การตรวจ ESR นั้นย่อมาจาก Erythrocyte sedimentation rate ซึ่งไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะ แต่จะช่วยบอกข้อมูลว่าคุณกำลังมีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกายหรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจ ESR ร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งการตรวจอื่นๆ นั้นก็จะขึ้นกับอาการที่คุณมี นอกจากนั้นการตรวจนี้ยังอาจจะใช้ติดตามโรคที่มีการอักเสบก็ได้
ในการทดสอบนี้จะต้องใช้การเจาะเลือดก่อนนำไปดูอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือด การอักเสบในร่างกายนั้นจะทำให้มีโปรตีนผิดปกติเกิดขึ้นในเลือด ซึ่งอาจทำให้เม็ดเลือดแดงนั้นเกาะตัวกันและตกตะกอนเร็วกว่าปกติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทำไมถึงต้องตรวจ ESR
แพทย์อาจจะส่งตรวจ ESR เพื่อช่วยในการตรวจหาการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยภาวะที่ทำให้เกิดการอักเสบเช่นโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง มะเร็งและการติดเชื้อ
การทดสอบ ESR นั้นสามารถใช้ติดตามการอักเสบที่เกิดขึ้นได้เช่นในโรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง แพทย์อาจจะส่งตรวจหากคุณมีไข้ มีข้ออักเสบหรือมีปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อบางอย่าง
การทดสอบนี้มักจะไม่ทำเพียงอย่างเดียวแต่มักจะทดสอบร่วมกับการตรวจอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
การเตรียมตัว
มียาหลายชนิดที่สามารถส่งผลต่อค่าการทดสอบนี้เช่น
- Androgen เช่น testosterone
- เอสโตรเจน
- แอสไพรินหรือยากลุ่ม salicylates อื่นๆ หากรับประทานในขนาดที่สูง
- Valproic acid (Depakene)
- Divalproex sodium (Depakote)
- Phenytoin (Dilantin)
- เฮโรอีน
- Methadone
- Phenothiazines
- Prednisone
ควรแจ้งแพทย์หากคุณกำลังรับประทานยาเหล่านี้ แพทย์อาจจะขอให้หยุดยาดังกล่าวชั่วคราวก่อนมาตรวจ
การตรวจ ESR
การตรวจ ESR นั้นเป็นการเจาะเลือด โดยในขั้นแรกจะเป้นการทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่มีเส้นเลือดดำที่จะเจาะ ก่อนที่จะใช้เข็มเข้าไปเก็บตัวอย่างเลือด หลังจากนั้นก็จะนำเข็มออกก่อนที่จะปิดแผลเพื่อช่วยหยุดเลือด การตรวจนี้ใช้เวลาเพียง 1-2 นาที
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ความเสี่ยงจากการตรวจ ESR
การเจาะเลือดนั้นมีความเสี่ยงเล็กน้อย ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้เช่น
- เลือดออกมาก
- เป็นลม
- มีก้อนเลือดหรือรอยช้ำ
- มีการติดเชื้อ
- มีการอักเสบของเส้นเลือดดำ
- เวียนหัว
คุณอาจจะรู้สึกปวดเล็กน้อยถึงปานกลางได้เวลาที่ทำการเจาะเลือด และอาจจะรู้สึกปวดที่ตำแหน่งดังกล่าวหลังการตรวจ
ผลปกติ
ผล ESR นั้นจะวัดในหน่วยมิลลิเมตรต่อชั่วโมง
- ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
- ผู้ชายที่อายุน้อยกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 15 mm/hr
- ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 30 mm/hr
- ผู้ชายที่อายุมากกว่า 50 ปีควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 20 mm/hr
- เด็กแรกเกิดควรมีค่า ESR ต่ำกว่า 2 mm/hr
- เด็กที่ยังไม่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์นั้นควรมีค่า ESR อยู่ระหว่าง 3-13 mm/hr
ค่าที่ผิดปกติ
ค่า ESR ที่ผิดปกตินั้นไม่สามารถวินิจฉัยโรคใดโรคหนึ่งได้ เพียงแต่บอกว่ามีการอักเสบเกิดขึ้นในร่างกาย
การทดสอบนี้ไม่ได้แม่นยำหรือมีความหมายเสมอไป มีหลายปัจจัยเช่นอายุหรือยาที่ใช้ที่สามารถส่งผลต่อผลการตรวจได้
ผลที่ผิดปกตินั้นอาจจะไม่ได้บอกแพทย์ว่ามีความผิดปกติอะไรเกิดขึ้น แต่มักจะบอกว่าต้องทำการตรวจเพิ่มเติม แพทย์มักจะมีการตรวจ ESR ซ้ำหากค่า ESR ที่ได้นั้นสูงหรือต่ำเกินไป
ค่า ESR ที่สูง
มีหลายสาเหตุที่ทำให้ค่า ESR นั้นสูง เช่น
- ภาวะซีด
- โรคไต
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- Multiple myeloma
- อายุมาก
- ตั้งครรภ์
- Temporal arteritis
- โรคของต่อมไทรอยด์
- Waldenstrom’s macroglobulinemia
- โรคข้ออักเสบบางชนิด
ค่า ESR ที่สูงกว่าปกตินั้นอาจจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันตนเองเช่น
- Systemic lupus erythematosus
- โรคข้ออักเสบชนิดรูห์มาตอยด์
- Giant cell arteritis
- Polymyalgia rheumatica
- Primary macroglobulinemia
- มี fibrinogen ในเลือดสูงเกินไป
- Allergic หรือ necrotizing vasculitis
การติดเชื้อบางประเภทสามารถทำให้ตรวจพบค่า ESR สูงกว่าปกติได้เช่น
- การติดเชื้อที่กระดูก
- การติดเชื้อที่หัวใจ
- การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ
- ไข้รูห์มาติก
- การติดเชื้อที่ผิวหนัง
- การติดเชื้อในกระแสเลือด
- วัณโรค
ค่า ESR ที่ต่ำนั้นอาจจะหมายถึง
- หัวใจวาย
- Hypofibrinogenemia
- เม็ดเลือดขาวมาก
- มีโปรตีนในเลือดต่ำ
- ภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงรูปเคียว บางสาเหตุที่ทำให้เกิดค่า ESR ผิดปกตินั้นอาจจะรุนแรงกว่าสาเหตุอื่นๆ แต่สาเหตุส่วนมากนั้นไม่น่ากังวล ดังนั้นอย่าเพิ่งกังวลมากเกินไปหากมีผลการตรวจที่ผิดปกติ แต่ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาว่าอะไรที่เป็นสาเหตุที่ทำให้มีผลการตรวจที่ผิดปกติ