มีปัญหาสุขภาพใดบ้างที่เชื่อมโยงกับโรคอ้วน?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มีปัญหาสุขภาพใดบ้างที่เชื่อมโยงกับโรคอ้วน?

เราต่างก็รู้กันดีอยู่แล้วว่าน้ำหนักตัวมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของเรา นอกจากนี้การออกกำลังกาย ขนาดของรอบเอว และประวัติการเจ็บป่วยของคนในครอบครัวก็มีความสำคัญมากไม่แพ้กัน อย่างไรก็ตาม บางปัญหาสุขภาพมีความเชื่อมโยงหรือแม้แต่มีโรคอ้วนเป็นตัวการ ซึ่งคนที่เป็นโรคอ้วนจะมีค่าดัชนีมวลกายเท่ากับ 30 หรือสูงกว่านี้ สำหรับโรคที่มีความเชื่อมโยงกับโรคอ้วนมีดังนี้

1. โรคหัวใจ

คราบพลัคสามารถก่อตัวขึ้นภายในหลอดเลือดแดง ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่ขนส่งเลือดออกจากหัวใจ  หากมีคราบพลัคมากเกินไป มันก็สามารถทำให้หลอดเลือดแดงตีบและเกิดการอุดตันได้ในที่สุด ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือภาวะหัวใจล้มเหลว อย่างไรก็ตาม คุณควรเริ่มจากการไปตรวจเลือดเพื่อเช็กระดับของคอเลสเตอรอล หากมีคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีสูง หรือ LDL คุณก็ควรทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยลง และทานอาหารที่มีไฟเบอร์ให้มากขึ้น รวมถึงออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วย หรือคุณอาจจำเป็นต้องทานยา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

2. ความดันโลหิต

ในขณะที่หัวใจเต้น มันจะสูบฉีดเลือดผ่านผนังของหลอดเลือดแดง ซึ่งมันจะทำให้เกิดแรงดัน หากแรงดันสูงเกินไป มันก็สามารถทำให้อวัยวะอื่นๆ เสียหาย เช่น ไต สมอง เป็นต้น ทั้งนี้ความดันโลหิตมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเมื่อเรามีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน แต่ความดันโลหิตก็สามารถเปลี่ยนไปเมื่อคุณลดน้ำหนัก

3. โรคหลอดเลือดสมอง

คราบพลัคในหลอดเลือดแดงสามารถจับตัวกันเป็นก้อนและทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ หากมันสะสมอยู่ในหลอดเลือดแดงภายในหัวใจ มันก็สามารถทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และหากใกล้กับสมองมากเกินไป มันก็สามารถขัดขวางการไหลเวียนของออกซิเจน หลังจากที่สมองไม่ได้รับออกซิเจน 2-3 นาที เซลล์สมองจะเริ่มตาย และทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง  สิ่งที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองเช่นกัน   

4. โรคเบาหวาน ประเภท 2

คนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากที่สุด แต่คนที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว เด็ก หรือวัยรุ่น ก็สามารถเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน เพียงแต่คนที่เป็นโรคอ้วนกลับมีแนวโน้มมากกว่า หากคุณเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ระดับของน้ำตาลในเลือดจะสูงเกินไป ร่างกาจะเริ่มต่อต้านอินซูลิน หรือไม่สามารถผลิตได้อย่างเพียงพอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากน้ำตาลในเลือดสูงเกินไปเป็นเวลานาน มันก็สามารถทำให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เช่น ตาบอด ติดเชื้อ ไตวายเรื้อรัง ฯลฯ

5. โรคอ้วนลงพุง

การเป็นโรคอ้วนลงพุงจะทำให้คุณมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคหลอดเลือดสมอง ตัวอย่างเช่น คุณอาจมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน มีความดันโลหิตสูง มีน้ำตาลในเลือดสูง และมีปัญหาเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล อย่างไรก็ตาม การไปตรวจสุขภาพสามารถบอกได้ว่าคุณมีความเสี่ยงหรือไม่ หรือคุณอาจใช้วิธีง่ายๆ อย่างการวัดรอบเอว หากผู้หญิงและผู้ชายมีเอว 35 นิ้ว และ 40 นิ้ว ตามลำดับ คนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนัก

6. โรคมะเร็ง

มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนและโรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งไต โรคมะเร็งตับอ่อน และโรคมะเร็งไทรอยด์ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่มั่นใจว่าการมีน้ำหนักเกินมาตรฐานสามารถทำให้เกิดโรคมะเร็งได้หรือไม่ แต่พวกเขารู้ว่าไขมันเป็นอาหารที่ทำให้เซลล์มะเร็งเติบโต

7. โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนสามารถทำให้ผู้ป่วยทรมาน และมักส่งผลต่อไขสันหลัง เข่า มือ และสะโพก หากคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน น้ำหนักส่วนเกินจะทำให้ข้อต่อได้รับน้ำหนักมากขึ้น นอกจากนี้ไขมันยังสามารถสร้างโปรตีนที่ทำให้เกิดการอักเสบ อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณเริ่มลดน้ำหนัก คุณจะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และข้อต่อจะได้รับแรงกดน้อยลง

8. โรคหยุดหายใจขณะหลับ

เมื่อคุณเป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อที่หลังคอจะไม่สามารถทำให้คอเปิดในขณะที่คุณนอนหลับ ทำให้คุณหยุดหายใจหลายวินาทีในแต่ละครั้ง เมื่อคุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ไขมันส่วนเกินที่อยู่รอบคอสามารถทำให้ทางเดินหายใจตีบลง และสามารถส่งผลต่อการหายใจ อย่างไรก็ตาม คุณอาจยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคดังกล่าว ถ้าคุณรู้สึกเหนื่อยมาก และรู้สึกว่าพักผ่อนไม่เพียงพอทั้งๆ ที่คุณเข้านอนเร็ว คุณก็ควรไปพบแพทย์ค่ะ

จากที่กล่าวไปคุณจะเห็นได้ว่า การมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนนั้นไม่เพียงแต่ทำให้คุณเคลื่อนไหวได้ไม่คล่องตัวเท่านั้น แต่มันยังทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ดังนั้นคุณควรรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม โดยเลือกทานอาหารที่สมดุลและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ที่มา: https://www.webmd.com/diet/obe...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป