บทนำ
โคลพิโดเกรล (clopidogrel) เป็นยาต้านเกล็ดเลือด ซึ่งจะเป็นยาที่ลดความเสี่ยงของการเกิดเลือดแข็งตัว โดยทั่วไปหากมีบาดแผลหรือมีการฉีดขาดของเส้นเลือดขนาดเล็ก จะเกิดการแข็งตัวของเลือดบริเวณบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหลจนกว่าเส้นเลือดที่ฉีกขาดนั้นจะหายดี
ในเลือดจะเซลล์ขนาดเล็กเรียกว่าเกล็ดเลือดซึ่งจะช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือด เมื่อมีบาดแผลเซลล์เกล็ดเลือดจะสร้างสารเคมีเพื่อเสริมสร้างการก่อตัวของเกล็ดเลือดและทำให้เซลล์เกล็ดเลือดเหล่านั้นผสานตัวกันเกิดเป็นลิ่มเลือดที่แข็งตัวหยุการไหลของเลือดบริเวณบาดแผลได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ยาโคลพิโดเกรลจะช่วยลดการผสานตัวกันของเซลล์เกล็ดเลือดและลดการแข็งตัวของเลือดได้ซึ่งจะลดความเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดอุดตันหรือหัวใจวายได้
จะใช้ยาโคลพิโดเกรลเมื่อใด
แพทย์จะเริ่มให้ยาโคลพิโดเกรลในผู้ที่มีอาการดังนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- กลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (acute coronary syndrome, ACS)
- โรคหลอดเลือดสมอง (stroke)
- มีการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด (Coronary stent)
- เคยผ่าตัดเปิดช่องอกหรือหัวใจ
ยาโคลพิโดเกรลและยาแอสไพรินขนาดต่ำ
บางรายแพทย์อาจให้ยาโคลพิโดเกรลและยาแอสไพรินขนาดต่ำร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาแต่จะเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดไหลในช่องท้องได้ โดยความเสี่ยงนี้จะมีเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ โดยการให้ยาสองชนิดนั้นอาจจะให้เพียงระยะสั้น ไม่เกิน 12 เดือน
สิ่งที่ควรพิจารณาในการใช้ยาโคลพิโดเกรล
หากท่านมีปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หรือโรคผิดปกติเกี่ยวกับโรคบางชนิด ท่านไม่ควรใช้ยาโคลพิโดเกรล นอกจากได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ควรใช้ยาโคลพิโดเกรลด้วยความระมัดระวังหากท่านมีปัญหาโรคตับหรือโรคไต โดยห้ามใช้ยาในผู้ที่อายุต่ำกว่า 16 ปี และไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
การลืมกินยาหรือใช้ยาเกินขนาด
หากลืมกินยาโคลพิโดเกรล ให้รีบกินยาทันทีที่นึกได้และกินยามื้อต่อไปตามปกติ แต่หากนึกขึ้นได้ใกล้การกินยามื้อถัดไปแล้ว ไม่ต้องกินเม็ดที่ลืมแต่ให้รอกินยามื้อถัดไปแทนโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดขึ้นเป็นสองเท่าเนื่องจากจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ หากกินยาเกินขนาดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ผู้ที่ควรเลี่ยงการใช้ยาโคลพิโดเกรล
- เป็นแผลในกระเพาะอาหาร
- มีประวัติเลือดออกในสมอง
- เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ฮีโมฟีเลีย (haemophilia) เป็นต้น
- ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี
ควรใช้ยาโคลพิโดเกรลอย่างระมัดระวังในกลุ่มผู้ป่วยต่อไปนี้
- มีปัญหาโรคตับ
- มีปัญหาโรคไต
- มีความเสี่ยงต่อการเลือดไหล เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
- ควรหยุดยาก่อนที่จะทำการผ่าตัดต่างๆอย่างน้อย 7 วัน เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงเลือดไหลไม่หยุดได้
การใช้ยาโคลพิโดเกรลในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ไม่แนะนำให้ใช้ยาโคลพิโดเกรลในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัยที่ชัดเจนในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ผลข้างเคียงของยาโคลพิโดเกรล
ถึงแม้ผลข้างเคียงที่รุนแรงจะมีน้อยและเกิดได้ยาก แต่สามารถมีผลข้างเคียงได้ เช่น อาหารไม่ย่อย ปวดศรีษะ ปวดท้อง เลือดออกได้ง่ายและหยุดไหลยาก และคลื่นไส้อาเจียน ยาโคลพิโดเกรลยังมีปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้ ดังนั้นจึงต้องอ่านฉลากยาก่อนใช้และปรึกษาแพทย์เสมอเพื่อความปลอดภัยในการใช้
ผลข้างเคียงของยาที่รุนแรง ได้แก่ ผื่นคัน ปวดท้องอย่างรุนแรง เลือดไหลไม่หยุดหรือมีจ้ำเขียวเกิดขึ้นเอง อาเจียนเป็นเลือด ชาบริเวณแขนและขา ปัสสาวะเป็นเลือด หากมีอาการดังนี้ให้รีบไปพบแพทย์
อาการแพ้ยาโคลพิโดเกรล
บางรายอาจมีการแพ้ยาโคลพิโดเกรลได้ ให้รีบนำไปส่งโรงพยาบาลทันทีหากมีอาการดังนี้
- ปากบวม หน้าและลำคอบวม
- หายใจลำบาก
- มีผื่นผิวหนังเกิดขึ้นหลังจากกินยา
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาโคลพิโดเกรลกับยาชนิดอื่น
ยาบางชนิดอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นได้เมื่อต้องกินยาหลายชนิดร่วมกัน ยาโคลพิโดเกรลก็สามารถเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นๆได้ดังนี้
ความเสี่ยงในการเกิดเลือดออกจะมีเพิ่มขึ้นหากกินยาโคลพิโดเกรลร่วมกับยาดังนี้
- กลุ่มยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
- ยาแอสไพริน
- ยาวาร์ฟาริน
- ยาต้านเกล็ดเลือดชนิดอื่น
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาโคลพิโดเกรลกับอาหารและแอลกอฮอล์
ยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนระหว่างอาหารและยาโคลพิโดเกรล แต่ควรกินยาโคลพิโดเกรลหลังมื้ออาหาร เพื่อลดอาการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ สำหรับแอลกอฮอล์อาจดื่มได้แต่ไม่ควรดื่มมากเกินกว่าปกติเนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงเลือดออกในกระเพาะอาหารได้