สิ่งที่เกิดขึ้นกับลิ้นของฉัน

เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
สิ่งที่เกิดขึ้นกับลิ้นของฉัน

Fungiform papillae นั้นเป็นตุ่มขนาดเล็กที่อยู่ด้านบนและด้านข้างของลิ้น ตุ่มเหล่านี้มีสีเดียวกับลิ้นและในเวลาปกติมักจะไม่มองไม่เห็น ตุ่มเหล่านี้ทำให้ลิ้นนั้นมีลักษณะสากซึ่งจะช่วยเวลาที่รับประทานอาหาร และยังมีตุ่มรับรสและตัวรับอุณหภูมิอีกด้วย

ตุ่มเหล่านี้อาจจะโตขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักจะไม่ใช่สาเหตุที่เป็นอันตราย แต่ถ้าหากพบว่าตุ่มนั้นเป็นเรื้อรัง มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือลามมากขึ้น หรือทำให้กินอาหารได้ลำบากควรไปพบแพทย์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Transient lingual papillitis

คนส่วนมากมักจะเคยเป็นภาวะนี้ ในภาวะนี้จะมีตุ่มขนาดเล็กสีขาวหรือแดงที่เกิดจากการที่ตุ่มที่ลิ้นนั้นเกิดการระคายเคืองและบวมขึ้นเล็กน้อย ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดแน่ชัดแต่อาจจะเกี่ยวข้องกับความเครียด ฮอร์โมนและอาหารบางชนิด ถึงแม้ว่าภาวะนี้อาจจะทำให้รู้สึกไม่สบายแต่ก็ไม่ได้เป็นภาวะที่รุนแรงและมักจะสามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษาภายในเวลาไม่กี่วัน แต่ก็สามารถกลับเป็นซ้ำได้

Eruptive lingual papillitis นั้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กและมีแนวโน้มที่จะติดต่อสู่คนอื่น ภาวะนี้อาจจะเกิดร่วมกับการมีไข้และต่อมน้ำเหลืองโต และอาจจะเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัส โรคนี้มักไม่ต้องใช้การรักษาและสามารถหายได้เองภายใน 2 สัปดาห์แต่กลับเป็นซ้ำได้ การใช้น้ำเกลือกลั่วคอหรือทานอาหารที่เย็นๆ ลื่นนั้นอาจจะช่วยบรรเทาอาการได้

ร้อนใน

แผลร้อนในนั้นสามารถเกิดขึ้นที่ใดก็ได้ภายในปากรวมถึงใต้ลิ้น ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดร้อนในที่แน่ชัดแต่แผลร้อนในเหล่านี้ไม่ใช่โรคติดต่อ การใช้ยาแก้ปวดทั่วไปอาจจะสามารถบรรเทาอาการได้ ส่วนมากอาการมักจะดีขึ้นภายใน 10 วันโดยไม่ต้องรักษา แต่ถ้าหากมีอาการเรื้อรัง มีไข้ หรือมีอาการรุนแรงจนทำให้คุณไม่สามารถกินอาหารหรือดื่มน้ำได้ควรไปพบแพทย์

Squamous papilloma

Squamous papilloma เป็นภาวะที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ human papillomavirus (HPV) ส่วนมากมักจะพบเป็นตุ่มเดียวโดดๆ ที่มีลักษณะไม่สม่ำเสมอ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดหรือการใช้เลเซอร์ การติดเชื้อ HPV นั้นไม่มีวิธีการรักษาแต่สามารถรักษาอาการที่เกิดขึ้นได้

โรคซิฟิลิส

ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และมักจะเริ่มจากการที่มีแผลขนาดเล็กที่ไม่เจ็บ และอาจจะไม่ทันได้สังเกต ก่อนที่จะมีผื่นตามมา แผลส่วนมากนั้นจะเกิดขึ้นแล้วหายไปเมื่อโรคนั้นดำเนินไปเรื่อยๆ ในระยะแรก โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ในระหว่างระยะที่สองอาจจะมีแผลภายในปากและบนลิ้นได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือเสียชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษา

โรคไข้อีดำอีแดง

ไข้อีดำอีแดงนั้นสามารถทำให้ลิ้นนั้นมีสีแดง เป็นตุ่มและบวมขึ้นได้ โรคนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและสามารถทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนังและมีไข้ร่วมด้วย ส่วนมากมักจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แต่น้อยคือโรคปอดอักเสบ โรคไข้รูห์มาติกและโรคไต โรคนี้สามารถติดต่อได้ง่าย ดังนั้นควรรีบพามารักษาและป้องกันการแพร่เชื้อ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลิ้นอักเสบ

เป็นภาวะที่ลิ้นนั้นเกิดการอักเสบและทำให้ลิ้นนั้นเรียบกว่าปกติ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่นปฏิกิริยาการแพ้ การสูบบุหรี่หรือสารระคายเคืองอื่นๆ หรือการติดเชื้อ การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุ หากมีอาการเรื้อรังหรือกลับเป็นซ้ำควรไปพบแพทย์

มะเร็งในช่องปาก

ตุ่มที่เกิดขึ้นที่ลิ้นส่วนใหญ่นั้นไม่น่ากังวลแต่บางครั้งอาจจะเป็นมะเร็งได้ ตุ่มที่เป็นมะเร็งนั้นมักจะพบที่ด้านข้างของลิ้นมากกว่าด้านบน ชนิดของมะเร็งที่มักจะพบที่ลิ้นคือชนิดที่ชื่อว่า squamous cell carcinoma

โรคมะเร็งในช่องปากนั้นจะพบที่ลิ้นส่วนหน้า โดยตุ่มนั้นอาจจะมีสีเทา ชมพูหรือแดงได้ และอาจจะมีเลือดออกหากไปโดนตุ่มดังกล่าว

หากสงสัยว่าเป็นมะเร็ง แพทย์อาจจะมีการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อไปตรวจภายในกล้องจุลทรรศน์ การรักษานั้นอาจจะประกอบด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด และการฉายแสงขึ้นกับชนิดและระยะของมะเร็ง

Traumatic fibroma

เป็นภาวะที่เกิดจากการระคายเคืองเรื้อรังและทำให้มีตุ่มที่ลิ้นซึ่งมีลักษณะเรียบและเป็นสีชมพู โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ยากและจำเป็นต้องใช้การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจเพื่อการวินิจฉัย ตุ่มนี้สามารถตัดออกได้ด้วยการผ่าตัดหากจำเป็ฯ

Lymphoepithelial cysts

เป็นตุ่มสีเหลืองนิ่มๆ ที่มักจะพบใต้ลิ้น ไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดแน่ชัด ถุงน้ำนี้เป็นเนื้อดีและสามารถตัดออกได้ด้วยการผ่าตัด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
J Pharm Bioallied Sci, Lymphoepithelial cyst of the submandibular gland (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4157265/), 2014 Jul; 6
นางพเยาว์ เอนกลาภ, แพทย์หญิงเจนจิต ฉายะจินดา, นายแพทย์มานพชัย ธรรมคันโท, อนุวัตร รุ่งพิสุทธิพงษ์, โรคซิฟิลิส (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=883), 14/6/2554

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า
การติดเชื้อราที่เล็บเท้า

คุณมีเล็บเท้าที่หนาและเป็นสีเหลืองหรือไม่?

อ่านเพิ่ม