ไอลีออสโตมี

เผยแพร่ครั้งแรก 12 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 14 นาที
ไอลีออสโตมี

ไอลีออสโตมีคือการทำทางเบี่ยงสำไส้เล็กให้ออกมาจากหน้าท้อง ช่องเปิดดังกล่าวจะเรียกว่าสโตมา โดยจะมีการใช้ถุงชนิดพิเศษรองสโตมาเพื่อเก็บกักของเสียที่ต้องไหลออกไปยังลำไส้ใหญ่และออกไปยังทวารหนัก

ต้องดำเนินการผ่าตัดไอลีออสโตมีเมื่อใด?

ไอลีออสโตมีสามารถเป็นการรักษาแบบชั่วคราวหรือถาวรก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยเหตุผลที่ต้องดำเนินการไอลีออสโตมีมีดังต่อไปนี้:

  • เพื่อทำให้ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ฟื้นตัวเองหลังการผ่าตัดบางประเภท ยกตัวอย่างเช่นการผ่าตัดตัดนำลำไส้ใหญ่ออกเพื่อรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่
  • เพื่อบรรเทาอาการอักเสบที่ลำไส้ใหญ่ในกรณีผู้ป่วยโรคโครห์นหรือเป็นแผลเรื้อรังที่ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น
  • เพื่อดำเนินการผ่าตัดกับทวารหนักหรือหูรูดที่ซับซ้อนต่อไป

กระบวนการไอลีออสโตมี

ก่อนดำเนินการไอลีออสโตมี คุณจะได้พบพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสโตมาเพื่อชี้แจงถึงตำแหน่งบนหน้าท้องที่จะมีสโตมาโผล่ออกมา (มักเป็นบริเวณขวามือของหน้าท้อง) และเพื่อทำความเข้าใจถึงการใช้ชีวิตกับสโตมาหลังจากการผ่าตัด

ไอลีออสโตมีมีอยู่ 2 ประเภทหลักคือ

  • ลูปไอลีออสโตมี: ที่ซึ่งลูปลำไส้เล็กจะถูกดึงออกจากรอยกรีดที่หน้าท้องของคุณก่อนทำการปิดแผลและลำไส้ที่ยื่นออกมาให้ติดกับผิวหนังจนกลายเป็นสโตมา
  • ไอลีออสโตมีส่วนปลาย: ที่ซึ่งแพทย์จะนำลำไส้เล็กส่วนปลายหรือไอเลียมออกจากลำไส้ใหญ่และดึงออกผ่านช่องท้องจนกลายเป็นสโตมา

อีกวิธีคือการใส่ถุงเข้าภายในที่เชื่อมต่อไปยังทวารหนัก (ถุง ileo-anal) กรรมวิธีนี้จะไม่มีสโตมาและอุจจาระจะไหลออกจากรูทวารเหมือนปกติ

ไอลีออสโตมีส่วนปลายกับถุง ileo-anal จะเป็นการผ่าตัดถาวร ส่วนลูปไอลีออสโตมีมักจะดำเนินการเพื่อการรักษาช่วยคราว ซึ่งหมายความว่าจะมีการผ่าตัดกลับคืนในวันหลังนั่นเอง

ภายหลังการผ่าตัด

หลังการผ่าตัดไอลีออสโตมี คุณต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ระหว่างนี้คุณจะได้เรียนรู้วิธีการดูแลสโตมาของคุณจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสโตมา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การฟื้นตัวจากการผ่าตัดเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก หลายคนจะประสบกับปัญหาทั้งทางร่างกายและจิตใจระยะสั้น ๆ ตั้งแต่ความระคายเคืองที่ผิวหนังรอบสโตมาไปจนถึงความรู้สึกกังวลและความรู้สึกตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม ด้วยความช่วยเหลือสนับสนุนจากพยาบาลสโตมา ผู้ป่วยหลายคนจะสามารถปรับตัวและมีคุณภาพชีวิตหลังการผ่าตัดที่ดีมาก ซึ่งจะเห็นความแตกต่างทางบวกกับผู้ป่วยโรคโครห์นอย่างเห็นได้ชัด

ภาวะแทรกซ้อน

เช่นเดียวกับการผ่าตัดประเภทอื่น ๆ การผ่าตัดไอลีออสโตมีเองก็มีความเสี่ยงจะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่นกัน โดยปัญหาที่ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดไอลีออสโตมีมักจะประสบคือ:

  • ลำไส้ใหญ่อุดตัน: ที่ซึ่งเป็นการอุดตันจากของเสียจากระบบย่อยอาหาร
  • ภาวะขาดวิตามิน B12: เกิดมาจากการตัดบางส่วนของลำไส้ที่มีหน้าที่ดูดซับวิตามิน B12 ออก
  • ปัญหาที่สโตมา: อย่างเช่นการขยายออกหรือการตีบขอด ทำให้ติดเข้ากับถุงสโตมายากขึ้น

เหตุใดการผ่าตัดนี้จึงจำเป็น?

ไอลีออสโตมีจะต้องดำเนินการขึ้นหากลำไส้ใหญ่เกิดความเสียหาย อักเสบ หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ

โดยเหตุผลที่พบได้บ่อยครั้งจะถูกระบุไว้เบื้องล่าง

โรคโครห์น

โรคโครห์นคือภาวะโรคระยะยาวที่เป็นการอักเสบของระบบย่อยอาหาร โดยมีอาการดังนี้:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ท้องร่วง
  • ปวดช่องท้อง
  • เหนื่อยล้าอย่างรุนแรง

โรคโครห์นสามารถควบคุมได้ด้วยการใช้ยา สำหรับการผ่าตัดนั้นมีเพื่อเบี่ยงระบบย่อยอาหารให้ออกจากจุดที่อักเสบไปชั่วคราว เพื่อให้บริเวณดังกล่าวได้มีเวลาฟื้นตัว

กระเพาะอาหารเป็นแผลเรื้อรัง

แผลเรื้อรังที่กระเพาะอาหารเป็นภาวะระยะยาวที่ซึ่งผนังของลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่เกิดการอักเสบขึ้น โดยมีอาการดังนี้:

  • ท้องร่วงปนเลือด
  • ปวดช่องท้อง
  • ถ่ายอุจจาระบ่อย

ในกรณีส่วนมากแล้วจะสามารถควบคุมอาการต่าง ๆ ได้ด้วยยา สำหรับการผ่าตัดนั้นจะมีเพื่อนำลำไส้ใหญ่ออกและทำไอลีออสโตมีหรือใส่ถุง ileo-anal แทน (ถุงที่ใช้เก็บอุจจาระโดยต่อเข้ากับส่วนปลายของลำไส้เล็ก) ในกรณีที่ภาวะมีความรุนแรงหรือร่างกายไม่ตอบสนองต่อยา

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นมะเร็งประเภทหนึ่งที่เติบโตภายในลำไส้ใหญ่หรือเรคตัม โดยในตอนแรกจะมีการบำบัดเคมีหรือการบำบัดรังสี หรือทั้งสองอย่างเพื่อย่อขนาดมะเร็งก่อนการผ่าตัดนำส่วนของลำไส้ใหญ่ออกมา

การผ่าตัดไอลีออสโตมีเพื่อรักษามะเร็งอาจเป็นได้ทั้งแบบถาวรหรือชั่วคราว หรือเป็นแบบถุง ileo-anal ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของลำไส้ที่ต้องนำออกมา

ในกรณีที่อาจต้องใช้กระบวนการโคลอสโตมีแทน ซึ่งเป็นการผ่าตัดเบี่ยงลำไส้ใหญ่ออกจากหน้าท้อง

เหตุผลที่ต้องทำการผ่าตัดที่ไม่ค่อยพบเห็นนัก

เหตุผลที่ต้องดำเนินการผ่าตัดไอลีออสโตมีที่ไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนักมีดังนี้:

มะเร็งที่เกิดจากติ่งเนื้อมากในลำไส้

มะเร็งที่เกิดจากติ่งเนื้อมาก ๆ ในลำไส้ (FAP) เป็นภาวะโรคที่หายากที่ทำให้มีการเติบโตของติ่งเนื้อจำนวนมากภายในลำไส้ใหญ่

แม้ว่าในตอนแรกติ่งเนื้อเหล่านั้นจะไม่ใช่มะเร็ง แต่ก็มีความเสี่ยงสูงมากที่พวกมันจะพัฒนาจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยมากกว่า 99% ของผู้ที่มีภาวะ FAP จะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อมีอายุ 50 ปี

ด้วยความเสี่ยงที่สูงเช่นนี้ทำให้แพทย์แนะนำให้ผู้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น FAP ต้องเข้ารับการผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่ออก โดยมักจะแทนด้วยถุง ileo-anal หรือผ่าตัดไอลีออสโตมีแบบถาวรไปเลย

การอุดตันของลำไส้ใหญ่

การอุดตันของลำไส้ใหญ่เกิดขึ้นเมื่อส่วนของระบบย่อยอาหารเกิดการอุดตันของเศษอาหาร ของเหลว หรือของเสีย มักจะเกิดขึ้นหากระบบย่อยอาหารของคน ๆ นั้นมีการอักเสบหรือมีบาดแผลอยู่ก่อน หรืออาจจะมาจากการตีบตันของระบบย่อยที่ผิดธรรมชาติแต่แรก

หากลำไส้ใหญ่เกิดการอุดตันโดยสมบูรณ์ แพทย์ต้องทำกรผ่าตัดนำลำไส้ใหญ่ออกและดำเนินการไอลีออสโตมี ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบถาวรหรือชั่วคราว ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดการอุดตัน

การบาดเจ็บ

การบาดเจ็บที่ลำไส้อย่างการโดนกระแทกหรือถูกแทงจะทำให้ลำไส้เกิดความเสียหายขึ้นถาวร

ในกรณีเหล่านี้ ต้องทำการนำลำไส้ออกและดำเนินการไอลีออสโตมี ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งแบบถาวรหรือชั่วคราว ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและประเภทของบาดแผล

ไอลีออสโตมีถูกสร้างอย่างไร?

การผ่าตัดไอลีออสโตมีมีอยู่หลายวิธีการ ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดช่องเปิดที่หน้าท้องที่มีไว้ให้ของเสียออกจากร่างกายหลังการผ่าตัด (สโตมา) มักจะอยู่ที่ทางขวามือของหน้าท้อง

หากเป็นตำแหน่งนอกเหนือจากนี้ พยาบาลสโตมาที่เข้ามาพูดคุยกับคุณก่อนการผ่าตัดจะทำเครื่องหมายหรือแต้มจุดบนหน้าท้องของคุณเพื่อให้ศัลยแพทย์ทำการเจาะสโตมาออก ณ ตำแหน่งนั้น

ชนิดของไอลีออสโตมี

การผ่าตัดไอลีออสโตมีจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบกับคนไข้ ทำให้คุณนอนหลับไปตลอดการผ่าตัดโดยไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดระหว่างดำเนินการ

ไอลีออสโตมีมีอยู่ 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้:

ไอลีออสโตมีตอนปลาย

การผ่าตัดไอลีออสโตมีส่วนปลายเป็นการนำลำไส้ใหญ่ทั้งหมดออกมาผ่านทางช่องเปิดที่หน้าท้องส่วนปลายสุดของลำไส้เล็กที่เรียกว่าไอเลียมจะถูกแบ่งและดึงออกมาผ่านช่องที่หน้าท้องและถูกเย็บติดเข้ากับผิวหนัง ด้ายเย็บจะค่อย ๆ สลายไปเองเมื่อสโตมาเริ่มฟื้นฟูตัวเองตามกาลเวลา หลังการผ่าตัด ของเสียทั้งหมดจะออกมาผ่านช่องสโตมานี้ไปสู่ถุงที่ใช้คลุมสโตมา การผ่าตัดไอลีออสโตมีประเภทนี้มักดำเนินการเป็นการรักษาแบบถาวร

ลูปไอลีออสโตมี

การผ่าตัดลูปไอลีออสโตมีเป็นการดึงส่วนลูปของลำไส้เล็กออกจากช่องเปิดที่หน้าท้อง ส่วนของลำไส้นี้จะถูกเปิดคาไว้และถูกเย็บติดเข้ากับผิวหนัง กลายเป็นสโตมา โดยที่แพทย์จะปล่อยลำไส้ใหญ่และเรคตัมไว้ที่เดิม

ในกรณีนี้ สโตมาจะมีช่องเปิดสองช่อง แม้จะอยู่ใกล้กันมาก แต่คุณมักจะมองไม่เห็นทั้งสองช่อง ช่องเปิดหนึ่งช่องจะถูกเชื่อมต่อเข้ากับส่วนลำไส้ใหญ่ที่มีหน้าปฏิบัติงาน เพื่อให้ของเสียออกจากร่างกายทางสโตมาแทนช่องเปิดอีกช่องจะเชื่อมไปยังลำไส้ใหญ่ส่วนที่ “ไม่ทำงาน” ที่พาดยาวลงไปยังเรคตัมลูปไอลีออสโตมีมักเป็นการผ่าตัดแบบชั่วคราวและสามารถทำกลับคืนด้วยการผ่าตัดครั้งที่สองในวันหลังได้

ถุง Ileo-anal

ในบางกรณี แพทย์จะเลือกทำการผ่าตัดที่ใช้ถุง ileo-anal เข้าภายในร่างกายถาวร แทนการผ่าตัดไอลีออสโตมีถุง ileo-anal นี้จะสร้างมาจากไอเลียมและเชื่อมเข้ากับทวารหนัก เพื่อให้ของเสียออกจากร่างกายได้เหมือนปรกติ ถุงดังกล่าวจะเก็บของเสียไว้จนกว่าคุณจะเบ่งออกเมื่ออยู่ในห้องน้ำ

พื้นที่รอบถุงมักต้องรอให้ฟื้นตัวให้เรียบร้อยก่อนการใช้งานจริง ทำให้ต้องมีการทำลูปไอลีออสโตมีแบบชั่วคราวไว้เหนือถุง ส่วนการผ่าตัดแก้ไขลูปไอลีออสโตมีมักจะดำเนินการภายหลังจากนั้นไม่กี่เดือน

การฟื้นตัว

หลังการผ่าตัดไอลีออสโตมี คุณต้องพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่วัน เมื่อคุณฟื้นจากการผ่าตัด คุณจะถูกต่อเข้ากับตัวหยดยาเข้าเส้นเลือดดำ และสวมใส่หน้ากากออกซิเจนหรือท่อสวนจมูกเพื่อช่วยในการหายใจของคุณ อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกถอดออกก็ต่อเมื่อร่างกายคุณฟื้นขึ้นมาระดับหนึ่งแล้วเท่านั้น

แพทย์จะใช้ถุงชนิดพิเศษที่ช่องเปิดที่หน้าท้องของคุณ (สโตมา) โดยในช่วงแรก สโตมาจะมีขนาดใหญ่เนื่องจากอาการบวมหลังการผ่าตัด ซึ่งจะค่อย ๆ หดลงจนอยู่ในขนาดสุดท้ายประมาณ 8 สัปดาห์

พยาบาลสโตมา

ในขณะที่คุณกำลังพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาล จะมีพยาบาลสโตมาเข้ามาสอนวิธีดูแลสโตมาและการจัดการกับถุงกักเก็บของเสีย พวกเขายังสอนวิธีดูแลผิวหนังรอบสโตมาให้สะอาดตลอดเวลา และยังอธิบายอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ที่คุณต้องใช้ รวมไปถึงวิธีการจัดสำรองอุปกรณ์เหล่านั้นแก่คุณ

การกลับบ้าน

คุณอาจต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดไอลีออสโตมีประมาณ 2 อาทิตย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับกรณีบุคคลไป ทางพยาบาลสโตมาหรือศัลยแพทย์จะแนะนนำกิจกรรมที่คุณควรหลีกเลี่ยงระหว่างการพักฟื้นแก่คุณ โดยส่วนมากแล้วคุณจะสามารถดำเนินกิจกรรมปกติได้ภายใน 8 สัปดาห์ โดยที่เลี่ยงการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมาก ๆ นานถึง 3 เดือน

ช่องท้องของคุณจะรู้สึกปวดเมื่อยอย่างมากในช่วงการพักฟื้น แต่จะค่อย ๆ หายไปเอง คุณยังจะมีแก๊สภายในมากและอาจมีของเสียขับออกจากสโตมาโดยที่ควบคุมไม่ได้ในช่วงสัปดาห์แรก ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยหายไปเอง

ภาวะแทรกซ้อน

การผ่าตัดไอลีออสโตมีก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างภาวะแทรกซ้อนแก่คุณได้เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ โดยคุณจะได้รับคำชี้แจงจากแพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด โดยปัญหาหลักที่มักเกิดหลังการผ่าตัดไอลีออสโตมีหรือการเปลี่ยนถุง ileo-anal จะถูกอธิบายไว้ข้างล่างดังนี้:

การอุดตัน

ในบางกรณี ไอลีออสโตมีก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรเป็นในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ หลังการผ่าตัด ซึ่งภาวะเช่นนี้มักไม่ใช่เรื่องร้ายแรง แต่หากสโตมาของคุณยังคงไม่ทำงานนานกว่า 6 ชั่วโมง และคุณยังมีอาการปวดหรือคลื่นไส้ร่วมด้วย คุณต้องรีบแจ้งแพทย์ทันทีเนื่องจากอาจเป็นผลมาจากการอุดตันภายในร่างกาย

โดยทางแพทย์และพยาบาลสโตมาแนะนำว่า:

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแข็ง ๆ ซักระยะหนึ่ง
  • ดื่มน้ำมาก ๆ
  • นวดหน้าท้องและบริเวณใกล้สโตมาของคุณ
  • นอนหงาย ยกเข่าขึ้นมาบรรจบหน้าอก และกลิ้งไปมาทางข้างเป็นเวลาไม่กี่นาที
  • อาบน้ำร้อน 15-20 นาที เพื่อช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อท้อง

หากยังคงประสบกับอาการเจ็บรุนแรงอยู่ ควรไปพบแพทย์ผู้ดูแลหรือไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียงทันที เนื่องจากอาการรุนแรงเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณของการฉีกขาดของลำไส้ใหญ่

การขาดน้ำ

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมีจะมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากลำไส้ใหญ่ที่ถูกนำออกไปหรือที่ไม่ใช้งานมีหน้าที่ดูดซับน้ำจากเศษอาหาร ทำให้คุณต้องทำการดื่มน้ำปริมาณมากขึ้นเพื่อทำให้ปัสสาวะของคุณมีสีเหลืองอ่อน และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา อย่างเช่นภาวะนิ่วในไต หรือแม้แต่ภาวะไตล้มเหลว

ของเสียออกจากทวาร

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมีแต่ยังคงมีลำไส้ใหญ่อยู่มักประสบกับเหตุการณ์ที่มีของเสียที่เป็นมูกขับออกจากทวารหนัก

มูกดังกล่าวเป็นของเหลวที่ผลิตมาจากผนังลำไส้ใหญ่เพื่อใช้หล่อลื่นปัสสาวะ แม้คุณจะไม่ได้ใช้งานลำไส้ใหญ่อีกแล้วก็ตาม แต่อวัยวะยังคงทำหน้าที่ของมันอยู่ มูกจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่สีใสคล้ายไข่ขาว ไปจนถุงข้นเหนียวคล้ายกาว แต่หากมีหนองหรือเลือดปนออกมาด้วย ให้รีบติดต่อแพทย์ผู้ดูแลทันที เนื่องจากมูกเช่นนี้เป็นสัญญาณของการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อเสียหาย

หลายคนพบวิธีจัดการกับของเสียจากทวารคือการนั่งลงไปชักโครกหนึ่งครั้งต่อวัน และทำการเบ่งราวกับกำลังถ่ายหนักอยู่ การทำเช่นนี้ช่วยขับมูกที่ตกค้างอยู่ภายในเรคตัมได้

หากวิธีการดังกล่าวไม่ได้ผลหรือยากเกินไปให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์ เพราะคุณอาจต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม

ภาวะพร่องวิตามิน B12

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมีจะมีระดับวิตามิน B12 ลดลง โดยตัววิตามิน B12 นี้มีหน้าที่บำรุงสมองและระบบประสาทให้มีสุขภาพดี คาดกันว่าการลดลงของวิตามินตัวนี้เป็นผลมาจากการผ่าตัดนำลำไส้ที่มีหน้าที่ดูดซับวิตามิน B12 จากอาหารออก บางคน การลดลงของระดับวิตามิน B12 ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามิน B12

อาการของภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามิน B12 มีดังนี้:

  • มีอาการเหนื่อยล้าที่หาสาเหตุไม่ได้
  • หายใจติดขัด
  • รู้สึกเหมือนจะเป็นลม
  • หัวใจเต้นผิดปรกติ
  • ปวดศีรษะ
  • ได้ยินเสียงดังจากภายในร่างกายแทนภายนอก
  • ไม่อยากอาหาร

หากคุณได้รับการผ่าตัดไอลีออสโตมีและประสบกับอาการเหล่านี้ ให้ติดต่อแพทย์ผู้ดูแลในทันที โดยพวกเขาจะจัดการตรวจเลือดเพื่อหาระดับวิตามิน B12 ในร่างกายของคุณ

ห้ามเพิกเฉยต่อสัญญาณเหล่านี้เป็นอันขาด เนื่องจากภาวะโลหิตจางหรือภาวะพร่องวิตามิน B12 ที่ไม่ทำการรักษาเป็นเวลานานจะทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงต่อระบบประสาทได้ อย่างเช่นการสูญเสียความทรงจำ และความเสียหายที่ไขสันหลัง

หากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นภาวะโลหิตจางหรือภาวะพร่องวิตามิน B12 การรักษาก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย คือการได้รับวิตามินเสริมในรูปแบบของยาฉีดหรือยากิน

ปัญหาที่สโตมา

ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมีบางคนอาจประสบกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสโตมาได้ อย่างเช่น:

  • ความระคายเคืองและการอักเสบของผิวหนังรอบสโตมา
  • การตีบขอดของสโตมา
  • สโตมาเปิดกว้างเกินไป
  • อวัยวะภายในถูกดันออก ณ จุดที่กล้ามเนื้ออ่อนแอหรือที่ผนังเนื้อเยื่อโดยรอบ (ไส้เลื่อน)
  • สโตมาจมลงจนอยู่ใต้ระดับผิวหนังหลังการบวมครั้งแรกสุดหายไป
  • สโตมายื่นออกมามากเกินไป

หากคุณประสบปัญหาเหล่านี้ ให้ติดต่อแพทย์ผู้ดูแลให้เข้ามาทำการรักษาแก้ไขในทันที

การระคายเคืองที่ผิวหนังสามารถรักษาได้ด้วยยาทาหรือสเปรย์ผิวหนังทั่วไป แต่หากเป็นปัญหาทางกายภาพ คุณก็ต้องเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขสโตมาเสียใหม่

อาการเรคตัมหลอน

อาการเรคตัมหลอนเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดไอลีออสโตมี โดยจะมีอาการคล้ายกับภาวะปวดหลอนหลังการตัดอวัยวะแขนขาออก

ผู้ที่ภาวะเรคตัมหลอนจะรู้สึกอยากเข้าห้องน้ำแม้ว่าเรคตัมของพวกเขาจะใช้การไม่ได้ก็ตาม โดยจะมีความรู้สึกเช่นนี้ไปหลายปีหลังการผ่าตัด บางคนอาจบรรเทาได้ด้วยการนั่งบนชักโครกเฉย ๆ

การอักเสบหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่

การอักเสบหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่คือการที่ถุงภายในร่างกายเกิดการอักเสบขึ้น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยกับผู้ที่ทำการผ่าตัดถุง ileo-anal

อาการของการอักเสบหลังผ่าตัดลำไส้ใหญ่มีดังนี้:

  • ท้องร่วง ซึ่งอาจมีปนเลือดในบางครั้ง
  • ปวดช่องท้อง
  • ปวดท้องบิด
  • มีไข้สูง

หากคุณประสบกับอาการเช่นนี้และต้องสงสัยว่าตนเองมีการอักเสบภายในขึ้น ให้รีบติดต่อแพทย์ในทันที

การใช้ชีวิตร่วมกับไอลีออสโตมี

แม้ว่าการปรับตัวให้ชินกับไอลีออสโตมีเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่ไอลีออสโตมีก็ไม่ได้เข้าไปขัดขวางการใช้ชีวิตของคุณแต่อย่างใด หลายคนที่ผ่านการผ่าตัดไอลีออสโตมีพบว่าพวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าก่อนผ่าตัดเสียอีก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องประสบกับความกังวลหรือความไม่สบายเนื้อสบายตัวจากอาการต่าง ๆ อีกต่อไป

หากคุณรู้สึกว่าการปรับตัวหลังการผ่าตัดเป็นเรื่องยาก คุณก็สามารถติดต่อกับผู้ที่ผ่านประสบการณ์เดียวกับคุณเพื่อทำการปรึกษา หรือติดต่อกลุ่มช่วยเหลือต่าง ๆ ได้

อุปกรณ์ไอลีออสโตมี

ก่อนและหลังการผ่าตัดไอลีออสโตมี คุณจะได้พบพยาบาลสโตมาที่จะมาแนะนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คุณต้องใช้กับสโตมาของคุณ

ถุงสโตมา

สโตมาของคุณจะขับของเสียจากระบบย่อยอาหารเป็นของเหลวเสียส่วนใหญ่ ซึ่งถุงสโตมาจะมีไว้เพื่อรองรับของเสียนี้ ณ ปัจจุบันมีรูปแบบถุงสโตมามากมาย แต่ทางพยาบาลจะเป็นผู้เลือกประเภทที่เหมาะสมกับกรณีของคุณเอง

เพื่อลดความระคายเคืองที่ผิวหนัง ตัวถุงสโตมาจะผลิตมาจากวัสดุที่แทบไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ขึ้น และยังมีตัวกรองกลิ่นแบบพิเศษที่คุณจะมั่นใจได้ว่าการพกถุงสโตมาไปมาจะไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์กับคนรอบข้าง ถุงเหล่านี้ยังสามารถถ่ายของเสียออกได้ด้วยการเปิดก้นถุง และสามารถพกซ่อนไว้ใต้เสื้อผ้าได้ โดยควรทำการถ่ายถุงออกในแต่ละครั้งที่คุณเข้าห้องน้ำหรือทุก ๆ ครั้งที่ของเสียภายในถุงมีมากกว่าหนึ่งในสาม เพื่อไม่ให้ถุงพองออกจนสังเกตเห็นได้ แพทย์จะแนะนำให้คุณเปลี่ยนถุงใหม่และกำจัดถุงเก่าลงถังขยะทั่วไปทุก ๆ 1 หรือ 2 วัน ในช่วงแรก การใช้ชีวิตกับไอลีออสโตมีอาจเป็นเรื่องน่ากังวล ซึ่งต้องใช้เวลากว่าคุณจะชินไปเอง และด้วยความช่วยเหลือจากทางพยาบาลและครอบครัวของคุณ การใช้ถุงสโตมาจะกลายเป็นกิจวัตรประจำวันของคุณไปโดยปริยาย

อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ไอลีออสโตมีอื่นๆ

มีอุปกรณ์และเครื่องมือเพิ่มเติมที่ช่วยให้การใช้ชีวิตกับสโตมาและไอลีออสโตมีง่ายขึ้นดังนี้:

  • เข็มขัดรับและตัวหนีบ
  • ยาดับกลิ่นที่สามารถใส่เข้าอุปกรณ์ได้
  • สายปกป้องผิวหนัง
  • สเปรย์กำจัดคราบกาว
  • ตัวป้องกันสโตมา

โดยทีมรักษาของคุณจะเป็นผู้แนะนำอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมกับกรณีของคุณเอง

การจัดหาอุปกรณ์

คุณจะได้รับอุปกรณ์ (ถุงสโตมา) สำรองไว้จำนวนหนึ่งก่อนออกจากโรงพยาบาล รวมไปถึงข้อมูลการใช้ยาต่าง ๆ เพื่อให้คุณมอบให้กับแพทย์ให้พวกเขาบันทึกและจัดยาให้คุณในอนาคต

ข้อมูลดังกล่าวยังอาจถูกส่งไปให้เภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหาอุปกรณ์ให้พวกเขาส่งเครื่องใช้ที่จำเป็นมาให้แก่คุณ คุณควรทำการสำรองอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องใช้ไว้เพื่อในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ

การดูแลสโตมา

ในช่วงหลังการผ่าตัดไม่กี่สัปดาห์ คุณจะถูกแนะนำให้รับประทานอาหารกากใยต่ำเข้าไว้ เนื่องมาจากอาหารกากใยสูงจะทำให้อุจจาระมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงทำให้ลำไส้ใหญ่อุดตันได้ โดยหลังจากการผ่าตัดประมาณ 8 อาทิตย์ คุณจึงจะสามารถกลับไปรับประทานอาหารได้ตามปรกติ

ระหว่างการพักฟื้นร่างกาย พยายามรับประทานอาหารให้สมดุลและถูกหลักโภชนาการเข้าไป โดยเฉพาะผลไม้และผักสดหรืออย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน

หากคุณต้องการรับประทานอาหารประเภทใหม่หลังการผ่าตัด ให้ค่อย ๆ ทานทีละน้อย ๆ เพื่อให้คุณสามารถคาดเดาผลกระทบของอาหารชนิดนั้นที่มีต่อระบบย่อยของคุณ

คุณอาจทำบันทึกการรับประทานอาหารแต่ละประเภท และผลของอาหารประเภทนั้น ๆ ต่อระบบภายในของคุณ เพื่อเป็นการจดจำและหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท ยกตัวอย่างเช่นหากการทานอาหารเผ็ดหรือการดื่มแอลกอฮอล์ทำให้คุณท้องร่วงมาก่อน เป็นต้น

การขาดน้ำ

หากคุณไม่มีลำไส้ใหญ่อีกแล้ว คุณจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำสูงขึ้นมาก เนื่องจากหลักการทำงานประการหนึ่งของลำไส้ใหญ่คือการดูดซับน้ำและแร่ธาตุในอาหารเข้าไปสู่ร่างกาย

ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีอากาศร้อน หรือหลังการทำกิจกรรมหนึ่งติดต่อกันเป็นเวลานาน

แก๊สและกลิ่น

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด คุณจะพบว่าร่างกายผลิตแก๊สออกมามากกว่าปกติ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่ไม่มีอันตรายอะไรนอกจากทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ปัญหานี้จะค่อย ๆ หายไปตามการฟื้นตัวลำไส้ใหญ่เอง

การเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด และเลี่ยงรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สมากก็สามารถช่วยได้มาก อย่างเช่น:

  • ถั่ว
  • บล็อกโคลี่
  • กะหล่ำปลี
  • กะหล่ำดอก
  • หัวหอม
  • ไข่
  • น้ำอัดลมและเบียร์

แต่กระนั้นก็ไม่ควรหยุดทานอาหารที่มีประโยชน์ข้างต้นเพียงเพราะไม่อยากสร้างแก๊สในลำไส้ เนื่องจากจะทำให้สภาพร่างกายแย่กว่าเดิมได้

หลาย ๆ คนกังวลว่าถุงสโตมาอาจส่งกลิ่นได้ แต่ด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ทำให้ถุงสโตมามีตัวกรองที่มีถ่านอยู่ภายใน ซึ่งช่วยดูดกลิ่นได้ แต่หากจำเป็น คุณก็สามารถหาน้ำหรือผลิตภัณฑ์ที่สามารถใส่ในถุงสโตมาเพื่อกำจัดกลิ่นได้เช่นกัน

การใช้ยา

ยาหลายประเภทถูกออกแบบมาให้ค่อย ๆ ละลายในระบบย่อยอาหารอย่างช้า ๆ ทำให้ยาบางตัวอาจไม่แสดงฤทธิ์ของมันดีเท่าที่ควรกับผู้ป่วยที่ผ่านการทำไอลีออสโตมีมาแล้ว

หากคุณมีสโตมาติดอยู่ ต้องแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้พวกเขาจ่ายยาอีกประเภทแก่คุณ อย่างเช่นยาที่ไม่เคลือบ หรือยาน้ำ เป็นต้น

สำหรับผู้หญิง ไอลีออสโตมีส่งผลต่อยาเม็ดคุมกำเนิด ทำให้คุณต้องปรึกษากับแพทย์เพื่อหาวิธีคุมกำเนิดแบบอื่นแทน

การทำกิจกรรม

หลังจากที่ร่างกายของคุณฟื้นจากการผ่าตัดโดยสมบูรณ์แล้ว คุณก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามปรกติ รวมไปถึงการทำงาน เล่นกีฬา การมีเพศสัมพันธ์

ให้ทำความเข้าใจเวลาที่คุณจะสามารถกลับไปใช้ชีวิตปรกติกับแพทย์และพยาบาลยกตัวอย่างเช่นพวกเขาอาจแนะนำให้คุณสวมตัวป้องกันสโตมาระหว่างการเล่นกีฬา หรือสำรองอุปกรณ์ไอลีออสโตมีไว้ในกรณีที่ต้องเดินทาง เป็นต้น

การใช้ชีวิตร่วมกับถุง ileo-anal

การใช้ชีวิตกับถุง  ileo-anal จะแตกต่างจากกรณีผู้ป่วยไอลีออสโตมี เนื่องมาจากกระบวนการไม่ได้สร้างสโตมาออกจากหน้าท้อง แต่เป็นการกักเก็บของเสียภายในถุงที่อยู่ในร่างกายซึ่งจะขับออกมาทางทวารหนักในภายหลังแทน

หากคุณเป็นผู้ป่วยกลุ่มนี้ ในช่วงวันแรก ๆ คุณอาจต้องทำการถ่ายถุงภายในออกให้หมดมากถึง 20 ครั้งต่อวัน

แต่จำนวนครั้งที่คุณต้องเข้าห้องน้อยจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ตามการขยายตัวออกของถุงภายใน และความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อโดยรอบของร่างกายคุณ

ผู้คนส่วนมากจะควบคุมกิจกรรมของถุงภายในได้หลังผ่านไป 6 ถึง 12 เดือน ซึ่งการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่นี้จะแตกต่างกันไปตามบุคคล

การเพิ่มการควบคุมกล้ามเนื้อ

การออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ควบคุมการถ่ายอุจจาระสามารถช่วยทำให้การเข้าห้องน้ำง่ายดายขึ้นหากคุณมีถุง   ileo-anal ภายในร่างกาย อีกทั้งยังเป็นการลดจำนวนการรั่วซึมออกโดยไม่ตั้งใจของของเสียในช่วงสัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดได้อีกด้วย

นั่งหรือนอนลงกับพื้นในท่าสบายโดยแยกขาออกจากกันเล็กน้อย บีบรัดกล้ามเนื้อรอบทวารหนักราวกับกำลังกลั้นลมอยู่โดยไม่ขยับกล้ามเนื้อส่วนหลัง บีบไว้ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรืออย่างน้อย 2 วินาที และค่อย ๆ เพิ่มเป็น 10 วินาทีเมื่อคุ้นชินแล้วผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยระยะเวลาเดียวกันแล้วจึงทำซ้ำอีกครั้ง บีบรัดกล้ามเนื้อทวารเช่นนี้ให้ได้ 10 ครั้ง

ความปวดเมื่อยที่ทวาร

อาการปวดเมื่อยหรือความคันเป็นอาการที่พบเห็นได้ทั่วไปกับผู้ที่ผ่าตัดถุง   ileo-anal โดยการอาบน้ำบ่อย ๆ จะช่วยบรรเทาอาการได้ หรือจะใช้ครีมป้องกันผิวที่แพทย์แนะนำมาให้ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน

การผ่าตัดกลับคืนไอลีออสโตมี

หากแพทย์วางแผนว่าการทำไอลีออสโตมีแก่คุณเป็นเพียงการรักษาชั่วคราว แพทย์จะทำการผ่าตัดกลับคืนลำไส้ให้ในวันหลัง

โดยการผ่าตัดกลับคืนนี้จะดำเนินการเมื่อคุณมีสภาพร่างกายดีและหายจากภาวะต่าง ๆ หลังการผ่าตัดไอลีออสโตมีตอนแรกสุดแล้วเท่านั้น ซึ่งอาจมีระยะห่างระหว่างของกระบวนการนานหลายสัปดาห์หรือหลายปีก็ได้

ไอลีออสโตมีไม่มีเส้นเวลาจำกัด โดยผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดกลับคืนไอลีออสโตมีบางคนอาจต้องอยู่กับไอลีออสโตมีนานเป็นปี ๆ

การผ่าตัดลูปไอลีออสโตมีเป็นกระบวนการตรงไปตรงมาที่ดำเนินการโดยใช้ยาสลบกับคนไข้

โดยแพทย์จะกรีดผิวหนังโดยรอบสโตมาและส่วนที่ดึงลำไส้เล็กออกมาจากหน้าท้อง พื้นที่ที่เคยถูกตัดเบี่ยงจนเป็นสโตมาทั้งหมดถูกเย็บติดเข้าด้วยกันและยัดกลับเข้าช่องท้องตามเดิม

ในบางครั้งก็สามารถดำเนินการผ่าตัดกลับคืนกับไอลีออสโตมีส่วนปลายได้หากลำไส้ใหญ่ยังคงมีอยู่ภายในร่างกาย

อย่างไรก็ตาม ศัลยแพทย์ต้องทำการกรีดเข้าร่างกายใหญ่กว่าแบบแรก เพื่อหาตำแหน่งและจัดวางลำไส้ทั้งสองประเภทเข้าที่เดิม ทำให้การพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดกลับคืนจะใชเวลานานกว่าและมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่า

การพักฟื้นหลังการผ่าตัดกลับคืนไอลีออสโตมี

ผู้คนส่วนมากจะสามารถออกจากโรงพยาบาลหลังการผ่าตัดกลับคืนภายใน 3 ถึง 5 วัน ในขณะที่กำลังพักฟื้น คุณจะมีอาการท้องร่วงและต้องเข้าห้องน้ำบ่อยครั้งกว่าปรกติ

โดยปัญหานี้สามารถกินเวลาไปได้หลายสัปดาห์ก่อนจะทุเลาลง แต่ก็มีโอกาสที่ลำไส้ใหญ่ของคุณจะทำงานไม่เหมือนช่วงเวลาก่อนรับการผ่าตัดเช่นกัน

หากจำเป็นจริง ๆ ทางแพทย์จะจ่ายยาที่ช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงแก่คุณในระหว่างนี้ คุณอาจมีอาการปวดทวารหลังการผ่าตัดกลับคืนบ้าง ซึ่งจะค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อทวารชินกับการที่มีอุจจารระไหลผ่านอีกครั้ง ซึ่งระหว่างนี้คุณสามารถใช้ครีมป้องกันผิวบริเวณทวารหนักได้

การผ่าตัดกลับคืนมักมีกระบวนการน้อยกว่าการผ่าตัดไอลีออสโตมีแรกสุด แต่ก็ยังคงต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์กว่าร่างกายจะฟื้นกลับมาสมบูรณ์อยู่ดี


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ileostomy. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/ileostomy/)
Ostomy: Adapting to life after colostomy, ileostomy or urostomy. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/colon-cancer/in-depth/ostomy/art-20045825)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)