การใช้ยาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคทางกาย

เผยแพร่ครั้งแรก 3 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การใช้ยาทางจิตเวชในผู้ป่วยโรคทางกาย

ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักการทั่วไปในการใช้ยาทางจิตเวชในผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย ได้แก่ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยสูงอายุ หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร

โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด

  • ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาหลายชนิดร่วมกัน ในการรักษาอาการทางจิตเวช โดยเฉพาะยาที่มีผลต่อเกลือแร่และอัตราการเต้นของหัวใจ
  • ควรเริ่มต้นขนาดยาต่ำ ๆ และปรับขนาดยาอย่างช้า ๆ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
  • ควรระวังในการใช้ยา ที่ทำให้มีผลทำให้การนำไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม tricyclic antidepressants

ภาวะต่างๆของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องพิจารณาในการใช้ยา ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (angina) หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางเพราะอาจทำให้หัวใจบีบตัวเพิ่มขึ้น จนเกิดอาการเจ็บหน้าอก เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกำเริบขึ้นได้ สำหรับตัวอย่างยา ที่มีผลทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง ได้แก่ยารักษาโรคจิตบางชนิด Clozapine, phenothiazine ยารักษาโรคซึมเศร้า Trazodone และยากลุ่ม tricyclic antidepressants
  • ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arrhythmia) ซึ่งยารักษาอาการทางจิตบางชนิดมีผลทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เช่น phenothiazine, haloperidol, pimozide และในกลุ่มยารักษาโรคซึมเศร้าที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นยาในกลุ่ม SSRIs
  • ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวควรหลีกเลี่ยงยาที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทางเช่นกัน เนื่องจากทำให้หัวใจบีบตัวเร็วขึ้น จนเกิดภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว
  • ภาวะความดันโลหิตสูง ควรระวังการใช้ยาที่ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง  รวมทั้งยาบางชนิดที่ใช้ขนาดสูงมีผลทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงได้เช่นเดียวกันเช่น venlafaxine  ซึ่งเป็นยาในกลุ่มรักษาโรคซึมเศร้า เมื่อใช้ขนาดยาสูงมีผลต่อการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดได้

โรคตับ

  • เมื่อผู้ป่วยมีภาวะตับทำงานบกพร่อง โดยเฉพาะตับทำงานบกพร่องขั้นรุนแรงจำเป็นต้องปรับขนาดยาให้ต่ำลงทั้งในขนาดยาที่เริ่มต้นของการรักษา และขนาดยาสูงสุดที่ผู้ป่วยสามารถใช้ได้ โดยการปรับขนาดยาควรปรับช้า ๆ และควรตรวจการทำงานของตับอย่างสม่ำเสมอ
  • ยาบางชนิดอาจมีผลเพิ่มเอนไซม์ตับ ซึ่งเป็นค่าที่บ่งบอกถึงภาวะตับถูกทำลาย หากตรวจพบว่าค่าเอนไซม์ตับเพิ่มสูงขึ้นอย่างผิดปกติ จำเป็นต้องสืบหาสาเหตุว่าเกิดจากการใช้ยาจิตเวชหรือไม่
  • กรณีผู้ป่วยเป็นโรคตับรุนแรงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาจิตเวชที่มีอาการข้างเคียงง่วงซึม เพราะอาการง่วงซึมจะมีผลต่อการทำงานของสมอง และ อาจกระตุ้นหรือบดบัง อาการของโรคตับที่เกิดสารพิษทำลายระบบประสาท หรือบดบังอาการทางระบบประสาทอย่างอื่นๆ
  • ยาทางจิตเวชส่วนใหญ่ถูกขจัดยาผ่านทางตับ จึงจำเป็นต้องประเมินการทำงานของตับเพื่อการเลือกใช้และปรับขนาดยาเสมอ

โรคไต

  • ภาวะการทำงานของไตบกพร่องยิ่งรุนแรงยิ่งมีผลทำให้ยาสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้น ดังนั้นเมื่อเริ่มใช้ยาควรเริ่มยาที่ขนาดต่ำและปรับขนาดยาอย่างช้า ๆ ในผู้ที่มีปัญหาทางไต
  • ในผู้สูงอายุ แม้มีการเสื่อมของไต ค่าผลตรวจทางปฏิบัติการอาจไม่สูงขึ้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาควรเริ่มใช้ยาที่ขนาดต่ำกว่าขนาดปกติ
  • เมื่อระดับยาสะสมในร่างกายได้ง่ายจากภาวะไตทำงานบกพร่อง จึงอาจเกิดอาการข้างเคียงได้บ่อย เช่น อาการง่วงซึม ภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง ภาวะความคิดสับสน
  • ควรระมัดระวังการใช้ยาทางจิตเวชที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ เพราะอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะคั่งและมีผลต่อการขจัดยาทางไตได้

ผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยสูงอายุจะมีการทำงานของตับและไตที่ลดลง รวมทั้งมักมีโรคทางกายต่าง ๆ เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และได้รับยารักษาหลายขนาน ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการใช้ยาในผู้สูงอายุนอกจากนี้ควรจัดแบ่งมื้อยาให้รับประทานง่าย เพราะผู้ป่วยจะมีปัญหาหลงลืมกินยาได้ง่ายเช่นกัน

  • คุณลักษณะของยาที่มีผลต่อร่างกาย และการทำงานของร่างกายที่มีผลต่อยามักเปลี่ยนแปลงไปในผู้สูงอายุ และยาสามารถอยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ง่าย
  • ควรใช้ยาขนาดต่ำสุดที่ได้ผลในการรักษา และปรับขนาดยาช้า ๆโดยเลี่ยงการใช้ยาแบบหลายชนิดร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงหรือทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง เนื่องจากอาจทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้
  • หากผู้ป่วยสูงอายุ มีสมาธิ หรือความจำแย่ลง หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ควรพิจารณาถึงสาเหตุซึ่งอาจเกิดจากพิษของยา ทางจิตเวชได้เช่นกัน

ภาวะตั้งครรภ์

  • หาผู้ป่วยวางแผนจะตั้งครรภ์ผู้ป่วยควรได้รับทราบข้อมูลถึงความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการต่อตัวอ่อนในครรภ์มารดา เปรียบเทียบกับผลดีในการป้องกันอาการกำเริบและควรใช้ยาที่มีความเสี่ยงต่ำ
  • ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดความพิการต่อตัวอ่อนในครรภ์มารดาสูง ถัดมาในช่วงไตรมาสที่ 2 มีความเสี่ยงต่อการเจริญเติบโตการสร้างอวัยวะ และการทำงานของสมองทารกในครรภ์ได้  และในระยะหลังคลอดทารกอาจเสี่ยงต่อการเกิดอาการถอนยาจากการที่มารดารับประทานยาจิตเวช ในช่วงระหว่างตั้งครรภ์
  • ผลต่อเด็กจากการได้รับยาในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 อาจทำให้ทารกที่คลอดออกมา มีปัญหาด้านพฤติกรรมหรือปัญหาทางด้านการเรียนหรือพัฒนาการช้า
  • ถ้าเป็นไปได้ควรเลี่ยง การใช้ยาจิตเวชทุกชนิดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาควรเป็นขนาดยาต่ำสุดที่ยังคงประสิทธิภาพในการรักษา
  • ในผู้ป่วยหลาย ๆ คนที่หยุดยา ทำให้อาการกำเริบผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเต็มที่ต้องให้ขนาดยาสูงซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์เพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปในผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ตั้งครรภ์แพทย์จะยังคงให้ยารักษาโรคจิตเภทต่อเพราะมีความเสี่ยงสูงหากผู้ป่วยหยุดยา
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาหลายชนิดร่วมกันในการรักษาเพราะจะทำให้เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อทารกเช่นกัน

ภาวะให้นมบุตร

  • ยาทางจิตเวชทุกชนิดผ่านทางน้ำนมได้ ระดับยาในน้ำนมจะมีความเข้มข้นประมาณ 1%ของความเข้มข้นในเลือดมารดา ตัวยาจึงอาจมีความเสี่ยงทำให้เกิดอาการข้างเคียงในทารกได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาหากทารกคลอดก่อนกำหนด หรือทารกมีปัญหาตับ ไต หัวใจ หรือระบบประสาท
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่สะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นระยะเวลานานหรือยาที่ทำให้ง่วงซึม
  • หากมารดารับประทานยาชนิดนั้นขณะตั้งครรภ์อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นขณะให้นม เนื่องจากปริมาณยาที่ทารกได้รับจากน้ำนมจะน้อยกว่าที่ได้รับขณะตั้งครรภ์
  • การเกิดอาการข้างเคียง มักสัมพันธ์กับปริมาณยา จึงควรให้มารดาได้รับยาในขนาดที่ต่ำสุดที่ได้ผลในการรักษาเพื่อให้เกิดความ เสี่ยงต่อทารกน้อยที่สุด
  • ควรหลีกเลี่ยงการให้ยาหลายชนิดร่วมกันเพราะทำให้ทารกมีโอกาสเกิดอาการข้างเคียงได้ง่าย
  • เวลาที่เหมาะสมที่สุดคือให้มารดากินยาทันทีหลังให้นมทารกเสร็จแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการให้นมทารกหลังกินยา 1-2 ชั่วโมงเพราะเป็นเวลาที่ระดับยาในเลือดสูงสุด

การใช้ยาทางจิตเวชในผู้ป่วยที่มีโรคทางกายนั้น จะต้องประเมินความเสี่ยงและผลประโยชน์ในการรักษาอย่างรอบคอบ เนื่องจากการใช้ยาโรคทางกายอาจมีอันตรายกิริยากับยาทางจิตเวช หรือผู้ป่วยที่มีการทำงานของอวัยวะสำคัญบกพร่อง เช่น ไต ตับ ระบบทางเดินอาหาร มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาเช่นกัน  นอกจากนั้นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทางจิตเวชอาจกระทบต่อโรคทางกายที่มีอยู่เดิม


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Treating Schizophrenia With Atypical Antipsychotics. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/list-atypical-antipsychotic-drugs-schizophrenia-2953113)
Treating Older Adults With Schizophrenia: Challenges and Opportunities. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3756792/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง
สัญญาณไฟฟ้าหัวใจถูกขัดขวาง

ภาวะนี้คืออะไร อันตรายหรือไม่ และเมื่อไหร่ที่ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ

อ่านเพิ่ม
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน
ประวัติของ การแพทย์แผนโบราณ ในประเทศไทย ในอดีต จนถึงปัจจุบัน

ประวัติ และการเปลี่ยนแปลงของแพทย์แผนโบราณในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

อ่านเพิ่ม