไ่ด้สั่งให้ ถามแพทย์ก่อนทุกครั้ง 
  • ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ

5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hepatitis C - Causes. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hepatitis-c/causes/)
Hepatitis C — Key facts [Fact sheet]. (2018). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hepatitis-c)
How is hepatitis C transmitted?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/318888)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป