กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงคืออะไร ครอบคลุมโรคอะไร และมีเจ้าไหนบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 5 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 29 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ประกันสุขภาพโรคร้ายแรงคืออะไร ครอบคลุมโรคอะไร และมีเจ้าไหนบ้าง

วิธีลดความเสี่ยงในการจ่ายค่ารักษาพยาบาล ในกรณีที่มีความเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต นั่นคือการทำประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เพราะถ้าหากเป็นโรคใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องสูญเสียเงินที่เก็บออมไว้คราวละมากๆ ซึ่งแต่ละบริษัทประกันได้มีการให้บริการการประกันเกี่ยวกับโรคร้ายแรงนี้ โดยจะแยกออกมาจากประกันสุขภาพทั่วไป มีการครอบคลุมตั้งแต่ 20 โรคไปจนถึง 44 โรคเลยทีเดียว

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง คืออะไร?

ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (ECIR) คือ กรมธรรม์ที่เป็นฉบับของผู้เอาประกันทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการประกันสุขภาพแบบธรรมดา ซึ่งจะครอบคลุมโรคร้ายแรงต่างๆ ที่สร้างความเจ็บปวดรุนแรงจนสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยการรักษาอาจจะต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์เฉพาะทางที่มีความซับซ้อน และใช้เวลารักษาค่อนข้างนาน รวมถึงมีค่าใช้จ่ายสูง อันได้แก่

  1. โรคมะเร็ง การคุ้มครองโรคมะเร็งอาจจะไม่เหมือนกัน โดยบางบริษัทคุ้มครองตั้งแต่ระยะแรกที่ตรวจพบ ในขณะที่อีกบริษัทคุ้มครองขณะทำเคมีบำบัดหรือระยะที่ 3 – 4 เป็นต้นไป
  2. เนื้องอกเฉพาะในสมองที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง
  3. กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยเกิดจากการไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยงและหยุดเต้นโดยฉับพลัน
  4. กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ ซึ่งมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะจนทำให้หัวใจวาย
  5. ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
  6. ผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนใหญ่จะเริ่มคุ้มครองเมื่อกรมธรรม์ครบ 90 วัน
  7. ผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ ส่วนใหญ่จะเริ่มคุ้มครองเมื่อกรมธรรม์ครบ 90 วัน
  8. ความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูง
  9. โรคปอดระยะสุดท้าย
  10. โรคโลหิตจางที่ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดแดงได้
  11. โรคหลอดเลือดสมองตีบ
  12. ผ่าตัดสมองจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง
  13. การสลบหรือหมดสติสัมปชัญญะ
  14. โรคอัลไซเมอร์
  15. โรคเยื่อหุ้มสมองและไขมันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
  16. โรคสมองอักเสบจากเชื้อไวรัส
  17. โรคพาร์กินสัน
  18. โรคปลอกประสาทอักเสบ โดยจะมีอาการเป็นเหน็บชาจนไม่สามารถทรงตัวได้
  19. โรคเซลล์ประสาทยนต์
  20. ภาวะสมองไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้
  21. โรคอัมพาต
  22. โรคโปลิโอ
  23. โรคกล้ามเนื้อเสื่อม
  24. การปลูกถ่ายอวัยวะ
  25. ตับวาย
  26. ไตวาย
  27. ตับอักเสบชนิดรุนแรง
  28. ตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง
  29. ลำไส้อักเสบเป็นแผล
  30. โรคแพ้ภูมิตนเอง (SLE)
  31. รูมาตอยด์ชนิดรุนแรง
  32. โรคไข้รูมาติกที่ทำให้หัวใจผิดปกติ
  33. โรคคาวาซากิ
  34. โรคเบาหวานชนิดต้องใช้อินซูลิน
  35. โรคน้ำไขสันหลังในสมองมาก เกิดภายหลังและต้องใส่ท่อระบาย
  36. ศีรษะบาดเจ็บรุนแรง
  37. แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก
  38. การฉีกขาดหลายรากของข่ายประสาท
  39.  การสูญเสียความสามารถในการพูด
  40. เป็นเนื้อตายและเนื้อเยื่อพังผืดอักเสบ
  41. ตาบอด
  42. โรคเท้าช้าง
  43. ภาวะทุพพลภาพทั้งหมดอย่างถาวรตั้งแต่ช่วงอายุ 17 – 59 ปี
  44. ภาวะทุพพลภาพถาวรชนิดร่างกายไม่สามารถทำอะไรได้

บริษัทประกันภัยที่คุ้มครองครบ 44 โรค

บริษัทประกันภัยที่ให้ความคุ้มครอง 44 โรค ซึ่งกรมธรรม์ประเภทประกันสุขภาพโรคร้ายแรงนี้จะต้องซื้อแนบกับกรมธรรม์ประกันสุขภาพหลักทุกครั้งเสมอ มีดังต่อไปนี้

  1. เอ.ไอ.เอ ให้ความคุ้มครองครอบคลุมถึง 44 โรคร้าย โดยมีการชำระเบี้ยเป็นรายปี ระยะเวลาคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 80 ปี
  2. ไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองถึง 44 โรคร้าย โดยจะจ่ายทันทีที่ตรวจพบ ตั้งแต่อายุ 20 – 65 ปี การรับผลประโยชน์จะแยกตามกลุ่มโรค ระยะเวลาคุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 80 ปี
  3. เมืองไทยประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้นมากถึง 36 โรค โดยแยกตามแต่ละกลุ่มโรคและช่วงอายุ
  4. กรุงเทพประกันชีวิต ให้ความคุ้มครอง 17 โรคร้าย โดยให้ความคุ้มครองตั้งแต่อายุ 15 – 65 ปี อีกทั้งยังคุ้มครองกรณีที่ไม่ได้เสียชีวิตด้วย 17 โรคร้ายนี้อีกด้วย

การซื้อประกันไม่ว่าประเภทใดๆ ก็ตาม รวมถึงประกันสุขภาพโรคร้ายแรงด้วยเช่นกัน ผู้เอาประกันควรจะต้องซื้อจากตัวแทนที่ไว้ใจได้และให้ข้อมูลอย่างละเอียด แม้ว่าจะเป็นการซื้อประกันชนิดเดียวกัน แต่เงื่อนไขและผลตอบแทนรวมทั้งรายละเอียดของแต่ละบริษัทมักจะไม่เหมือนกัน ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาข้อมูลและตีความหมายในกรมธรรม์ให้รอบคอบก่อนตกลงซื้อ ผลประโยชน์ที่ได้รับจึงจะคุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่ลงทุนซื้อไป


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เคล็ดลับการประหยัดเงินจากประกันสุขภาพ
เคล็ดลับการประหยัดเงินจากประกันสุขภาพ

ประหยัดเงินจากประกันสุขภาพเพื่อช่วยให้งบประมาณของคุณมีความสมดุล

อ่านเพิ่ม
ประกันสุขภาพกับประกันชีวิต แตกต่างกันอย่างไร
ประกันสุขภาพกับประกันชีวิต แตกต่างกันอย่างไร

รู้จักและเข้าใจ "ประกัน" แต่ละประเภท เพื่อประโยชน์สุงสุดของตัวคุณเองก่อนตัดสินใจซื้อ

อ่านเพิ่ม