ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตจากความเครียด: สาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด

เผยแพร่ครั้งแรก 15 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตจากความเครียด: สาเหตุหนึ่งของการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด

ภาวะหัวใจขาดเลือดส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการที่เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจนั้นเกิดการอุดตันจากการรวมตัวของลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นหลังจาก cholesterol ที่สะสมอยู่ในผนังหลอดเลือดนั้นเกิดการแตกออก ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจและทำให้เกิดภาวะหัวใจขาดเลือดตามมา

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แพทย์ได้เริ่มให้ความสนใจและพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหัวใจวายที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ มากขึ้น ภาวะนี้เรียกว่า takotsubo cardiomyopathy หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจโตจากความเครียด โดยตั้งชื่อตามแพทย์ชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นคนแรกที่ทำการศึกษาเรื่องนี้นั้นได้อธิบายว่าในช่วงที่ร่างกายเกิดภาวะนี้ จะทำให้หัวใจนั้นมีลักษณะคล้ายกับหม้อของชาวญี่ปุ่นที่ใช้ในการดักจับปลาหมึก ภาวะนี้เชื่อว่าเกิดจากการเกิดความเครียดทางอารมณ์อย่างเฉียบพลัน เช่นการเสียชีวิตของบุตร และมีอันตรายน้อยกว่าภาวะหัวใจขาดเลือดแบบปกติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

วารสาร New England Journal of Medicine ได้ตีพิมพ์งานวิจัยขนาดใหญ่ที่ทำการศึกษาผู้ป่วยภาวะนี้ 1759 คน และพบว่า 90% ของผู้ป่วยนั้นเป็นผู้หญิง โดยอายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าร่วมงานวิจัยนั้นอยู่ที่ 67 ปี ปัจจัยที่พบบ่อยที่สุดที่กระตุ้นให้เกิดภาวะดังกล่าวคือปัญหาทางกาย (เช่นปัญหาเกี่ยวกับปอดหรือมีการติดเชื้อ) และปัจจัยที่พบบ่อยอันดับถัดมาคือการที่เกิดอาการช็อกทางอารมณ์ แต่ก็มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถระบุปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะนี้ได้

จากการเปรียบเทียบผู้ป่วยที่เป็นหัวใจขาดเลือดแบบปกติกับผู้ป่วยที่มีภาวะนี้นั้น พบว่าผู้ป่วยที่เป็น takotsubu cardiomyopathy นั้นมีโอกาสมากกว่ากลุ่มแรกประมาณ 2 เท่าในการเกิดโรคความผิดปกติทางระบบประสาทหรือโรคทางจิตเวช และอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มนั้นไม่แตกต่างกัน ซึ่งขัดแย้งกับความเชื่อในอดีต

และเมื่อแพทย์และผู้ป่วยมีการให้ความสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มากขึ้นในปัจจุบัน ก็จะทำให้ตรวจพบผู้ป่วยที่มีภาวะนี้เพิ่มขึ้นในอนาคต ภาวะนี้ไม่ได้พบได้น้อยและไม่อันตรายอย่างที่เคยเชื่อ และจำเป็นต้องมีการทำการศึกษาและวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาวิธีในการดูแลผู้ป่วยภาวะนี้ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพในอนาคต ในปัจจุบัน แพทย์มีการใช้ยาชนิดเดียวกับการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือดทั่วไป แต่ก็ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับขนาดของยาที่เหมาะสมต่อการรักษาโรคนี้ค่อนข้างน้อย ยิ่งไปกว่านั้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางระบบประสาทและจิตเวชนั้นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องศึกษาและอาจจะแสดงว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงอาการของโรคและภาวะทางอารมณ์ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับโรคอื่นๆ ของหัวใจได้อีกเช่นกัน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Core conditioning — It's not just about abs. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/healthbeat/core-conditioning-its-not-just-about-abs)
Stressed Out Belly: Causes, Risks, Treatment, and Prevention. Healthline. (https://www.healthline.com/health/stressed-out-belly)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป