วิธีการใช้ยาแอสไพรินในการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด : เคี้ยวหรือกลืน?

เผยแพร่ครั้งแรก 13 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
วิธีการใช้ยาแอสไพรินในการรักษาภาวะหัวใจขาดเลือด : เคี้ยวหรือกลืน?

วิธีการรักษาเบื้องต้นเพื่อลดการเกิดลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นจากการที่ไขมันที่สะสมที่หลอดเลือดเกิดการแตกออก

คุณจะทำอย่างไรหากก่อนหน้านี้คุณแข็งแรงดีมาโดยตลอดจนกระทั่งวันหนึ่ง คุณเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอกด้านซ้าย ร้าวไปที่กรามและไหล่ ซึ่งอาจเป็นอาการของภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน นอกจากการไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็วแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่คุณต้องทำคือรับประทานยาแอสไพริน แต่ว่าคุณจะรับประทานมันอย่างไร จะเคี้ยวหรือกว่ากลืน?

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบหลัน

ภาวะหัวใจขาดเลือดเป็นภาวะที่ต้องรักษาแข่งกับเวลา และยิ่งได้รับการรักษาเร็วมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งจำกัดความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายได้มากเท่านั้น เมื่อคุณเรียกรถฉุกเฉิน พยาบาลและผู้ช่วยจะให้ออกซิเจนและยาแก่คุณ พร้อมๆ กับการติดตามระดับความดันและการเต้นของหัวใจเพื่อดูภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างทาง และเมื่อถึงโรงพยาบาล แพทย์จะทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจและตรวจเลือดเพื่อดูว่าคุณมีภาวะหัวใจขาดเลือดจริงหรือไม่ และหากเป็นจริงก็จะได้พิจารณาวิธีการรักษาในลำดับต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ภาวะหัวใจขาดเลือดเกิดจากการที่ไขมันที่เกิดจากการสะสมของ cholesterol ที่ผนังหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจนั้นเกิดแตกออก เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น จะทำให้เกล็ดเลือดมารวมตัวกันที่บริเวณดังกล่าวกลายเป็นลิ่มเลือดเพื่อช่วยหยุดเลือดที่ออก ซึ่งหากลิ่มเลือดเหล่านี้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดแดงเส้นนั้นได้ซึ่งหากเกิดการอุดตันโดยสมบูรณ์ก็จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่อยู่ปลายต่อจุดที่เกิดการอุดตันนั้นไม่ได้รับออกซิเจน และทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้ตายในเวลาต่อมา

แอสไพรินเป็นยาที่ช่วยยับยั้งการรวมกลุ่มของเกล็ดเลือด และร่างกายต้องการยาในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้นก็จะสามารถยับยั้งเกล็ดเลือดดังกล่าวได้ แต่เนื่องจากลิ่มเลือดนั้นสามารถโตขึ้นได้เรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดขึ้นจึงต้องรีบรับประทานยาแอสไพรินให้เร็วที่สุด

นักวิจัยได้ทำการศึกษาถึงวิธีการที่จะทำให้แอสไพรินออกฤทธิ์ได้เร็วที่สุดก่อนที่จะพบว่าการเคี้ยวยานั้นมีประสิทธิภาพมากที่สุด

นอกเหนือจากการรักษาแล้ว แอสไพรินยังป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้อีกด้วย

แอสไพรินสามารถช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดในผู้ชายที่ป่วยที่เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจและอายุมากกว่า 50 ปีได้ โดยผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรได้รับยาในขนาดระหว่าง 81-325 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ในผู้ป่วยที่คิดว่าตนเองกำลังมีภาวะหัวใจขาดเลือดอย่างฉับพลัน ควรได้รับแอสไพรินขนาด 325 มิลลิกรัมอย่าเร็วที่สุด และไม่ควรใช้ยาชนิดที่ออกฤทธิ์ได้นานกว่าปกติเพราะจะออกฤทธิ์ได้ช้ากว่า หากคุณสงสัยว่าตนเองกำลังมีภาวะหัวใจขาดเลือด อย่าลืมโทรเรียกรถฉุกเฉินทันที


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Does aspirin stop a heart attack?. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/does-aspirin-stop-a-heart-attack)
Aspirin and heart disease. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000092.htm)
Aspirin: low dose to prevent heart attacks and stroke. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/medicines/low-dose-aspirin/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป