การให้เลือด คือกระบวนการให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากผู้บริจาคให้แก่ผู้ป่วย เพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดหรือส่วนประกอบภายในเลือดที่สูญเสียระหว่างการเลือดออก ผ่าตัด หรือภาวะโลหิตจาง การให้เลือดเป็นกระบวนการที่มีความเสี่ยงต่อชีวิต ดังนั้นเลือดที่ได้รับบริจาคมาต้องเป็นเลือดที่ดีและปลอดเชื้อโรค ทุกขั้นตอนการให้เลือดต้องทำอย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ของเลือดที่ปลอดภัยต่อผู้ป่วยที่สุด ขั้นตอนเหล่านั้นประกอบด้วย
- การคัดกรองผู้บริจาคเลือด
- การตรวจคัดกรองเชื้อโรค
- การเตรียมส่วนประกอบของเลือด
- การทดสอบความเข้ากันของเลือด
แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
-
การคัดกรองผู้บริจาคเลือด
ทุกครั้งที่บริจาคเลือด ผู้บริจาคทุกคนต้องอ่านและตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ ความเสี่ยงที่จะได้รับต่อตนเอง และต่อผู้ที่จะได้รับเลือด แบบสอบถามนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บริจาคพิจารณาสุขภาพของตนเองว่าพร้อมสำหรับการบริจาคเลือดหรือไม่ และพิจารณาว่าเลือดของตนเองมีความปลอดภัยต่อผู้รับ ไม่มีเชื้อโรคที่สามารถถ่ายทอดผ่านทางเลือดแฝงอยู่ คุณสมบัติโดยคร่าวๆ ของผู้บริจาคเลือดมีดังนี้- อายุของผู้บริจาค : อายุ 17-70 ปี สำหรับผู้ที่มีอายุ 17 ปีต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
- น้ำหนักตัวและปริมาณเลือดที่บริจากคได้ : น้ำหนักมากกว่า 45 กิโลกรัม
- ผู้ที่น้ำหนักน้อยกว่า 50 กิโลกรัม ปริมาณเลือดที่สามารถบริจาคคือ 350±10 % มิลลิลิตร
- ผู้ที่น้ำหนักมากกว่า 50 กิโลกรัม ปริมาณเลือดที่สามารถบริจาคคือ 450±10 % มิลลิลิตร
- ความเข้มข้นของเลือด : เพื่อแสดงว่ามีปริมาณเลือดเพียงพอที่จะบริจาค โดยไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง
- เพศชาย ระดับฮีโมโกลบิน ≥ 13.0 กรัม/เดซิลิตร หรือฮีมาโทคริต ≥ 40 %
- เพศชาย ระดับฮีโมโกลบิน ≥ 12.5 กรัม/เดซิลิตร หรือฮีมาโทคริต ≥ 37 %
- ประวัติการเจ็บป่วย : ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคไต โรคตับ โรคมะเร็ง หรือภาวะที่เลือดออกง่ายและหยุดยาก ควรงดบริจาคเลือด
- การตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร : ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในระหว่างให้นมบุตรควรงดบริจาคเลือด สามารถบริจาคเลือดได้หลังจากคลอดอย่างน้อย 6 เดือน
- โรคติดเชื้อ : ผู้บริจาคต้องปลอดจากการติดเชื้อที่สามารถถ่ายทอดเชื้อผ่านทางเลือด
- งดรับบริจาคเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี และไวรัสเอชไอวี
- งดรับบริจาคเลือดจากผู้ที่เคยติดเชื้อมาลาเลียอย่างน้อย 3 ปีหลังจากการรักษาและไม่แสดงอาการผิดปกติ
- งดบริจาคเลือด 7 วันในผู้ที่ท้องเสีย เพราะผู้บริจาคอาจมีอาการอ่อนเพลียหลังจากบริจาคเลือดได้
- งดบริจาคเลือด 3 วันในผู้ที่ถอดฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน รักษารักฟัน เพราะอาจมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดและส่งเชื้อไปให้ผุ้รับเลือดได้
- การตรวจคัดกรองเชื้อโรค
องค์การอนามัยโลกกำหนดขั้นต่ำในการตรวจเชื้อโรคที่ถ่ายทอดได้ทางการให้เลือด ได้แก่ เชื้อซิฟิลิส (Syphilis) เชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) เชื้อไวรัสตับอักเสบซี (HCV) และเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) โดยจะมีการตรวจหาตัวเชื้อโดยตรง และการตรวจหาแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างต่อเชื้อชนิดนั้นๆ
แม้จะมีการตรวจกรองการติดเชื้อที่มีความไวและความจำเพาะสูง แต่ยังมีความเสี่ยงในการตรวจไม่พบเชื้อ เพราะการติดเชื้อในระยะแรก จำนวนเชื้อหรือแอนติบอดีต่อเชื้อนั้นมีจำนวนไม่มากพอที่จะตรวจวัดพบได้ เรียกช่วงนั้นว่า ‘ระยะฟักตัว (Window period)’ ในปัจจุบันมีความพยายามจะทำให้เลือดที่ได้รับมีความปลอดภัยสูงสุด จึงได้นำเทคโลยีทดสอบการขยายตัวของกรดนิวคลีอิก (Nucleic acid amplification technology (NAT)) มาใช้ตรวจคัดกรองเลือดผู้บริจาคเพื่อลดระยะเวลาฟักตัวของเชื้อโรค ทำให้สามารถตรวจพบเชื้อได้เร็วขึ้น
หลักการทดสอบการขยายตัวของกรดนิวคลีอิก คือ การเพิ่มจำนวนของสารพันธุกรรม DNA หรือ RNA ของเชื้อโรคให้มากพอสำหรับการตรวจ โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้- การเตรียมตัวอย่าง : เช่น การสกัดเอากรดนิวคลีอีกของเชื้อออกจากเลือด
- การเพิ่มจำนวนสารพันธุกรรม : สามารถใช้เทคนิค PCR ในการเพิ่มจำนวน ซึ่งมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
- การปรับเปลี่ยนสภาพ (Denature) : เพิ่มอุณหภูมิให้สูง (91-96oC) เพื่อให้สายดีเอนเอ (DNA) ที่เป็นคู่แยกออกจากกันเป็นสายเดี่ยว และดีเอนเอที่เป็นสายเดี่ยวนี้จะเป็นสายต้นแบบในการสังเคราะห์ดีเอนเอสายใหม่ต่อไป
- การจับกับต้นแบบดีเอนเอ (Annealing) : ลดอุณหภูมิ (55-60oC) เพื่อให้ไพรเมอร์ (Primer) จับกับต้นแบบดีเอนเอด้วยเบสที่จำเพาะ
- การสังเคราะห์ดีเอนเอสายใหม่ (Extension) : เพิ่มอุณหภูมิ(72oc) เพื่อให้มีการสังเคราะห์ดีเอนเอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
- การเวิเคราะห์ผลที่ได้ : ดีเอนเอที่ขยายเพิ่มขึ้นสามารถที่จะนำมาตรวจวิเคราะห์ได้
แม้การทดสอบการขยายตัวของกรดนิวคลีอิก (NAT) จะช่วยลดระยะฟักตัวลง แต่ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมระยะเวลาได้ทั้งหมด ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการรับเลือดที่ปลอดเชื้อโรคคือ ผู้บริจาคเลือด หากผู้บริจาคมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงในการบริจาคเลือด
- การเตรียมส่วนประกอบของเลือด
เป็นการแยกส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดออกจากกันเพื่อรักษาคุณภาพของเลือดอยู่ได้นานที่สุด เพราะส่วนประกอบแต่ละชนิดต้องการการเก็บรักษาที่ต่างกัน ปัจจุบันหลักการการให้เลือดจะให้เฉพาะส่วนประกอบของเลือดในส่วนที่ผู้ป่วยต้องการ เป็นการใช้เลือดให้มีประโยชน์และมีประสิทธิภาพที่สุด ส่วนประกอบของเลือดที่สำคัญมีดังนี้
แผนผังขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบของเลือด
แทรกภาพ แผนผังขั้นตอนการเตรียมส่วนประกอบของเลือด- เลือดรวม (Whole blood) : เป็นเลือดครบส่วนภายในถุงเลือดมีสารกันเลือดแข็งและสารที่ช่วยยืดอายุของเลือด เช่น เอซีดี (ACD : Acid citrate dextose) สามารถเก็บเลือดได้นาน 21 วัน หรือ ซีพีดี-เอ1 (CPD-A1 : Citrate phosphate dextose adenine) สามารถเก็บเลือดได้ 35 วัน ต้องเก็บในอุณหภูมิ 1-6oc
- คุณสมบัติ : เลือดรวม 1 ยูนิตสามารถเพิ่มความเข้มของเลือดได้ประมาณ 3%
- การใช้ : สำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียปริมาณเลือดมากหรือการผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ การให้เลือดรวมมีความเสี่ยงในกรณีที่ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณเลือดที่มากเกินไป
- เม็ดเลือดแดง (Red blood) : เตรียมได้จากถุงเลือดรวม แยกเม็ดเลือดแดงออกจากน้ำเหลืองโดยการใช้วิธีปั่น จะได้เม็ดเลือดแดงอยู่ที่ส่วนล่างของถุงเลือด
- เม็ดเลือดแดงที่แยกเม็ดเลือดขาวออกโดยการปั่น (Leukocyte poor packed red cell (LPRC)) : เป็นส่วนประกอบของเลือดที่เอาเม็ดเลือดขาว เตรียมโดยการใช้การปั่น
- คุณสมบัติ : ลดจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปนได้ 70-80%
- การใช้ : ใช้ในผู้ป่วยที่ต้องได้รับเลือดบ่อย เพื่อป้องกันภาวะที่เม็ดเลือดขาวที่ปนในถุงเลือดไปกระตุ้นร่างกายผู้ป่วยให้สร้างแอนติบอดีมาต่อต้าน จะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการให้เลือด เรียกว่าภาวะนี้ว่า Febrile nonhemolytic transfusion reaction (FNHTR)
- เม็ดเลือดแดงที่แยกเม็ดเลือดขาวออกโดยการกรอง (Leukocyte depleted packed red cell (LDPRC)) : เป็นส่วนประกอบของเลือดที่เอาเม็ดเลือดขาว เตรียมโดยการใช้ตัวกรองเม็ดเลือดขาวออก
- คุณสมบัติ : ลดจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ปนได้ 99.9 %
- การใช้ : เพื่อลดความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสไซโตเมกะโล (Cytomegalovirus) และลดภาวะ FNHTR
- เม็ดเลือดแดงที่ฉายแสง(Irradiated red cell) : นำถุงเลือดไปฉายรังสี
- คุณสมบัติ : เป็นส่วนประกอบเลือดที่นำไปฉายรังสีทำให้ลดการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาว
- การใช้ : เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิด Transfusion-Associated Graft-Versus-Host Disease (TV-GVHD)
- เม็ดเลือดแดงที่แยกเม็ดเลือดขาวออกโดยการปั่น (Leukocyte poor packed red cell (LPRC)) : เป็นส่วนประกอบของเลือดที่เอาเม็ดเลือดขาว เตรียมโดยการใช้การปั่น
- น้ำเหลือง (Plasma)
- พลาสมาสดแช่แข็ง(Fresh frozen plasma: FFP) : ส่วนของน้ำเหลืองที่ได้จากเลือดรวมโดยการปั่นแยก ส่วนของน้ำเหลืองจะอยู่ด้านบนของถุงเลือด นำพลาสมามาแช่แข็งทันทีภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากการบริจาค เก็บรักษาที่ -18oC นาน 1 ปี
- คุณสมบัติ : ประกอบด้วยสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวที่สำคัญได้แก่ เฟคเตอร์ II, เฟคเตอร์ V, เฟคเตอร์ X และเฟคเตอร์ XI
- การใช้ : ในผู้ป่วยโรคตับที่มีภาวะขาดสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว ไม่ควรใช้ FFP เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเลือดเพราะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือเกิดการแพ้ได้ ควรให้เป็นคริสตอลลอยด์ (Crystalloid) หรืออัลบูมิน (Albumin) จะปลอดภัยกว่า
- ไครโอปรีซิปิเตท(Cryoprecipitate) : เป็นส่วนประกอบที่เตรียมได้จากการละลายพลาสมาสดแช่แข็ง จะได้ส่วนที่ไม่ละลายเมื่อถูกละลายที่อุณภูมิ 1-6oc เก็บรักษาที่ -18oc นาน 1 ปี
- คุณสมบัติ : ประกอบด้วยสารที่ทำให้เลือดแข็งตัวที่สำคัญได้แก่ วอนวลิลิแบรนดแฟคเตอร์(von Willebrand’s factor), เฟคเตอร์ VIII และไฟบริโนเจน
- การใช้ : รักษาผู้ป่วยเลือดไหลไม่หยุด ส่วนใหญ่จะขาดสารที่ทำให้เลือดแข็งตัว เช่น โรคเลือดไหลไม่หยุดชนิดเอ หรือโรควอนวิลลิแบรนด์
- พลาสมาสดแช่แข็ง(Fresh frozen plasma: FFP) : ส่วนของน้ำเหลืองที่ได้จากเลือดรวมโดยการปั่นแยก ส่วนของน้ำเหลืองจะอยู่ด้านบนของถุงเลือด นำพลาสมามาแช่แข็งทันทีภายใน 8 ชั่วโมงหลังจากการบริจาค เก็บรักษาที่ -18oC นาน 1 ปี
- เกล็ดเลือดเข้มข้น (Platelet concentrate: PC) : เตรียมจากเลือดรวมปั่น 2 รอบ เก็บรักษาที่ 20-24 oc โดยวางในที่ที่มีการหมุนช้าๆ ตลอดเวลา นาน 5 วัน
- คุณสมบัติ : มีประมาณเกล็ดเลือด 55 ล้านตัวต่อยูนิต
- การใช้ : ใช้รักษาอาการเลือดออกเนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำหรือเกล็ดเลือดมีคุณภาพต่ำเช่น รักษาผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ที่ปลูกถ่ายไขกระดูก หรือผู้ป่วยที่มีเลือดออกหลังจากการผ่าตัด
- เลือดรวม (Whole blood) : เป็นเลือดครบส่วนภายในถุงเลือดมีสารกันเลือดแข็งและสารที่ช่วยยืดอายุของเลือด เช่น เอซีดี (ACD : Acid citrate dextose) สามารถเก็บเลือดได้นาน 21 วัน หรือ ซีพีดี-เอ1 (CPD-A1 : Citrate phosphate dextose adenine) สามารถเก็บเลือดได้ 35 วัน ต้องเก็บในอุณหภูมิ 1-6oc
- การทดสอบก่อนการให้เลือด
ก่อนการให้เลือดทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบเลือดทุกยูนิต เพื่อป้องกันการให้เลือดผิดหมู่ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย โดยขั้นตอนที่ทดสอบก่อนการให้เลือดมีดังนี้- ทดสอบหมู่เลือดระบบ ABO ของถุงเลือด : ทดสอบแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงและแอนติบอดีในน้ำเหลือง
- ทดสอบหมู่เลือดระบบ Rh ของถุงเลือด : ทดสอบแอนติเจนบนเม็ดเลือดแดงเท่านั้น โดยนำเซลล์มาทดสอบกับน้ำยาแอนติดี (anti-D) ถ้าผลการทดสอบเป็นบวกให้ติดสลากเป็นหมู่ Rh บวก
- ตรวจแอนติบอดีต่อหมู่เลือดระบบอื่นๆ : นำน้ำเหลืองของเลือดที่บริจาคมาตรวจหาแอนติบอดีต่อหมู่เลือดระบบอื่นๆ (Unexpected antibodies)
- ตรวจความเข้ากันได้ของเลือด : เป็นการทดสอบว่า เลือดหรือส่วนประกอบของเลือดสามารถเข้ากันได้กับผู้ป่วยหรือไม่
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้หลังรับเลือด
แม้การให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดจะมีประโยชน์ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการได้รับเลือดเช่นกัน สามารถแบ่งออกได้เป็นดังนี้
- Hemolytic transfusion reation คือ การแตกของเม็ดเลือดแดงที่เกิดจากปฏิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน แอนติบอดีของผู้ป่วยทำปฏิกิริยากับเม็ดเลือดแดงที่ให้ไป ผลทำให้เม็ดเลือดแดงแตก ภาวะแทรกซ้อนนี้สามารถเกิดได้ 2 แบบคือ
- Acute hemolytic transfusion reaction(AHTR) : เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับเลือดไม่เกิน 2 ชั่วโมง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ในระบบ ABO ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีหมู่เลือด A ภายในร่างกายจะมีแอนติบอดี B (anti-B) อยู่เมื่อได้รับเลือดหมู่ B จะทำให้แอนติบอดีผู้ป่วยจะไปจับที่ผิวเม็ดเลือดแดงที่ให้ไป และทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงในที่สุด
อาการที่แสดง : มีไข้ แน่นหน้าอก ความดันเลือดต่ำ ปัสสาวะสีดำและเกิดภาวะไตวาย
การรักษา : หยุดการให้เลือดทันทีแล้วให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ จากนั้นส่งเลือดที่เหลือให้กับธนาคารเลือด - Delayed hemolytic transfusion reaction (DHTR) : เกิดขึ้นหลังจากได้รับเลือด 3-7 วัน เกิดจากการรับเลือดที่ไม่เข้ากัน ร่างกายผู้ป่วยจึงสร้างแอนติบอดีแต่มีระดับที่ต่ำ จนกระทั่ง 2-3 วันมีการสร้างแอนติบอดีเพิ่มขึ้นและเข้าไปทำลายเม็ดเลือดแดงที่รับไป ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่เคยได้เลือดหรือเคยตั้งครรภ์มาก่อน
อาการที่แสดง : มีไข้ ซีด เหลือง
การรักษา : หากสงสัยให้ส่งเลือดตรวจที่ธนาคารเลือดเพื่อหาว่าเป็นแอนติบอดีชนิดไหน เพื่อลีกเลี่ยงเลือดที่มีแอนติเจนเหล่านั้น
- Acute hemolytic transfusion reaction(AHTR) : เกิดขึ้นทันทีหลังจากได้รับเลือดไม่เกิน 2 ชั่วโมง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการให้เลือดผิดหมู่ในระบบ ABO ยกตัวอย่างเช่น ในผู้ป่วยที่มีหมู่เลือด A ภายในร่างกายจะมีแอนติบอดี B (anti-B) อยู่เมื่อได้รับเลือดหมู่ B จะทำให้แอนติบอดีผู้ป่วยจะไปจับที่ผิวเม็ดเลือดแดงที่ให้ไป และทำให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดงในที่สุด
- Febrile nonhemolytic transfusion reaction (FNHTR) คือ เกิดจากเม็ดเลือดขาวที่ปนมากับเลือดที่ให้ไปกระตุ้นร่างกายผู้ป่วยให้สร้างแอนติบอดี แอนติบอดีจะจับกับเม็ดเลือดขาว เกิดการหลั่งสารที่กระตุ้ให้เกิดไข้
อาการที่แสดง : ภายใน 24 ชั่วโมงผู้ป่วยมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1oC มีอาการหนาวสั่น บางรายมีแน่นที่หน้าอกร่วมด้วย
การรักษา : หยุดการให้เลือดทันที ให้ยาแก้ไข้ สำหรับการให้เลือดครั้งต่อไปควรให้เม็ดเลือดแดงที่แยกเม็ดเลือดขาวออก (Leukocyte poor packed red cell) - Allergic reaction คือ อาการแพ้ส่วนประกอบของเลือดที่ให้ไป ร่างกายเกิดปฎิกิริยาจนหลั่งสารฮิสทามีน ซึ่งก่อให้เกิดอาการแพ้
อาการที่แสดง : อาการไม่รุนแรงมาก มีผื่น ลมพิษ มีไข้แต่ไม่สูงมาก
การรักษา : หยุดการให้เลือดและให้ยาต้านฮิสทามีน - Transfusion-Associated Graft-Versus-Host Disease (TV-GVHD) คือ ภาวะที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ปนมาในส่วนประกอบของเลือดที่ให้ทำปฎิกิริยากับต่อต้านเซลล์ร่างกายของผู้ที่รับเลือด
อาการที่แสดง : มีไข้สูงกว่า 38oC ภายใน 10 วันหลังจากได้รับเลือด หลังจากนั้นจะเกิดผื่นที่ลำตัวและแขนขา และพบความผิดปกติของตับ ผู้รับเลือดสามารถเสียชีวิตได้จากการติดเชื้ออย่างรุนแรงเพราะเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
การรักษา : มักไม่ได้ผล ผู้ป่าวยไม่ตอบสนองต่อการให้สเตียรอยด์ การรักษาที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่เกิดภาวะนี้ ในปัจจุบันการป้องกันภาวะนี้คือ การฉายแสงส่วนประกอบของเลือดก่อนนำมาให้ผู้ป่วย เพราะการฉายแสงสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวในส่วนประกอบของเลือดได้