การรักษาโดยการตัดแขนหรือตัดขา

เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 10 นาที
การรักษาโดยการตัดแขนหรือตัดขา

การรักษาโดยการตัดแขนหรือตัดขาเป็นกระบวนการผ่าตัดเพื่อตัดอวัยวะของร่างกายออก อย่างเช่นการตัดแขนหรือขา เป็นต้น

ข้อมูลประเด็นนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่พึ่งจะ หรือมีสมาชิกในครอบครัวพึ่งผ่านการตัดแขนขามา หรือกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดประเภทนี้ โดยจะกล่าวถึง:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • ทำไมจึงต้องมีการตัดแขนขา
  • การประเมินก่อนการผ่าตัด
  • วิธีดำเนินการผ่าตัดแขนขา
  • การพักฟื้น
  • กายอุปกรณ์เทียม
  • การดูแลตอ
  • ภาวะแทรกซ้อน
  • ผลกระทบต่อสุขภาพจิต
  • การช่วยเหลือและสนับสนุน

ทำไมจึงต้องมีการตัดแขนขา

กระบวนการตัดแขนขาจำเป็นสำหรับกรณีที่:

  • คุณมีการติดเชื้อที่แขนหรือขาอย่างรุนแรง
  • แขนขาของคุณเป็นภาวะเนื้อเน่าตาย (มักเกิดมาจากโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ)
  • มีบาดแผลที่แขนขารุนแรง อย่างการถูกบด หรือแผลจากการะเบิด เป็นต้น
  • แขนขาเกิดผิดรูปร่างและมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด

การประเมินก่อนการผ่าตัด

นอกเหนือจากการที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแขนขาฉุกเฉิน คุณต้องผ่านการประเมินอย่างละเอียดเพื่อหาแนวทางและกรรมวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมสำหรับกรณีของคุณ รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการทำเวชกรรมฟื้นฟูเสียก่อน

การประเมินมักจะประกอบไปด้วย:

การตรวจสอบด้วยวิธีการแพทย์อย่างละเอียด: แพทย์จะประเมินสภาวะร่างกาย สถานะทางโภชนาการ ระบบลำไส้และการขับถ่าย ระบบไหลเวียนโลหิต (หัวใจ เลือดและหลอดเลือด) และระบบหายใจของคุณ (หลอดลมและปอด) เสียก่อน

การประเมินสภาวะและการทำงานของแขนขาข้างที่ยังดีอยู่: การตัดแขนหรือขาออกข้างหนึ่งจะทำให้อวัยวะแขนขาที่เหลืออยู่ต้องรับภาระมากกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยต้องดูแลรักษาแขนขาที่เหลือให้ดีที่สุด

การประเมินทางจิตวิทยา: เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะสามารถรับมือกับผลกระทบทางร่างกายและอารมณ์หลังการตัดแขนขาได้หรือไม่ และเพื่อหาการช่วยเหลือเพิ่มเติมต่าง ๆ

การประเมินสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่ทำงาน และสังคม: เพื่อมองหาความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติม

คุณจะถูกส่งไปพบจิตแพทย์ที่จะเข้ามามีบทบาทหลังการผ่าตัดของคุณ กับนักกายอุปกรณ์ (ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องแขนขาเทียม) ที่ซึ่งจะเข้ามาแนะนำเกี่ยวกับชนิดและการทำงานของกายอุปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดแขนขา การเข้าพูดคุยกับผู้ที่เคยผ่านประสบการณ์เดียวกันจะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้น ทีมรักษาของคุณสามารถติดต่อไปยังบุคคลเหล่านี้ให้ได้หากคุณต้องการ

วิธีดำเนินการผ่าตัดแขนขา

การผ่าตัดแขนขาจะดำเนินการด้วยการใช้ยาสลบหรือใช้การระงับความรู้สึกที่เยื่อหุ้มประสาทไขสันหลังกับคนไข้ (ซึ่งทำให้ร่างกายช่วงล่างเกิดอาการชา)

เมื่อผ่านการตัดแขนขาออกไปแล้ว แพทย์จะใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของแขนขาที่เหลือ และเพื่อลดการเกิดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ

ซึ่งอาจรวมไปถึงการเกลาและตัดส่วนกระดูกของแขนขาที่เหลือให้สั้นลงเพื่อช่วยการใช้งานกล้ามเนื้อ และเย็บกล้ามเนื้อที่เหลือเข้ากับกระดูกเพื่อเสริมความแข็งแรงให้แขนขาข้างที่เหลือ เป็นต้น

หลังการผ่าตัดแขนขา บาดแผลของคุณจะถูกปิดด้วยด้ายเย็บแผลหรือวัสดุเย็บผิวหนังอื่น ๆ โดยจะปิดทับด้วยผ้าพันแผลและท่อที่ถูกเสียบเข้าใต้ผิวหนังเพื่อดูดของเหลวส่วนเกินออก คุณต้องถูกผ้าพันแผลไว้เช่นนี้ตลอดระยะเวลารักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

การพักฟื้นร่างกายหลังการตัดแขนขา

หลังการผ่าตัด คุณจะต้องนอนในโรงพยาบาลโดยสวมใส่หน้ากากออกซิเจนและได้รับน้ำผ่านตัวหยดเป็นเวลาไม่กี่วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

จะมีการใช้ท่อขนาดเล็กสวนกระเพาะปัสสาวะระหว่างและหลังการผ่าตัดเพื่อดูดปัสสาวะออก ทำให้คุณไม่ต้องลุกไปห้องน้ำในช่วงเวลาพักฟื้นแต่อย่างใด

จุดที่ผ่านการตัดแขนขาอาจสร้างความเจ็บปวด โดยแพทย์จะสามารถให้ยาแก้ปวดกับคุณได้หากคุณต้องการจริง ๆ โดยคุณต้องแจ้งผ่านทีมรักษาของคุณทันทีหากยาแก้ปวดไม่ได้ผล เพื่อให้พวกเขาจัดโดสยาที่ใหญ่กว่าเดิม อาจมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ผ่านท่อขนาดเล็ก เพื่อลดอาการเจ็บปวดบริเวณตอแขนขา

นักกายภาพบำบัดจะสอนให้คุณออกกำลังกายบนเตียงเพื่อช่วยลดการเกิดลิ่มเลือด และเพิ่มการไหลเวียนเลือดของคุณไปด้วย

การใช้ผ้ารัดกล้ามเนื้อ

คุณจะสังเกตว่าบริเวณตอแขนขาที่ผ่านการผ่าตัดจะมีอาการบวมน้ำออกมา ซึ่งเป็นภาวะปรกติหลังการตัดแขนขา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดจนกว่าจะมีถ่ายของเหลวออก

แพทย์จะใช้ผ้ารัดกล้ามเนื้อช่วยอาการบวมน้ำและเพื่อปรับรูปร่างของตอแขนขา โดยอาจยังช่วยลดอาการปวดหลอน และช่วยคงสภาพแขนขาของคุณเอาไว้ได้อีกด้วย

คุณจะถูกพันผ้ารัดทันทีที่แผลของคุณหายดีแล้ว โดยต้องสวมใส่มันตลอดทุก ๆ วัน ซึ่งสามารถถอดออกในเวลาเข้านอนได้ คุณจะได้ผ้าอย่างน้อยสองผืนซึ่งควรสลับไปซักบ้าง

เวชกรรมฟื้นฟู

เวชกรรมฟื้นฟูร่างกายเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการฟื้นฟูร่างกาย เป็นกระบวนการมีระยะเวลานาน ยากลำบาก และน่าหงุดหงิด โดยหลังจากดำเนินเวชกรรมฟื้นฟูจนสมบูรณ์คุณจะสามารถกลับไปทำงานหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้อีก

โปรแกรมเวชกรรมฟื้นฟูของคุณจะถูกจัดวางตามความต้องการส่วนบุคคล และจะมีขึ้นเพื่อทำให้คุณสามารถกลับไปดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างปรกติ (เท่าที่จะทำได้)

คุณต้องให้ความร่วมมือกับนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัดตลอดกระบวนการ โดยพวกเขาจะพูดคุยหาว่าคุณต้องการฟื้นฟูไปถึงจุดไหน เพื่อสร้างเส้นชัยในการฟื้นฟูร่างกายให้แก่ตัวคุณเอง

โปรแกรมเวชกรรมฟื้นฟูมักจะเกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดไม่กี่วัน โดยเริ่มจากการออกกำลังกายง่าย ๆ บนเตียงหรือบนที่นั่ง หากคุณผ่านการตัดขามาคุณจะถูกจับลงบนรถเข็นเพื่อให้เคลื่อนไหวไปมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

คุณจะได้เรียนรู้ “เทคนิคการเคลื่อนย้าย” เพื่อช่วยให้คุณสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างง่ายดายยิ่งขึ้น อย่างการขึ้นนั่งรถเข็นจากบนที่นอน เป็นต้น

คุณจะได้เริ่มโปรแกรมเมื่อแผลของคุณเริ่มหายดี นักกายภาพบำบัดจะเริ่มให้คุณออกกำลังกายที่ห้องออกกำลังของโรงพยาบาลก่อน เพื่อช่วยฟื้นฟูและคงสภาพความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

หากคุณมีแขนขาเทียม นักกายภาพบำบัดจะสอนวิธีใช้แก่คุณ ยกตัวอย่างเช่น การเดินด้วยขาเทียม หรือการหยิบจับสิ่งของด้วยแขนเทียม เป็นต้น

การกลับบ้านและการติดตามผล

ระยะเวลาที่ต้องพักฟื้นก่อนจะกลับบ้านได้นั้นขึ้นอยู่กับชนิดของการผ่าตัดและสุขภาพโดยรวมของคุณ

ก่อนจะถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาล นักกิจกรรมบำบัดจะนัดหมายวันที่เข้าเยี่ยมคุณที่บ้านเพื่อดูว่าสภาพแวดล้อมที่บ้านของคุณ และต้องปรับอะไรบ้างเพื่อทำให้คุณเคลื่อนไหวในบ้านได้อย่างสะดวกขึ้น

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องใช้รถเข็น ที่บ้านของคุณต้องมีทางลาดขึ้นบันได เป็นต้น หากต้องมีการปรับเปลี่ยนต่อเติมบ้าน ก็สามารถส่งเรื่องไปยังศูนย์บริการผู้พิการตามท้องถิ่นได้

การใช้งานอวัยวะเทียมมักใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะคุ้นชิน ซึ่งหากคุณผ่านการตัดขาไปนั้นจะทำให้คุณอาจต้องใช้รถเข็นไปก่อน

คุณต้องเข้าพบแพทย์เพื่อทำการติดตามผลหลังการผ่าตัดไม่กี่สัปดาห์เพื่อปรึกษาพูดคุยถึงการปรับตัวที่บ้าน และเพื่อถามหาความช่วยเหลืออื่น ๆ

ระหว่างการนัดพบ คุณจะได้รับข้อมูลถึงกลุ่มช่วยเหลือผู้พิการที่อยู่ใกล้ที่สุดสำหรับคุณ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดมาจากการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพและผู้ที่อาศัยกับผู้พิการแขนขา

กายอุปกรณ์เทียม

ภายหลังการผ่าตัดแขนขา คุณอาจสามารถเลือกใช้กายอุปกรณ์เทียมได้

โดยกายอุปกรณ์เทียมอาจไม่เข้ากับผู้ที่ผ่านการตัดแขนขาบางกรณี เนื่องจากโปรแกรมการฝึกใช้และกระบวนการเวชกรรมฟื้นฟูที่กินระยะเวลานาน

อีกทั้งการปรับชีวิตให้ชินกับกายอุปกรณ์เทียมยังใช้พลังงานอย่างมาก เนื่องจากร่างกายต้องคุณต้องใช้แรงชดเชยในส่วนของกล้ามเนื้อและกระดูกของแขนขาที่หายไปให้กับแขนขาเทียมแทน

ทำให้ผู้ที่อ่อนแอ หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอย่างโรคหัวใจ ถูกจัดว่าไม่เหมาะสมกับการใช้กายอุปกรณ์

หากคุณสามารถใช้กายอุปกรณ์เทียมได้ แพทย์จะพิจารณาประเภทของอุปกรณ์จากเงื่อนไขต่อไปนี้:

  • ชนิดของการผ่าตัดแขนขา
  • ปริมาณแรงกล้ามเนื้อของแขนขาที่เหลือ
  • สุขภาพโดยรวมของคุณ
  • หน้าที่ที่แขนขาเทียมของคุณต้องรองรับ

ความต้องการของผู้ป่วยที่ต้องการแขนขาเทียมที่เหมือนจริง หรือต้องการแขนขาที่สามารถใช้งานได้ดีกว่า เป็นต้น

หากแพทย์คาดว่าคุณไม่สามารถทนความเหนื่อยล้าจากการใช้กายอุปกรณ์เทียมได้ อาจมีการใช้กายอุปกรณ์เพื่อตกแต่งหรือปกปิดความพิการแทน ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานอะไรได้นอกจากความสวยความงามเท่านั้น

ณ ปัจจุบันมีกายอุปกรณ์เทียมที่ทั้งเหมือนจริงและใช้งานได้จริง แต่กายอุปกรณ์ประเภทดังกล่าวมักจะมีข้อดีข้อด้อยอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ดี

การเตรียมตัวติดตั้งกายอุปกรณ์เทียม

หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าคุณสามารถใช้งานกายอุปกรณ์เทียมได้ คุณจะเริ่มโปรแกรมเตรียมตัวรับการใส่กายอุปกรณ์เทียมที่โรงพยาบาลหรือระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ทันที

ก่อนจะมีการใส่กายอุปกรณ์เทียม ผิวหนังที่คลุมรอบตอแขนขาจะถูกทำให้เกิดความรู้สึกน้อยลง ซึ่งจะทำให้การสวมใส่กายอุปกรณ์สบายเนื้อสบายตัวยิ่งขึ้น

การขจัดความรู้สึกที่ผิวหนังสามารถทำได้ดังนี้:

  • ค่อย ๆ ปะผิวหนังส่วนที่ต้องการด้วยผ้า
  • ใช้ผ้าพันแผลรัดเพื่อลดการบวมและป้องกันการสะสมกันของของเหลวภายในรอบ ๆ ตอ
  • ขัดและดึงผิวหนังบริเวณรอบกระดูกออกโดยไม่เป็นการสร้างแผลเป็น

นักกายภาพบำบัดที่ดูแลคุณจะสอนการออกกำลังกายแบบต่าง ๆ ให้คุณเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขนขาที่เหลือของคุณ และเพื่อเพิ่มระดับพลังงานของคุณให้สามารถใช้งานอวัยวะเทียมได้คล่องยิ่งขึ้น

กระบวนการดังกล่าวอาจใช้เวลาหลายเดือนก่อนที่จะพาคุณไปพบนักกายอุปกรณ์ ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่ต้องการใช้อวัยวะเทียม

การดูแลตอ

การดูแลผิวหนังบริเวณตอแขนหรือขาข้างที่ถูกตัดไปให้สะอาดเป็นเรื่องจำเป็นมาก ๆ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือการเกิดความระคายเคืองต่าง ๆ ขึ้น

คุณสามารถทำการล้างตอแขนหรือขาด้วยน้ำอุ่นผสมสบู่แบบอ่อนวันละครั้งอย่างเบามือ และทำการเช็ดผิวหนังบริเวณดังกล่าวให้แห้ง

หากคุณสวมใส่กายอุปกรณ์เทียม คุณควรทำความสะอาดปลอกที่สวมใส่อุปกรณ์ด้วยสบู่และน้ำอุ่นเช่นเดียวกัน

เมื่อคุณอาบน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการแช่ตอแขนหรือขาในน้ำเป็นเวลานาน ๆ เนื่องจากน้ำจะทำให้ผิวหนังบริเวณตอเกิดอ่อนตัวลง ทำให้ง่ายต่อการบาดเจ็บ

หากผิวแห้ง คุณก็สามารถใช้ครีมทาผิวก่อนนอนหรือในขณะที่คุณไม่ได้สวมใส่อุปกรณ์เทียมเพื่อทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นได้อีกด้วย

บางคนก็สามารถสวมถุงเท้าที่ตอขาของพวกเขาได้ ซึ่งจะช่วยดูดซับเหงื่อและลดการระคายเคืองที่ผิวลง ขนาดของตอขาหรือตอขาอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้เมื่ออาการบวมลดลง ทำให้คุณอาจต้องทำการเปลี่ยนถุงเท้าบ่อยครั้งหน่อย

หมั่นสังเกตผิวหนังที่ตอแขนขาของคุณทุกวันเพื่อสอดส่องหาร่องรอยความผิดปรกติจากการติดเชื้อ อย่างเช่น

  • มีผิวหนังอุ่น มีสีแดง และมีผิวบาง
  • มีหนองหรือของเสียขับออก
  • มีการบวมเพิ่มขึ้น
  • หากคุณคาดว่าตอของคุณเกิดการติดเชื้อขึ้น ให้รีบติดต่อทีมรักษาของคุณเพื่อขอคำแนะนำในทันที

การดูแลแขนขาที่ยังเหลืออยู่

หลังการผ่าตัดแขนขา คุณต้องคอยระวังไม่ให้เกิดอาการบาดเจ็บใด ๆ กับแขนขาที่ยังเหลืออยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการผ่าตัดแขนขานั้นเกิดขึ้นเนื่องมาจากโรคเบาหวาน เพราะโรคดังกล่าวจะทำให้แขนขาที่ยังเหลืออยู่มีความเสี่ยงจะต้องถูกตัดเช่นเดียวกัน

พยายามหลีกเลี่ยงการสวมใส่รองเท้าที่ไม่พอดี และต้องฝึกฝนร่างกายตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง

ภาวะแทรกซ้อน

เช่นเดียวกับการผ่าตัดทุกประเภท การผ่าตัดแขนขาเองก็มีความเสี่ยงที่จะส่งผลเป็นภาวะแทรกซ้อนมากมายเช่นเดียวกัน อีกทั้งการสูญเสียแขนขาไปก็ยังส่งผลต่อความเสี่ยงประการอื่น ๆ อีกด้วย

มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดแขนขา อย่างเช่นอายุ ประเภทของการผ่าตัดอวัยวะ และสุขภาพโดยรวมของคุณ

สำหรับการผ่าตัดแขนขาที่มีการวางแผนมาเป็นอย่างดีจะรวมแนวทางที่ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะร้ายแรงน้อย ซึ่งนั่นแปลว่าการผ่าตัดแขนขาแบบฉุกเฉินจะมีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวมากกว่า

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการผ่าตัดแขนขามีดังนี้:

  • ภาวะทางหัวใจ เช่นโรคหัวใจ
  • ภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน (DVT) ซึ่งไปชะลอกระบวนการฟื้นฟูบาดแผลและการติดเชื้อที่แผล
  • ปอดบวม
  • มีอาการปวดตอแขนขา และเกิด “อาการปวดหลอน”

ในบางกรณี อาจต้องมีการผ่าตัดอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ หรือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดลง ยกตัวอย่างเช่น หากแพทย์คาดว่าเนื้องอกประสาทเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเจ็บปวด อาจต้องมีการผ่านำเส้นประสาทกระจุกนั้นออก

อาการปวดหลอนและตอแขนขา

ผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแขนขามาต่างเคยประสบกับอาการปวดหรือภาวะ “ปวดหลอน” มาก่อน

การปวดแขนขาหลอนนี้เป็นความรู้สึกที่ผู้ผ่านการผ่าตัดคิดว่ามาจากแขนขาข้างที่โดนตัดไปแล้ว

คำว่า “หลอน” ไม่ได้หมายความว่าอาการเจ็บปวดนั้น ๆ เป็นเพียงจินตนาการแต่อย่างใด อาการปวดหลอนนั้นเป็นของจริงซึ่งเคยถูกยืนยันมาแล้วด้วยเทคนิคถ่ายภาพสมองจนพบสัญญาณทางประสาทที่ส่งไปยังสมอง

อาการของภาวะปวดหลอนมีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่เบาบางไปจนถึงรุนแรงมาก บางคนอาจประสบกับอาการปวดหลอนในรูปแบบคล้ายกับการโดนไฟดูดในช่วงระยะไม่กี่วินาที แต่สำหรับอีกหลายคนอาจจะประสบกับอาการปวดรุนแรงต่อเนื่อง

อาการปวดตออาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ รวมไปถึงการเกาหรือขยี้ มาจากการกดทับของกายอุปกรณ์เทียม หรืออาจเกิดมาจากความเสียหายของประสาทระหว่างการผ่าตัดก็เป็นได้

การรักษาอาการปวดหลอนและอาการปวดที่ตอแขนขา

โดยทั่วไปอาการปวดตอหรือปวดหลอนมักจะดีขึ้นเองตามกาลเวลา แต่แพทย์ก็สามารถหาทางรักษาเพื่อช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้หากจำเป็น

การใช้ยา

ตัวยาที่สามารถใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดมีดังนี้:

  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อย่างเช่นอิบูโพรเฟน เป็นต้น
  • ยากันชัก อย่างเช่นคาร์บามาเซพีน หรือกาบาเพนติน
  • ยารักษาภาวะซึมเศร้า อย่างเช่นอะมิทริปไทลิน หรือนอร์ทริปไทลิน (ยาสองตัวนี้มีฤทธิ์โดยตรงกับประสาทที่ขา)
  • โอปิออยด์ อย่างเช่นมอร์ฟีน หรือโคเดอีน
  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือการฉีดยาชาเฉพาะที่

การดูแลตัวเองและการบำบัดทางเลือก

  • มีเทคนิคที่ไม่ใช้ยาทางการแพทย์ใด ๆ เพื่อลดอาการเจ็บปวดดังนี้:
  • การเปลี่ยนกายอุปกรณ์ให้พอดี หรือปรับเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ให้สวมใส่สบายยิ่งขึ้น
  • ประคบเย็นหรือประคบร้อนบริเวณแขนขาโดยใช้ถุงน้ำ การขัดผิว และครีมทา เป็นต้น
  • การนวด เพื่อเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตและกระตุ้นกล้ามเนื้อ
  • การฝังเข็ม คาดกันว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นระบบประสาทและบรรเทาอาการเจ็บปวดได้
  • การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดความเจ็บปวด (TENS) ที่ซึ่งมีการใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก (ที่ใช้แบตเตอรี่ทั่วไป) เพื่อกระตุ้นไฟฟ้าไปยังบริเวณที่เกิดความเจ็บปวด เพื่อป้องกันหรือลดสัญญาณความเจ็บปวด

และมโนภาพ โดยนักวิจัยได้พิสูจน์แล้วว่าผู้ที่ถูกตัดแขนขาที่ใช้เวลา 40 นาทีต่อวันในการจินตนาการว่ากำลังใช้งานแขนขาข้างที่ถูกตัดไป อย่างเช่นการกระดิกนิ้ว หรือห่อนิ้วเท้า จะช่วยลดอาการเจ็บหลอนได้

ซึ่งการบำบัดเช่นนี้อาจเชื่อมโยงไปยังทฤษฎีอาการเจ็บหลอนว่าเกิดจากการที่สมองกำลังมองหาสัญญาณตอบกลับจากอวัยวะที่หายไป ทำให้การออกกำลังกายในใจจะช่วยทดแทนการขาดหายไปของสัญญาณที่สมองกำลังมองหาได้

อีกเทคนิคคือการใช้กระจก โดยการสะท้อนภาพแขนขาอีกข้างที่ยังมีอยู่ให้อยู่ในทิศเดียวกับแขนขาข้างที่หายไป

ผลกระทบต่อสุขภาพจิตหลังการผ่าตัดแขนขา

การสูญเสียอวัยวะสำคัญจะส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างมาก หลายคนที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดแขนขามากล่าวว่าพวกเขารู้สึกโศกเศร้าราวกับสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไป

ทำให้การดูแลสภาพจิตใจผู้ป่วยหลังการผ่าตัดแขนขาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ พอ ๆ กับการดูแลทางร่างกาย

การผ่าตัดแขนขาจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตเนื่องมาจาก 3 สาเหตุดังนี้:

  • คุณต้องทำใจกับการสูญเสียความรู้สึกจากแขนขาที่หายไป
  • คุณต้องรับมือกับการทำงานของร่างกายที่ขาดหายไปจากการถูกตัดแขนขา
  • คุณต้องรับมือกับรูปร่างของคุณ และสายตาของคนรอบข้างที่เปลี่ยนไป

ความคิดและอารมณ์ในแง่ลบเป็นเรื่องปรกติที่จะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดแขนขา และยิ่งหากเป็นการผ่าตัดแขนขาฉุกเฉินที่ผู้ป่วยจะไม่มีเวลาทำใจใด ๆ เลยผลกระทบจะยิ่งรุนแรงมาก

ความรู้สึกแง่ลบที่มักพบเห็นได้ในผู้ที่ผ่านการผ่าตัดแขนขามีดังนี้:

  • ซึมเศร้า
  • กังวล
  • ต่อต้าน (ปฏิเสธที่จะยอมรับว่าพวกเขาเปลี่ยนแปลงไป อย่างการต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด หรือต้องปรับเปลี่ยนชีวิตที่เหลือกับกายอุปกรณ์เทียม)
  • โศกเศร้า
  • รู้สึกอยากฆ่าตัวตาย

โดยผู้ที่ต้องผ่าตัดแขนขาจากอาการบาดเจ็บทั้งร่างกายและจิตใจ (โดยเฉพาะบรรดาทหารผ่านศึก) จะมีความเสี่ยงที่จะมีอาการเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD) มากกว่าปกติ

หากคุณรู้สึกหรือคาดว่ามีภาวะความรู้สึกดังกล่าว ให้รีบปรึกษาทีมรักษาทันที ซึ่งคุณอาจจะได้รับยาเพิ่มเติมอย่างยาต้านอาการซึมเศร้า หรือเข้าปรึกษากับจิตแพทย์ เพื่อช่วยให้คุณสามารถรับมือกับสถานการณ์ ณ ตอนนั้นได้

การช่วยเหลือและสนับสนุน

การที่แพทย์บอกว่าคุณต้องเข้ารับการผ่าตัดแขนขาเป็นเรื่องน่าใจหายและน่ากลัวอย่างมาก การปรับชีวิตหลังจากนั้นเป็นเรื่องที่ยากกว่า แต่หลาย ๆ คนก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้หลังจากที่พวกเขาทำสำเร็จ


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When You Should See a Doctor for an Infected Cut. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/should-i-see-a-doctor-about-my-cut-or-scrape-1298587)
Cutting and Self-Harm Behaviors in Teens. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/teen-cutting-and-self-harm-behaviors-2633862)
Self-injury/cutting Disease Reference Guide. Drugs.com. (https://www.drugs.com/mcd/self-injury-cutting)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป