รักษาอาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน

เผยแพร่ครั้งแรก 24 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
รักษาอาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานนั้นสามารถส่งผลระยะยาวต่อร่างกายทั้งหมดได้โดยเฉพาะหากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนานหลายปี น้ำตาลในเลือดที่สูงนั้นจะทำให้เกิดการทำลายเส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังมือและเท้าได้

ทำให้เกิดอาการชาหรือแปล๊บที่มือ นิ้วเท้า นิ้ว และเท้า อาการอื่นที่อาจพบได้เช่นรู้สึกแสบ หรือปวด ในระยะแรกอาจจะมีอาการไม่รุนแรงแต่เมื่อเวลาผ่านไป อาการอาจจะรุนแรงขึ้นและเริ่มมีอาการขึ้นมาถึงขาหรือแขนได้ ทำให้เจ็บเวลาเดิน และแม้แต่การสัมผัสบริเวณดังกล่าวเบาๆ ก็อาจจะเจ็บจนทนได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานกว่า 50% นั้นมักจะเกิดภาวะนี้ การที่เส้นประสาทถูกทำลายนั้นยังส่งผลต่อความสามารถในการนอนหลับ ลดคุณภาพของชีวิตและทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

การรักษา

เส้นประสาทที่ถูกทำลายไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้ แต่มีวิธีที่สามารถป้องกันการทำลายที่ยังไม่เกิดขึ้นและบรรเทาอาการปวดได้

ขั้นแรกก็คือการคุมระดับน้ำตาลเพื่อให้บริเวณที่ถูกทำลายนั้นไม่มากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายของระดับน้ำตาลในเลือดและพยายามติดตาม คุณอาจจะต้องลดน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารให้เลือ70-130 mg/dL และน้ำตาลในเลือดหลังอาหารให้ไม่เกิน 180 mg/dL

สามารถใช้ทั้งการปรับอาหาร การออกกำลังกายและยาเพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในระยะที่เหมาะสมได้ และติดตามโรคอื่นๆ ที่อาจทำให้โรคเบาหวานแย่ลงเช่นน้ำหนักตัวและการสูบบุหรี่ ควรถามแพทย์เกี่ยวกับวิธีการลดน้ำหนักให้ได้ประสิทธิภาพหรือวิธีการเลิกบุหรี่

การใช้ยา

แพทย์อาจจะแนะนำให้ลองใช้ยาแก้ปวดทั่วไปเช่นพาราเซตามอล แอสไพริน หรือ ibuprofen ในการบรรเทาอาการปวดแต่เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียง ดังนั้นจึงควรใช้ในขนาดต่ำๆ เป็นเวลาสั้นๆ เพื่อช่วยบรรเทาอาการ

นอกจากนั้นแพทย์ยังสามารถสั่งจ่ายยาที่แรงและสามารถใช้ได้ในระยะยาวเพื่อบรรเทาอาการปวดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1.ยาต้านเศร้า

ยาต้านเศร้านั้นมักจะใช้รักษาโรคซึมเศร้า แต่ก็สามารถใช้รักษาภาวะนี้ได้เช่นกันเนื่องจากมันไปขัดขวางสารสื่อประสาทในสมองที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด แพทย์อาจจะแนะนำยาในกลุ่ม tricyclic antidepressants เช่น amitriptyline, imipramine และ desipramine ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงเช่นปากแห้ง อ่อนเพลียและเหงื่อออก

ยาในกลุ่ม serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เช่น venlafaxine และ duloxetine นั้นเป็นยาทางเลือกที่อาจจะมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาในกลุ่ม tricyclic

2.ยาแก้ปวดกลุ่ม opioid

ยาที่มีฤทธิ์แรงเช่นยาแก้ปวดกลุ่ม opioid นั้นสามารถรักษาอาการปวดที่รุนแรงขึ้นได้ แต่มักจะเป็นยาแก้ปวดกลุ่มสุดท้ายที่ใช้ โดยอาจจะใช้ยาในกลุ่มนี้หากใช้วิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล ยากลุ่มนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ระยะยาวเนื่องจากมีผลข้างเคียงและสามารถทำให้เกิดอาการติดยาได้ ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดและใช้ยาอย่างระมัดระวัง

แผ่นแปะยาชานั้นสามารถช่วยทำให้เกิดอาการชาเฉพาะบริเวณนั้นๆ ได้ แต่แผ่นแปะนี้อาจจะทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองเล็กน้อยได้เช่นกัน

3.ยากันชัก

ยากันชักสามารถช่วยลดอาการปวดเส้นประสาทได้เช่นกัน ยาในกลุ่มนี้เช่น pregabalin, gabapentin และ oxcarbazepine หรือ carbamazepine Pregabalin นั้นพบว่าสามารถช่วยเรื่องการนอนได้ ผลข้างเคียงของยาก็คือง่วงนอน บวม และมึนงง

4.การกายภาพบำบัด

วิธีการกายภาพบำบัดบางอย่างเช่นการว่ายน้ำนั้นสามารถช่วยรักษาภาวะนี้ได้ การออกกำลังกายที่ใช้แรงน้อยนั้นจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดเนื่องจากการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากนั้นจะทำให้เกิดการชาได้อย่างรวดเร็ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ควรเลือกนักกายภาพที่เข้าใจเรื่องเส้นประสาทที่ถูกทำลาย โรคเบาหวาน หรือทั้ง 2 อย่างเพื่อช่วยในการรักษาเพื่อป้องกันการทำลายเส้นประสาทเพิ่มเติม นอกจากนั้นอย่าลืมว่าการทำกายภาพนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดเส้นประสาทจากโรคเบาหวานได้แต่ไม่สามารถรักษาให้หายได้

5.ครีม capsaicin

ครีม capsaicin นั้นสามารถยับยั้งสัญญาณความเจ็บปวดได้โดยการใช้สารที่พบในพริก แต่งานวิจัยนั้นยังไม่พบว่าสามารถช่วยรักษาโรคนี้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร capsaicin นั้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองที่ผิวหนังได้ในผู้ป่วยบางราย คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ capsaicin ทาบริเวณผิวหนังตำแหน่งที่มีอาการปวดรุนแรงเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดชั่วคราวได้

ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มการรักษาด้วยผลิตภัณฑ์จาก capsaicin เนื่องจากอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้, ทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ หรือทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่อแผลเปิดและทำให้ผิวหนังที่อ่อนหรือไวต่อสิ่งต่างๆ นั้นเกิดการระคายเคืองได้ และยังอาจจะทำให้ผิวหนังไวต่อแสงแดดและความร้อนอื่นๆ มากขึ้น หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีแดดหรือความร้อนมากเกินความจำเป็นเวลาที่ใช้ผลิตภัณฑ์จาก capsaicin

การดูแลมือและเท้า

การทำลายเส้นประสาทของโรคเบาหวานนั้นนอกจากจะทำให้เกิดอาการเจ็บแล้วยังส่งผลต่อความสามารถในการรับความเจ็บปวด ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจเท้าอยู่เสมอ

คุณควรดูเท้าทุกๆ วันว่ามีแผล บวม หรือปัญหาอื่นๆ หรือไม่แม้ว่าคุณจะไม่รู้สึกเจ็บก็ตาม แผลเหล่านี้สามารติดเชื้อและหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงเช่นการตัดขา

ทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยน้ำอุ่นและเช็ดให้แห้งทันที ก่อนทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น หลีกเลี่ยงการทาโลชั่นบริเวณง่ามเท้า

ใส่รองเท้าที่สวมสบายและยืดหยุ่นที่ทำให้เท้ามีที่ในการเคลื่อนไหว ค่อยๆ เริ่มใส่รองเท้าคู่ใหม่อย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้ถูกรองเท้ากัด ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการสั่งตัดรองเท้าหากรองเท้าที่ใช้ทั่วไปนั้นไม่สามารถใส่ได้พอดี

ใส่รองเท้าหัวปิดหรือใส่ถุงเท้าเสมอเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้

การป้องกัน

ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่ปกติเพื่อป้องกันการทำลายเส้นประสาทนั้นเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการเกิดอาการปวดจากภาวะนี้ ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ในเรื่องของการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และการรักษาหากมีอาการแล้ว ภาวะนี้นั้นไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดแน่ชัด แต่พบว่ามีหลายวิธีที่สามารถช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นได้ และแพทย์สามารถเลือกยาที่เหาะสมสำหรับคุณที่สุด


25 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treatment of painful diabetic neuropathy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4269610/)
Diabetic Peripheral Neuropathy: 11 Ways to Ease the Pain. WebMD. (https://www.webmd.com/diabetes/features/peripheral-neuropathy-and-diabetes)
Reversing diabetic neuropathy: Glucose management, treatment, and more. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/317923)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)