วิธีการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาในแต่ละระยะ มีวิธีรักษาอย่างไร
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ส.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
วิธีการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Melanoma) เป็นมะเร็งผิวหนังชนิดหนึ่งที่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายได้ มักกลายพันธุ์มาจากไฝตามร่างกาย หรือเป็นไฝตุ่มใหม่ที่มีลักษณะผิดปกติไปทั้งรูปลักษณ์ สี มีอาการคัน หรือเจ็บปวด หากได้รับการวินิจฉัยไวจะสามารถผ่าตัดเพื่อกำจัด และลดโอกาสการแพร่กระจายได้

โรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยแต่ละระยะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การรักษาก้อนมะเร็งเมลาโนมาในระยะที่ 1

การรักษาเนื้องอกในระยะที่ 1 มักทำโดยการผ่าตัดเอาเนื้องอกออก และกำจัดผิวหนังบริเวณรอบๆ ออกไปเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อการผ่าตัดกำจัดเฉพาะส่วนก้อนมะเร็ง (Surgical local excision) หากการผ่าตัดมีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดแผลเป็นที่มองเห็นชัด อาจทำร่วมกับการปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft)

การปลูกถ่ายผิวหนัง คือการตัดเอาผิวที่มีสุขภาพดี ซึ่งปกติจะนำมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่ไม่สามารถมองเห็นจากภายนอก เช่น ผิวหนังจากหลัง นำมาเชื่อมต่อ หรือทาบเข้ากับพื้นที่ที่ถูกกำจัดออกไป การปลูกถ่ายผิวหนังจะใช้ก็ต่อเมื่อพื้นที่ผิวที่ถูกกำจัดออกมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะปิดโดยใช้วิธีการโยกผิวหนังมาจากบริเวณข้างเคียง

เมื่อก้อนมะเร็งเมลาโนมาถูกกำจัดออกแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่จะกลับมาเป็นซ้ำ และไม่จำเป็นต้องมีการรักษาต่อไป แต่ก็ควรมาพบแพทย์ตามนัดหมาย เพื่อติดตามผลเรื่อยๆ หลังออกจากโรงพยาบาล

การรักษาก้อนมะเร็งเมลาโนมาในระยะ 2 และ 3

เช่นเดียวกับเมลาโนมาในระยะที่ 1 ผิวหนังที่ได้รับผลกระทบจะถูกผ่าตัดกำจัดออก ผิวที่เหลือจะถูกเย็บปิดเข้าหากันโดยตรง หรืออาจมีการปลูกถ่ายผิวหนัง หรือการโยกผิวหนังจากบริเวณข้างเคียงหากจำเป็น นอกจากนั้น หากแพทย์กังวลว่าโรคมะเร็งได้แพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น กระดูก หรือเข้าสู่กระแสเลือด จะตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล (Sentinel node biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล

แพทย์จะทำการปรึกษาหารือกับผู้ป่วย เกี่ยวกับทางเลือกการตัดชิ้นเนื้อจากต่อมน้ำเหลืองเซนติเนล เพราะปกติจะไม่ใช่ขั้นตอนที่จำเป็นกับผู้ป่วยทุกราย ข้อดีคือ หากตัดสินใจที่จะดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว และผลการตรวจไม่พบการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง ก็วางใจได้ว่า มะเร็งเมลาโนมาไม่ได้แพร่กระจายไปตามส่วนต่างๆ

แต่หากการตรวจยืนยันว่า เซลล์มะเร็งเมลาโนมาได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงแล้ว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปรึกษากับผู้ป่วยว่า จะต้องผ่าตัดเพิ่มเติมอีกหรือไม่ โดยจะทำเพื่อตัดต่อมน้ำเหลืองที่เหลือออก หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “การผ่าตัดกำจัดต่อมน้ำเหลืองทั้งหมด (Complete lymphadenectomy)”

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ต่อมน้ำเหลือง

ถ้ามะเร็งผิวหนังได้แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียง ผู้ป่วยอาจต้องผ่าตัดเพิ่มเติมอีก เพื่อกำจัดต่อมน้ำเหลืองอื่นๆ แพทย์จะคลำต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจว่า บวมโตหรือไม่ การผ่าตัดกำจัดต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับผลกระทบเรียกว่า “การเลาะกำจัดกลุ่มต่อมน้ำเหลือง (Block dissection)” ซึ่งดำเนินการภายใต้การดมยาสลบ โดยศัลยแพทย์จะพยายามอย่างยิ่งเพื่อให้ส่วนที่เหลือของระบบน้ำเหลืองสามารถทำงานได้ตามปกติ 

อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงที่การผ่าตัดกำจัดต่อมน้ำหลือง จะทำลายระบบน้ำเหลืองที่นำไปสู่การสะสมของของเหลวในแขนขาซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphoedema)”

การติดตามผลการรักษา

เมื่อก้อนมะเร็งเมลาโนมาถูกกำจัดออกแล้ว ผู้ป่วยจะต้องมาตามนัดหมายติดตามผล เพื่อตรวจสอบว่าฟื้นตัวได้ดีหรือไม่ และมองหาสัญญาณใดที่บ่งบอกว่า เมลาโนมามีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำอีก

ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาเพิ่มเติมเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เมลาโนมากลับมาเป็นซ้ำ การรักษาเหล่านี้เรียกว่า "การรักษาแบบเสริม (Adjuvant treatment)" แต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอว่า การรักษาแบบเสริมจะช่วยป้องกันไม่ให้เมลาโนมากลับมาเป็นซ้ำได้ ดังนั้น การรักษาแบบเสริมจึงยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกเท่านั้น

การรักษาโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาในระยะ 4

อาจไม่สามารถรักษามะเร็งผิวหนังเมลาโนมาให้หายขาดได้ หาก:

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ถูกวินิจฉัยว่า โรคมะเร็งอยู่ในระยะสูงสุด
  • กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายแล้ว (Metastasis)
  • กลับมาเป็นซ้ำในส่วนอื่นของร่างกายหลังได้รับการรักษา (Recurrent)

การรักษาสามารถทำได้ด้วยจุดประสงค์ว่า การรักษาดังกล่าวจะสามารถชะลอการเจริญเติบโตของมะเร็ง ช่วยลดอาการใดๆ ที่อาจเป็น และอาจช่วยยืดอายุขัยของผู้ป่วยได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจสามารถผ่าตัดเพิ่มเติมเพื่อกำจัดก้อนมะเร็งเมลาโนมาที่เกิดขึ้นในตำแหน่งอื่น นอกจากจุดแรกที่เกิดได้เช่นกัน

วิธีการรักษาอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาอื่นๆ เพื่อช่วยในการควบคุมอาการ ดังนี้

รังสีรักษา

รังสีรักษาอาจถูกใช้หลังจากการผ่าตัดกำจัดต่อมน้ำเหลือง และสามารถใช้เพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคมะเร็งผิวหนังขั้นสูงได้

การฉายรังสีรักษา จะใช้ปริมาณรังสีฆ่าเซลล์มะเร็ง การรักษาดังกล่าวจะต้องทำที่โรงพยาบาล และให้เป็นชุดๆ ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีต่อวัน โดยมีช่วงเวลาสุดสัปดาห์ให้ร่างกายได้ฟื้นฟู

ผลข้างเคียงของรังสีรักษา ได้แก่

ผู้ป่วยสามารถป้องกัน หรือควบคุมผลข้างเคียงจำนวนมากได้จากยาที่แพทย์สั่ง แจ้งแพทย์ประจำตัวให้ทราบเกี่ยวกับอาการผลข้างเคียง หลังจากการรักษาเสร็จสิ้นแล้ว ผลข้างเคียงของรังสีรักษาจะค่อยๆ ลดลง

การรักษาด้วยยา

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าอย่างมากในการรักษาโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ยาที่ใช้ในการรักษาเมลาโนมากำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากมียาสูตรใหม่ๆ ถูกนำเข้าสู่โรงพยาบาลมากมาย

ปัจจุบันยาที่นิยมใช้ ได้แก่

  • Vemurafenib (เวมูราเฟนิบ)
  • Ipilimumab (อิพิลิมูแมบ)
  • Nivolumab (นิโวลยูแมบ)

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนจะเหมาะกับการรักษาด้วยยาเหล่านี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปรึกษาหารือถึงการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

ยาเคมีบำบัด

เคมีบำบัดเกี่ยวข้องกับการใช้ยาต้านมะเร็ง (Cytotoxic) เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยปกติจะใช้ในกรณีที่มะเร็งผิวหนังได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมาระยะท้ายๆ

มียาเคมีบำบัดหลายชนิดที่สามารถใช้รักษามะเร็งเมลาโนมา และบางครั้งก็ได้รับการผสมกันหลายตัว ยาที่ใช้กันมากที่สุดสำหรับโรคมะเร็งเมลาโนมา คือ ยา Dacarbazine (ดาคาร์บาซีน) และยา Temozolomide (เทโมโซโลไมด์) อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ยาชนิดอื่นได้ตามที่เหมาะสม ซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะอธิบายเองว่า ยาชนิดใดเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วย

ยาเคมีบำบัดมักอยู่ในแผนกการรักษาผู้ป่วยนอกซึ่งหมายความว่า ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลข้ามคืน โดย Dacarbazine จะได้รับผ่านการหยดลงท่อน้ำเกลือ และ Temozolomide จะได้รับในรูปแบบยาเม็ดสำหรับทาน 

การรักษาด้วยเคมีบำบัดมักจะได้รับหนึ่งคอร์สทุกๆ 3-4 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาว่างระหว่างการรักษาเพื่อให้ร่างกาย และเลือดฟื้นตัวได้

ผลข้างเคียงหลักของการรักษาด้วยเคมีบำบัดนั้น เกิดจากฤทธิ์ของยาไปกระทบต่อส่วนที่เหลือของร่างกาย ได้แก่ การติดเชื้อ อาการคลื่นไส้ อาเจียน อาการอ่อนเพลีย และเจ็บปาก ซึ่งสามารถป้องกันหรือควบคุมผลข้างเคียงหลายอย่างได้ โดยใช้ยาที่แพทย์สั่งเพื่อบรรเทาอาการ

เคมีไฟฟ้าบำบัด (Electrochemotherapy)

การทำเคมีไฟฟ้าบำบัด คือทางเลือกการรักษาที่เป็นไปได้สำหรับมะเร็งเมลาโนมา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่เหมาะสมกับการผ่าตัด  ผ่าตัดแล้วไม่ได้ผล การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษาไม่ได้ผล

กระบวนการดังกล่าว จะทำการให้ยาเคมีบำบัดโดยตรงผ่านทางหลอดเลือดดำ จากนั้น จะใช้ขั้วไฟฟ้าสร้างกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ขนาดอ่อนๆ พุ่งตรงไปยังก้อนเนื้องอก กระแสไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ เหล่านี้จะช่วยให้ยาเข้าสู่เซลล์เนื้องอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์มะเร็งมากขึ้น โดยมักทำระหว่างการดมยาสลบ แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ก็เป็นได้

ผลข้างเคียงหลัก คือ ความเจ็บปวดในตำแหน่งที่ขั้วไฟฟ้าไปสัมผัส เป็นเวลา 2-3 วัน และอาจต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาการ 

โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น และจะต้องทำซ้ำอยู่เป็นประจำ

ภูมิคุ้มกันบำบัด

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด จะใช้ยาซึ่งมักเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในร่างกาย เข้ามากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับมะเร็งผิวหนังได้ดียิ่งขึ้น 

ยารักษา 2 ชนิดที่มักใช้กับโรคมะเร็งเมลาโนมา คือ Interferon-alpha (อินเตอร์เฟอรอน-อัลฟ่า) และ Interleukin-2 (อินเตอร์ลิวคิน-2) ยาทั้งสองได้รับผ่านการฉีดเข้าสู่ใต้ผิวหนัง หรือเข้าสู่ก้อนมะเร็งเมลาโนมาโดยตรง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการคล้ายไข้หวัด เช่น หนาวสั่น เป็นไข้ อาการปวดตามข้อ และอาการเมื่อยล้า

วัคซีน

มีการวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการผลิตวัคซีนสำหรับโรคมะเร็งผิวหนังเมลาโนมา ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการรักษาโรงมะเร็งขั้นลุกลาม หรือเพื่อใช้หลังจากการผ่าตัด ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงต่อการกลับมาเป็นโรคมะเร็งเมลาโนมาซ้ำ

วัคซีนได้รับการออกแบบมาเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อให้สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งเมลาโนมา และสามารถจัดการทำลายได้ง่าย ไวยิ่งขึ้น วัคซีนมักจะได้รับการฉีดภายใต้ผิวหนังทุก 2-3 สัปดาห์เป็นเวลาหลายเดือน

อย่างไรก็ตาม ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเรื่องวัคซีนต่อไป ดังนั้น วัคซีนจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกเท่านั้น

โมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibodies)

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผลิตสารที่ชื่อว่า แอนติบอดีอยู่ตลอดเวลา เพื่อควบคุมการติดเชื้อ โดยแอนติบอดีจะตรวจหาสารแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย และทำลายมัน ในปัจจุบัน สามารถผลิตแอนติบอดีได้ในห้องปฏิบัติการ และสามารถสร้างเพื่อให้จดจำ และล็อคเป้าหมายเฉพาะได้ ทั้งเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง หรือให้ทำงานในบางส่วนของร่างกายเท่านั้น

แอนติบอดีที่ผลิตในห้องปฏิบัติการมักเรียกว่า โมโนโคลนอลแอนติบอดี ทำงานเหมือนกับสารกระตุ้นเร่งปฏิกิริยาสำหรับระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถถูกกระตุ้นให้สามารถรับมือกับทุกประเภทของความผิดปกติ รวมถึงมะเร็งได้

สารยับยั้งการส่งสัญญาณ (Signalling inhibitors)

สารยับยั้งการติดเชื้อ คือยากลุ่มที่ทำงานโดยการรบกวนข้อความ หรือสัญญาณที่มะเร็งใช้สื่อสารกับเซลล์อื่นๆ เพื่อประสานการเจริญเติบโต ซึ่งมีอยู่เป็นหลายร้อยสัญญาณ และเป็นเรื่องยากที่จะทราบว่า สัญญาณใดที่จะต้องปิดกั้นเพื่อรบกวนการเจริญเติบโตของมะเร็ง 

สัญญาณส่วนใหญ่จะมีชื่อทางเทคนิคสั้นๆ โดย 2 สัญญาณที่ได้รับความสนใจในปัจจุบันเกี่ยวกับเซลล์มะเร็งเมลาโนมา คือ  BRAF และ MEK

ยาที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถแทรกแซงสัญญาณดังกล่าวได้ แต่ส่วนใหญ่ยังเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกเท่านั้น

การตัดสินใจไม่เข้ารับการรักษามะเร็งเมลาโนมาในระยะ 4

การรักษาหลายวิธีที่อธิบายข้างต้นมักทำให้เกิดผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยอาจตัดสินใจไม่เข้ารับการรักษา หากการรักษาดังกล่าวนั้นดูเหมือนจะไม่สามารถยืดอายุขัยได้มากพอ หรือผู้ป่วยไม่มีอาการที่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด หรือรู้สึกไม่สบายอย่างชัดเจน

การปฏิเสธดังกล่าวจะต้องมาจากการตัดสินใจของผู้ป่วยเพียงคนเดียว ซึ่งทีมบุคลากรทางการแพทย์จะเคารพการตัดสินใจนั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้ป่วยตัดสินใจที่จะไม่เข้ารับการรักษา ความเจ็บปวด และการพยาบาลก็ยังสามารถทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ การดูแลเพิ่มเติมดังกล่าวนี้เรียกว่า การดูแลแบบประคับประคอง (Palliative care)


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
treatment for melanoma. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/melanoma-skin-cancer/treatment/)
Melanoma: Stages, types, causes, and pictures. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/154322)
Stage 4 melanoma: Survival rate, pictures, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322765)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Skin cancer: Melanoma)
โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Skin cancer: Melanoma)

โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาแตกต่างจากมะเร็งผิวหนังชนิดอื่นอย่างไร มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และป้องกันอย่างไร

อ่านเพิ่ม
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)

มะเร็งดวงตามีหลายประเภท แต่ชนิดที่พบได้มากที่สุดคือมะเร็งดวงตาเมโนลามา ซึ่งมีอาการไม่แตกต่างจากภาวะดวงตาอื่นๆ ที่ไม่รุนแรงมากนัก

อ่านเพิ่ม
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)

มะเร็งดวงตามีหลายประเภท แต่ชนิดที่พบได้มากที่สุดคือมะเร็งดวงตาเมโนลามา ซึ่งมีอาการไม่แตกต่างจากภาวะดวงตาอื่นๆ ที่ไม่รุนแรงมากนัก

อ่านเพิ่ม