โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเป็นโรคที่ต้องการการดูแลรักษาตลอดชีวิต โดยการรักษาหลักจะประกอบด้วยการป้องกันอาการปวด การรักษาอาการปวด การป้องกันการติดเชื้อ การรักษาภาวะโลหิตจาง การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์หรือปลูกถ่ายไขกระดูก และการรักษาปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้น
เด็กและผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์จากสหสาขาวิชาชีพซึ่งจะทำงานร่วมกันเพื่อดูแลคุณ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ทีมแพทย์ที่ดูแลคุณจะช่วยให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค และทำงานร่วมกับคุณเพื่อวางแผนการดูแลเป็นรายบุคคล ซึ่งคำนึงถึงความต้องการและสภาวะทางสุขภาพของคุณร่วมด้วย
การป้องกันไม่ให้มีช่วงที่มีอาการปวด
สิ่งหลักๆ ที่คุณสามารถทำได้คือการลดโอกาสของการเข้าสู่ช่วงที่อาการปวด (sickle cell crisis) โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ
โดยคุณจะต้องทำสิ่งต่างๆ ดังนี้:
- ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
- สวมใส่เสื้อผ้าอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้คุณหนาว
- หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกะทันหัน เช่น การว่ายน้ำในน้ำเย็น
หากคุณยังคงมีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง คุณอาจได้รับคำแนะนำให้ใช้ยา ไฮดรอกซี่ยูเรีย (hydroxyurea) ซึ่งเป็นยารูปแบบแคปซูล รับประทานวันละ 1 แคปซูล
ยาไฮดรอกซี่ยูเรียจะลดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดชนิดอื่นๆ เช่น เซลล์เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด และคุณจะได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อติดตามอาการของโรคด้วย
การรักษาอาการปวด
หากคุณมีอาการปวดระหว่างเป็นโรคนี้ (sickle cell crisis) โดยทั่วไปคุณสามารถจัดการกับอาการของโรคได้ที่บ้าน โดยปฏิบัติดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- รับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยา เช่น พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ยาแอสไพริน ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 16 ปี) แต่ถ้าอาการปวดเป็นรุนแรงขึ้น แพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวดชนิดแรงกว่านี้
- ดื่มน้ำให้เพียงพอ
- ใช้ผ้าเช็ดตัวอุ่น หรือ แผ่นให้ความร้อน เพื่อนวดเบาๆ ที่บริเวณที่มีอาการ สามารถหาซื้อแผ่นให้ความร้อนเหล่านี้ได้ตามร้านขายยา
- พยายามให้สนใจสิ่งอื่นๆ แทนอาหารปวด เช่น ให้เด็กอ่านเรื่องราวที่ชอบ ดูภาพยนตร์ หรือเล่นเกมส์ที่พวกเขาชอบ
ให้ไปพบแพทย์หากการปฏิบัติตนข้างต้นไม่ประสบผลสำเร็จ หรืออาการปวดยังมีอาการรุนแรง
การรักษาด้วยยาแก้ปวดชนิดรุนแรงที่โรงพยาบาล เช่น มอร์ฟีน (morphine) เป็นเวลาไม่กี่วัน อาจมีความจำเป็น
ป้องกันการติดเชื้อ
เนื่องจากผู้ป่วยโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวจะมีโอกาสติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป ดังนั้นการรักษาจึงจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยจำนวนมากจำเป็นต้องได้รับยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ทุกวัน (มักเป็นยาเพนนิซิลิน) ในกรณีของการเป็นโรคนี้ การใช้ยาปฏิชีวนะในระยะยาวจะไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณ
เด็กที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวควรได้รับการฉีดวัคซีนพื้นฐานครบทุกชนิด และควรได้รับการฉีดวัคซีนเพิ่มเติมด้วย เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี และวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี
การรักษาโลหิตจาง
โลหิตจางมักก่อให้เกิดอาการเล็กน้อย และอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเฉพาะ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เช่น กรดโฟลิก (ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง) อาจจำเป็นในบางเวลาเพื่อช่วยเรื่องโลหิตจางในเด็กที่จำกัดการบริโภคอาหาร เช่น รับประทานมังสวิรัติ เป็นต้น
โลหิตจางที่มีสาเหตุจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวไม่ใช่โรคเดียวกับโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) ซึ่งพบได้บ่อยกว่า ดังนั้นอย่ารับประทานธาตุเหล็กเสริมโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
หากภาวะโลหิตจางเป็นรุนแรงหรือเป็นนานต่อเนื่อง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการให้เลือดหรือใช้ยาไฮดรอกซี่ยูเรีย
การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก (Stem cell or bone marrow transplants)
การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูกเป็นวิธีเดียวที่จะหายขาดจากโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว แต่มักไม่ค่อยทำ เนื่องจากการปลูกถ่ายดังกล่าวมีความเสี่ยงเกิดขึ้นกับผู้ป่วย
สเต็มเซลล์เป็นเซลล์ชนิดพิเศษที่สร้างจากไขกระดูก (เนื้อเยื่อที่เป็นรูพรุน พบอยู่ที่ตรงกลางของกระดูกบางที่) โดยสเต็มเซลล์จะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ
สำหรับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ สเต็มเซลล์จากผู้บริจาคสุขภาพดีจะให้กับผู้ป่วยผ่านทางหลอดเลือดดำ จากนั้นเซลล์เหล่านี้จะเริ่มต้นสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงสุขภาพดีเพื่อทดแทนเม็ดเลือดแดงรูปเคียว
การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เป็นการรักษาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยหลายอย่าง โดยความเสี่ยงหลักคือภาวะสเต็มเซลล์ใหม่ต่อต้านร่างกายผู้ป่วย (graft versus host disease) เป็นภาวะร้ายแรงถึงชีวิต คือสเต็มเซลล์ที่ใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วยเกิดการต่อต้านเซลล์อื่นๆ ในร่างกายผู้ป่วย
โดยทั่วไปจะแนะนำให้ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ในเด็กที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวที่มีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น และประโยชน์ที่ได้รับในระยะยาวจากการปลูกถ่ายจะต้องมากกว่าความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น
การรักษาปัญหาอื่นๆ ที่พบ
โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียวเป็นสาเหตุของปัญหาอื่นๆ ที่พบ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรักษาด้วย ตัวอย่างเช่น
- การให้ยาฮอร์โมนระยะสั้น อาจถูกสั่งให้กับเด็กเพื่อกระตุ้นการโตเป็นหนุ่มเป็นสาวในเด็กที่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวช้า
- นิ่วในถุงน้ำดีอาจรักษาด้วยการผ่าตัดถุงน้ำดีออก
- อาการปวดกระดูกและข้อ สามารถรักษาด้วยยาแก้ปวด แต่ถ้ามีอาการปวดรุนแรงอาจจำเป็นต้องผ่าตัด
- อวัยวะเพศชายแข็งตัวค้าง ร่วมกับอาการปวด อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยากระตุ้นการไหลเวียนเลือด หรือใช้เข็มเพื่อระบายเลือดออกจากอวัยวะเพศชาย
- แผลที่ขาสามารถรักษาโดยการทำความสะอาดแผล และทำแผลร่วมกับการใช้ผ้าก๊อซ
- ผู้ที่มีความเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง หรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาจจำเป็นต้องได้รับการให้เลือดเป็นประจำ หรือรักษาร่วมกับยาไฮดรอกซี่ยูเรีย
- acute chest syndrome (สภาวะร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับปอด) มักต้องการการรักษาฉุกเฉินด้วยยาปฏิชีวนะ, การให้เลือด, ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือดดำ และยาไฮดรอกซี่ยูเรียอาจจำเป็นต้องให้เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการนี้อีกในอนาคต
ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรับเลือดเป็นประจำอาจจำเป็นต้องรับยาขับธาตุเหล็กออกจากร่างกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยด้วย เราเรียกว่า chelation therapy
https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/blood-and-lymph/sickle-cell-disease#treatment