มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)

เผยแพร่ครั้งแรก 10 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)

มะเร็งทวารหนัก คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ทวารหนัก (อวัยวะส่วนปลายต่อจากลำไส้ใหญ่ไปจนถึงรูเปิดเพื่อขับถ่ายอุจจาระออกจากร่างกาย) ผู้ป่วยจะมีอาการ คือ มีเลือดออกจากทวารหนัก คันและปวดรอบๆ ทวารหนัก มีก้อนขนาดเล็กรอบๆ ทวารหนัก มีสารคัดหลั่งไหลออกจากทวารหนัก สูญเสียการควบคุมการทำงานของลำไส้ แต่ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการใดๆ หากคุณมีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม

บทนำ

โรคมะเร็งทวารหนัก (anal cancer) คือโรคมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อย เป็นมะเร็งของอวัยวะส่วนปลายของลำไส้ใหญ่ หรือที่เรียกว่าทวารหนัก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในประเทศสหราชอาณาจักรพบโรคมะเร็งทวารหนักน้อยกว่า 1,200 คน/ปี สำหรับประเทศไทยมีข้อมูลว่าพบโรคมะเร็งทวารหนักในผู้หญิง 0.1 รายต่อประชากรหญิง 100,000 ราย และในผู้ชายพบ 0.2 ราย ต่อประชากรชาย 100,000 ราย

อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก

อาการของโรคมะเร็งทวารหนักมักคล้ายๆ กันในผู้ป่วยแต่ละราย และเป็นโรคที่ไม่รุนแรงมากนัก เช่น มีก้อนหัวริดสีดวง และ มีแผลที่ทวารหนัก (รอยฉีดขาดหรือแผลเรื้อรัง)

อาการของโรคมะเร็งทวารหนัก ได้แก่:

  • เลือดออกจากทวารหนัก (rectal bleeding)
  • คันและปวดรอบๆ ทวารหนัก
  • มีก้อนขนาดเล็กรอบๆ ทวารหนัก
  • มีสารคัดหลั่งไหลออกจากทวารหนัก
  • สูญเสียการควบคุมการทำงานของลำไส้ (bowel incontinence)

อย่างไรก็ตามผู้ป่วยโรคมะเร็งทวารหนักบางรายไม่มีอาการใดๆ

ให้ไปพบแพทย์ทันทีที่มีอาการดังกล่าวข้างต้น แม้ว่าอาการดังกล่าวมีโอกาสน้อยที่จะเกิดจากมะเร็งทวารหนัก แต่การไปพบแพทย์คือสิ่งที่ดีที่สุด

การวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนัก

แพทย์จะถามเกี่ยวกับอาการที่คุณเป็นและทำการตรวจร่างกายให้กับคุณ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แพทย์จะทำการตรวจช่องท้องและตรวจทวารหนักให้กับคุณ (rectal examination) โดยแพทย์จะสวมถุงมือและสอดนิ้วเข้าไปทางรูทวารหนักเพื่อสัมผัสดูว่ามีสิ่งผิดปกติใดๆ ภายในทวารหนักหรือไม่ และหากจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมแพทย์จะส่งคุณไปรับการตรวจที่จำเป็นต่อไป

เมื่อคุณเดินทางมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลคุณจะได้รับการตรวจเพิ่มเติมหลายชนิดเพื่อวินิจฉัยโรคมะเร็งทวารหนักและวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการ

บางส่วนของการตรวจเพิ่มเติมที่แพทย์อาจให้คุณตรวจ ได้แก่:

  • การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy)-คือการตรวจโดยการใช้กล้องที่มีลักษณะเป็นท่อยาวโค้งงอได้สอดเข้าไปทางทวารหนักเพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในทวารหนัก
  • การส่องตรวจไส้ตรง (proctoscopy)-คือการส่องตรวจไส้ตรงด้วยอุปกรณ์ที่เป็นท่อและมีกล้อง proctoscope และแสงไฟที่ส่วนปลาย
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (biopsy)-คือการตัดเอาชิ้นเนื้อตัวอย่างขนาดเล็กออกจากบริเวณทวารหนัก ซึ่งทำระหว่างการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (sigmoidoscopy) หรือ การส่งตรวจไส้ตรง (proctoscopy) และนำเนื้อเยื่อนั้นไปตรวจในห้องปฏิบัติการภายในกล้องจุลทรรศน์

หากผลการตรวจระบุว่าคุณเป็นโรคมะเร็งทวารหนัก คุณอาจได้รับการตรวจสแกนเพิ่มเติมเพื่อดูว่าโรคมะเร็งแพร่กระจายไปหรือไม่ เมื่อตรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์จึงจะแจ้งให้คุณทราบได้ว่าคุณกำลังเป็นโรคมะเร็งทวารหนักในระยะใด ซึ่งสามารถให้เป็นคะแนนเพื่อบอกระดับความใหญ่ของมะเร็งและการกระจายของมะเร็งว่ามีมากน้อยเพียงใด 

จะรักษาโรคมะเร็งทวารหนักได้อย่างไร

ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคมะเร็งทวารหนัก คุณจะได้รับการดูแลโดยทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายสาขาทำงานร่วมกันเพื่อให้การรักษาและการดูแลที่ดีที่สุดกับคุณ

การรักษาหลักที่ใช้สำหรับรักษามะเร็งทวารหนัก ได้แก่:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา (chemoradiation)- คือการรักษาโดยใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
  • การผ่าตัด-เพื่อกำจัดเนื้องอกมะเร็ง หรือ ส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากโรคออก

ในผู้ป่วยที่มีอาการของโรครุนแรง และโรคมะเร็งได้แพร่กระจายไปแล้ว ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อาจพิจารณาให้ยาเคมีบำบัดอย่างเดียวเพื่อบรรเทาอาการ เราเรียกการรักษานี้ว่า การรักษาแบบประคับประคองตามอาการ (palliative care)

การรักษาหลักที่ใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งทวารหนัก มีรายละเอียดดังนี้

การใช้ยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา (chemoradiation)

การรักษาวิธีนี้จะใช้ยาเคมีบำบัด (ยาสำหรับทำลายเซลล์มะเร็ง) ร่วมกับ การใช้รังสีรักษา (การใช้รังสีเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง) เป็นการรักษามะเร็งทวารหนักที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน คุณมักไม่จำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลระหว่างการรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษามักจะรักษาทั้งหมด 2 รอบ (2 cycles) แต่ละรอบจะใช้เวลา 4-5 วัน และเว้นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ก่อนเริ่มการรักษาอีก 1 รอบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับยาเคมีบำบัดทางสายให้ยาที่เสียบไว้ที่หลอดเลือดที่แขน (peripherally inserted central catheter (PICC)) ซึ่งเป็นสายให้ยาที่จะเสียบคาไว้จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น

ซึ่งระหว่างการรักษาตัวในแต่ละรอบคุณก็ไม่จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล

มีโรงพยาบาลบางแห่งที่แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานยาเคมีบำบัดแทนยาฉีดเพื่อรักษามะเร็งทวารหนัก ทำให้ไม่จำเป็นต้องเสียบสายสำหรับให้ยา

การให้รังสีรักษา (radiotherapy) มักให้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ วันละครั้งตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ และหยุดพักการให้ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ซึ่งจะให้เป็นเวลานาน 5-6 สัปดาห์ ในการเตรียมพร้อมร่างกายสำหรับการรักษาด้วยรังสีรักษา ผู้ป่วยจะต้องได้รับการตรวจสแกนเพิ่มเติมก่อน

ทั้งยาเคมีบำบัดและรังสีรักษาสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ป่วย ได้แก่:

  • อ่อนเพลีย
  • เป็นแผลที่ผิวหนังรอบๆ ทวารหนัก
  • เป็นแผลที่รอบๆ อวัยวะเพศชายหรือถุงอัณฑะ หรือ รอบๆ แคมช่องคลอดในเพศหญิง
  • ผมร่วง-โดยผมที่ศีรษะจะร่วงไม่มาก แต่ขนที่บริเวณหัวหน่าวจะร่วงจนหมด
  • รู้สึกคลื่นไส้
  • ท้องเสีย

โดยทั่วไปแล้วผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะมีอาการเพียงชั่วคราว แต่คุณก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาในระยะยาวเช่นกัน เช่น ภาวะมีบุตรยาก (infertility) ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา คุณควรปรึกษาเรื่องดังกล่าวกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลท่านก่อนเริ่มต้นการรักษา

ผลข้างเคียงในระยะยาวอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่:

  • ปัญหาในการควบคุมการทำงานของลำไส้ใหญ่
  • ท้องเสียเรื้อรัง
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ (erectile dysfunction)
  • เจ็บบริเวณช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ผิวหนังรอบๆ ขาหนีบและทวารหนัก แห้ง และคัน
  • เลือดออกจากทวารหนัก, ลำไส้ใหญ่, ช่องคลอด และกระเพาะปัสสาวะ

หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น ให้แจ้งแพทย์ทราบ เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างเหมาะสม

การผ่าตัด

การผ่าตัดคือการรักษาทางเลือกที่ทำไม่บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งทวารหนัก มักแนะนำให้ทำการผ่าตัดเฉพาะกรณีที่ก้อนเนื้อมีขนาดเล็กและสามารถผ่าตัดนำออกได้ง่าย หรือทำเมื่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาแล้วไม่มีประสิทธิภาพมากพอ

หากก้อนเนื้อมะเร็งที่เห็นมีขนาดเล็กและมองเห็นได้ชัดเจนถึงขอบเขตของก้อนมะเร็ง แพทย์อาจทำการตัดออกด้วยวิธีที่เรียกว่า local excision โดยการส่องกล้องเข้าไปทางทวารหนักและตัดเอาเนื้อมะเร็งออก เป็นวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและมีการใช้ยาสลบระหว่างการทำ วิธีนี้มักต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นเวลาไม่กี่วัน

ถ้าการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษาไม่ประสบผลสำเร็จ หรือ มะเร็งกลับมาเป็นซ้ำหลังการรักษา แพทย์จะต้องใช้การผ่าตัดที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เรียกว่า abdominoperineal resection ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะต้องทำการผ่าตัดภายใต้การใช้ยาสลบ (general anaesthetic)

การผ่าตัดด้วยวิธี abdominoperineal resection จะทำการตัดลำไส้ใหญ่ ทวารหนัก  เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อที่อยู่รอบๆ และบางครั้งอาจต้องตัดต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆ นั้นออกด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาเป็นซ้ำ การผ่าตัดวิธีนี้จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนานถึง 10 วัน

ระหว่างการผ่าตัดจะมีการผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมาเปิดทางหน้าท้องเพื่อเป็นทางออกของอุจจาระ หรือเรียกว่า colostomy โดยรูเปิดที่หน้าท้องเรียกว่า stoma ซึ่งรูเปิด stoma จะต่ออยู่กับถุงเก็บอุจจาระชนิดพิเศษไว้สำหรับเก็บอุจจาระภายหลังการผ่าตัด

ก่อนและหลังการผ่าตัด คุณจะต้องพบกับพยาบาลผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำคุณสำหรับการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตภายหลังการผ่าตัด colostomy การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตภายหลังการผ่าตัด colostomy ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างมาก แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็คุ้นเคยกับมันเมื่อเวลาผ่านไป 

การติดตามผลการักษา (follow-up)

เมื่อสิ้นสุดคอร์สการรักษามะเร็ง คุณจะได้รับการตรวจติดตามอาการเป็นประจำเพื่อติดตามการฟื้นฟูสภาพร่างกายและเพื่อตรวจเช็คว่ามีอาการแสดงใดๆ ของมะเร็งกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่

ในช่วงแรก แพทย์จะนัดหมายคุณทุก 2-3 สัปดาห์ หรือทุกเดือน และเมื่อเวลาผ่านไป แพทย์จะค่อยๆ นัดหมายห่างออกไป

สาเหตุของโรคมะเร็งทวารหนักคืออะไร?

สาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งทวารหนักยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ ได้แก่:

  • การติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยและมักไม่เป็นอันตราย ติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ โดยไวรัสนี้จะส่งผลต่อเยื่อบุภายในร่างกาย
  • การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หรือมีคู่นอนหลายคน- เพราะการกระทำดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
  • มีประวัติเป็นมะเร็งปากมดลูก, มะเร็งช่องคลอด หรือมะเร็งปากช่องคลอด
  • การสูบบุหรี่
  • เป็นผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ตัวอย่างเช่น เป็นผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV)

ความเสี่ยงของคุณในการป่วยเป็นโรคมะเร็งทวารหนักจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุของคุณ ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคมะเร็งทวารหนักพบในผู้ที่อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป 

ภาพอนาคตของโรคมะเร็งทวารหนัก

อนาคตของผู้ป่วยโรคมะเร็งทวารหนักจะขึ้นกับความรุนแรงของโรค ณ ขณะทำการวินิจฉัย หากวินิจฉัยเร็ว อนาคตของผู้ป่วยคนนั้นจะดีกว่าคนที่วินิจฉัยช้า

หากเปรียบเทียบโรคมะเร็งทวารหนักกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ พบว่าอนาคตของผู้ป่วยโรคมะเร็งทวารหนักจะดีกว่ามะเร็งชนิดอื่นๆ เพราะการรักษามักมีประสิทธิภาพดี ประมาณ 66% ของผู้ป่วยมะเร็งทวารหนักจะมีชีวิตยืนยาวอย่างน้อย 5 ปีหลังการวินิจฉัยโรค และส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ยืนยาวกว่านี้

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/cancer/cancer-types-in-adults/anal-cancer


19 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Anal cancer: Symptoms, causes, and treatments. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/156549)
Anal Cancer: Causes, Symptoms, and Treatment. Healthline. (https://www.healthline.com/health/anal-cancer)
Anal Cancer. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/analcancer.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป