การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) นั้นเป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเช่นอัตราเร็วในการบีบตัวของหัวใจไปจนถึงความสามารถในการนำคลื่นไฟฟ้าของผนังหัวใจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นสามารถแปลความได้หลายอย่าง บางครั้งการผิดปกตินั้นก็เป็นลักษณะที่อยู่ในเกณฑ์ปกติของการเต้นของหัวใจซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อสุขภาพของคุณ แต่บางครั้งการมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นก็อาจแสดงถึงภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์เช่นภาวะหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตราย
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมในการอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นสามารถแปลผลจากคลื่นดังกล่าวเพื่อระบุว่าคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อหรือไม่
การทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เครื่องที่ใช้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นมักจะเป็นเครื่องที่มี lead ทั้งหมด 12 lead ซึ่งอาจจะมีลักษณะเป็นสายยาวที่ติดกับแผ่นนำไฟฟ้า lead เหล่านี้จะต้องวางในตำแหน่งที่เหมาะสมรอบๆ หัวใจและบนแขนและขา เพื่อรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากหลายทิศทาง การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นไม่เจ็บ และไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้า ส่วนมากมักจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที
เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นไม่ได้มีกระแสไฟฟ้า แต่ทำหน้าที่วัดคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้น
โดยปกติแล้ว หัวใจจะมีการสร้างคลื่นไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนขวาไปยังบนซ้าย ก่อนที่จะลองไปที่ atrioventricular (AV) node ซึ่งส่งสัญญาณให้หัวใจห้องล่างบีบตัว กระแสไฟฟ้านี้จะถูกส่งต่อไปที่ bundle of His ก่อนแยกเป็นเส้นใยที่นำกระแสไฟฟ้าไปยังหัวใจห้องล่างซ้ายและล่างขวา
อะไรก็ตามที่ส่งผลต่อเส้นทางการนำคลื่นไฟฟ้าดังกล่าวนั้นล้วนแต่ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของหัวใจ และสามารถตรวจพบได้จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติแสดงถึงอะไร
เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นเป็นการวัดการทำงานของหัวใจในหลากหลายด้าน ดังนั้นผลที่ผิดปกตินั้นจะช่วยระบุความผิดปกติต่างๆ เช่น
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ความผิดปกติของรูปร่างและขนาดของหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นสามารถบอกได้ว่าผนังของหัวใจด้านใดที่มีขนาดใหญ่กว่าด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าหัวใจนั้นอาจจะทำงานมากกว่าปกติในการสูบฉีดเลือด
ความผิดปกติของเกลือแร่ แร่ธาตุต่างๆ นั้นสามารถนำคลื่นไฟฟ้าในหัวใจและทำให้กล้ามเนื้อหัวใจนั้นทำงานเป็นจังหวะ ตัวอย่างเช่นโพแทสเซียม แคลเซียมและแมกนีเซียม หากระดับแร่ธาตุเหล่านี้นั้นไม่สมดุล ก็อาจจะมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้
หัวใจขาดเลือด ในระหว่างที่เกิดภาวะหัวใจขาดเลือด จะไม่มีเลือดมายังหัวใจและทำให้เนื้อเยื่อหัวใจนั้นเริ่มขาดออกซิเจนและเริ่มตาย ซึ่งทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติได้ ภาวะหัวใจขาดเลือดนั้นยังสามารถทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติอีกด้วย
อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ อัตราการเต้นของหัวใจที่ปกตินั้นอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้งต่อนาที การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นสามารถระบุได้ว่าหัวใจกำลังเต้นเร็วหรือช้าเกินไปหรือไม่
ความผิดปกติของจังหวะการเต้นหัวใจ โดยปกติแล้วหัวใจมักจะเต้นเป็นจังหวะที่สม่ำเสมอ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจนั้นสามารถระบุได้ว่าหัวใจกำลังมีจังหวะการเต้นที่ผิดปกติหรือลักษณะที่ผิดปกติหรือไม่
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การใช้ยาบางชนิดสามารถส่งผลต่ออัตราการเต้นและจังหวะของหัวใจได้ ในบางครั้ง ยาที่ให้เพื่อทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจนั้นดีขึ้น อาจจะส่งผลให้เกิดหัวใจเต้นผิดตังหวะได้ ตัวอย่างของยาที่สามารถส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจเช่น ยาในกลุ่ม beta blockers, sodium channel blockers และ calcium channel blockers
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
มีอาการหลายอย่างที่บ่งบอกว่าคุณควรไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อดูว่าหัวใจของคุณยังทำงานเป็นปกติหรือไม่ หากคุณมีอาการต่อไปนี้ควรไปพบแพทย์ทันที
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- หายใจลำบาก
- ใจสั่นหรือรู้สึกหัวใจเต้นผิดปกติ
- รู้สึกว่าจะเป็นลม
- หัวใจเต้นเร็ว
- รู้สึกเหมือนว่าหน้าอกนั้นถูกบีบ
- อ่อนแรงฉับพลัน
การรักษาทางการแพทย์
การรักษาตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกตินั้นมักจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่ช้ามากจากการที่หัวใจนั้นมีการสร้างกระแสสัญญาณไฟฟ้าที่ผิดปกติ อาจจะต้องมีการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจเพื่อช่วยให้หัวใจนั้นเต้นในจังหวะที่เหมาะสม
ในขณะที่หลายๆ คนมักจะต้องรับประทานยาเป็นประจำเพื่อทำให้หัวใจนั้นเต้นสม่ำเสมอ
ผู้ที่มีภาวะหัวใจขาดเลือดอาจจะต้องมีการสวนเส้นเลือดหัวใจหรือผ่าตัดเพื่อให้มีเลือดไหลเวียนไปยังหัวใจ
ผู้ที่มีภาวะเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลนั้นอาจจะต้องได้รับการรักษาด้วยยาหรือสารน้ำ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ขาดน้ำนั้นอาจจะมีเกลือแร่ที่ไม่สมดุลที่ทำให้เกิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ และอาจจะต้องได้รับสารน้ำ เครื่องดื่มเกลือแร่ หรือยาเพื่อปรับให้เกลือแร่นั้นอยู่ในเกณฑ์ปกติ บางครั้งแพทย์อาจจะไม่แนะนำการรักษาในผู้ป่วยบางรายที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ เช่นในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการที่รุนแรงหรือความผิดปกตินั้นไม่น่ากังวล