มะเร็งดวงตา (Eye cancer)

มะเร็งดวงตามีหลายประเภท แต่ชนิดที่พบได้มากที่สุดคือมะเร็งดวงตาเมโนลามา ซึ่งมีอาการไม่แตกต่างจากภาวะดวงตาอื่นๆ ที่ไม่รุนแรงมากนัก
เผยแพร่ครั้งแรก 19 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

มะเร็งดวงตามีอยู่หลายประเภท เช่น มะเร็งจอประสาทตา (Retinoblastoma) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มะเร็งผิวหนังชนิดสเควมัสเซลล์ (Squamous Cell Carcinoma) และมะเร็งลูกตาเมลาโนมา (Eye Melanoma) ซึ่งในบทความนี้ จะกล่าวถึงมะเร็งดวงตาเมลาโนมาชนิดเดียว ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยมากที่สุด

เมลาโนมา (Melanoma) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นจากเซลล์ที่ใช้ผลิตเม็ดสีที่เรียกว่า Melanocytes ภาวะเมลาโนมาส่วนมากเกิดขึ้นบนผิวหนัง แต่ก็สามารถเกิดบนส่วนอื่นของร่างกายอย่างลูกตาได้ โดยแพทย์จะเรียกภาวะนี้ว่า Uveal หรือ Choroidal Melanoma ขึ้นอยู่กับส่วนใดของลูกตาที่เกิดโรค

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

นอกจากนี้ เมลาโนมายังสามารถเกิดบนเยื่อบุตา (Conjunctiva) หรือชั้นบาง ๆ ที่ปกคลุมส่วนหน้าของลูกตา หรือบนเปลือกตาได้อีกด้วย

อาการของมะเร็งดวงตา

มะเร็งดวงตามักไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน ซึ่งบางกรณีอาจตรวจพบได้ในระหว่างการตรวจดวงตาทั่วไป โดยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มองเห็นเงา กระจุกแสง หรือเส้นเคลื่อนไหวไปมา
  • การมองเห็นไม่ชัดเจน
  • เกิดปื้นสีคล้ำในดวงตาที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ
  • การมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นโดยสมบูรณ์
  • ลูกตาข้างหนึ่งบวมโต
  • มีก้อนเนื้อบนเปลือกตาหรือในดวงตาและมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
  • มีอาการเจ็บปวดภายในหรือรอบดวงตา (หายาก)

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเกิดจากภาวะที่ดวงตาที่ไม่รุนแรงก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคมะเร็งดวงตาเสมอไป ดังนั้นจึงควรไปพบแพทย์ทุกครั้ง หากพบความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา

สาเหตุของมะเร็งลูกตาเมลาโนมา

มะเร็งดวงตาเมลาโนมาเกิดขึ้นเมื่อเซลล์ผลิตเม็ดสีในดวงตาแบ่งตัวออกเร็วเกินไป จนทำให้เกิดก้อนเนื้อเยื่อขึ้นมา ซึ่งยังไม่มีข้อมูลว่าเหตุใดจึงเกิดภาวะเช่นนี้ขึ้น แต่ก็อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่เพิ่มความเสี่ยงขึ้นได้ เช่น

  • มีดวงตาสีอ่อน : ผู้ที่มีดวงตาสีฟ้า สีเทา หรือสีเขียว จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลูกตาเมลาโนมามากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีน้ำตาล หรือสีดำ
  • มีผิวสีขาวหรือซีด : มะเร็งดวงตาเมลาโนมามักเกิดกับผู้ที่มีผิวขาว
  • มีไฝผิดปกติ : หากมีไฝที่มีรูปร่างหรือมีสีที่ผิดปรกติ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนังและเมลาโนมาสูงขึ้น
  • ใช้เตียงอบผิว : มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่า การสัมผัสถูกรังสีอุลตร้าไวโอเล็ต (Ultraviolet (UV)) จากเตียงอบผิว จะมีความเสี่ยงต่อเมลาโนมาที่ดวงตาสูงขึ้น
  • การสัมผัสถูกแสงอาทิตย์มากเกินไป : ปัจจัยนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งผิวหนังมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งเมลาโนมามากขึ้นเช่นกัน
  • มีอายุมาก : มักจะพบมะเร็งดวงตาเมโนลามาในผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป

การวินิจฉัยมะเร็งลูกตาเมลาโนมา

หากแพทย์หรือจักษุแพทย์คาดการณ์ว่าคุณมีความผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา ก็จะมีการส่งตัวไปรับการตรวจเพิ่มเติมกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ดังนี้

  • การตรวจดวงตา : เพื่อตรวจโครงสร้างดวงตาอย่างละเอียด และตรวจหาความผิดปกติอื่นๆ
  • การสแกนอัลตราซาวด์ที่ดวงตา : จะมีการใช้แท่งตรวจวางเหนือเปลือกตาและใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสร้างภาพภายในดวงตาออกมา ทำให้แพทย์สามารถมองหาตำแหน่งและขนาดของเนื้องอกได้
  • การตรวจจอตาด้วยการฉีดสี (Fluorescein Angiogram) : จะมีการถ่ายภาพมะเร็งด้วยการใช้กล้องชนิดพิเศษหลังการฉีดสารสีเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อทำให้มองเห็นเนื้อร้ายชัดเจนขึ้น

บางกรณีจะมีการใช้เข็มขนาดเล็กเพื่อนำตัวอย่างเซลล์เนื้อร้ายออกมาตรวจ (Biopsy) โดยข้อมูลทางพันธุกรรมที่ได้จากเซลล์เหล่านั้น จะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อหาตัวบ่งชี้ของการลุกลามหรือการกลับมาของมะเร็ง

การรักษามะเร็งลูกตาเมลาโนมา

การรักษามะเร็งดวงตาเมลาโนมาจะขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้อร้าย โดยมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการและทำให้ดวงตากลับมาใช้งานตามปกติให้ได้มากที่สุด ซึ่งมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • การฝังแร่กัมมันตรังสี (Brachytherapy) : จะมีการฝังวัสดุที่แผ่กัมมันตรังสีเข้าใกล้กับเนื้อร้ายและปล่อยทิ้งไว้นานประมาณ 1 สัปดาห์เพื่อให้วัสดุกำจัดเซลล์เนื้อร้าย
  • การบำบัดรังสีภายนอก (External Radiotherapy) : จะมีการใช้เครื่องจักรปล่อยคลื่นรังสีอย่างระมัดระวังไปกำจัดเซลล์เนื้อร้าย
  • การผ่าตัดกำจัดเนื้อร้ายหรือบางส่วนของดวงตา : เป็นวิธีการที่อาจนำมาใช้หากเนื้องอกมีขนาดเล็กและผู้ป่วยยังสามารถมองเห็นผ่านดวงตาข้างนั้นๆ อยู่
  • การผ่าตัดกำจัดลูกตา (Enucleation) : เป็นวิธีการที่นำมาพิจารณาหากว่าเนื้อร้ายมีขนาดใหญ่ หรือผู้ป่วยสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว โดยเบ้าตาที่นำลูกตาออกจะถูกสวมใส่ด้วยดวงตาเทียมที่มีขนาดเท่ากับดวงตาอีกข้าง

2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Focus on Eyelid Skin Cancers: Early Detection and Treatment. The Skin Cancer Foundation. (https://www.skincancer.org/blog/eyelid-skin-cancers/)
Intraocular Melanoma: Eye Cancer. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/6134-intraocular-melanoma)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Skin cancer: Melanoma)
โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (Skin cancer: Melanoma)

โรคมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาแตกต่างจากมะเร็งผิวหนังชนิดอื่นอย่างไร มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษา และป้องกันอย่างไร

อ่านเพิ่ม
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)
มะเร็งดวงตา (Eye cancer)

มะเร็งดวงตามีหลายประเภท แต่ชนิดที่พบได้มากที่สุดคือมะเร็งดวงตาเมโนลามา ซึ่งมีอาการไม่แตกต่างจากภาวะดวงตาอื่นๆ ที่ไม่รุนแรงมากนัก

อ่านเพิ่ม