กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ลิ้นเป็นฝ้าขาว อันตรายหรือไม่?

สาเหตุอาจไม่ได้มาจากการรักษาความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ แต่อาจเป็นสัญญานเตือนว่า "ร่างกายกำลังป่วย" ก็เป็นได้
เผยแพร่ครั้งแรก 19 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
ลิ้นเป็นฝ้าขาว อันตรายหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือที่เรียกว่า (White tongue) คือ การที่บริเวณใดๆ ของลิ้นมีฝ้าสีขาวออกเทาเคลือบอยู่ ซึ่งฝ้าที่ขาวนั้นอาจเกิดขึ้นทั้งลิ้น หรือเกิดเป็นหย่อมๆ
  • ปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและสุขอนามัยที่ทำให้ลิ้นเป็นสีขาว เช่น ปากแห้ง แปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี ไม่แปรงฟัน ขาดน้ำ ดิ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ สูบบุหรี่ เกิดการระคายเคืองจากมุมแหลมในปาก เช่น ฟัน เหล็กดัดฟัน หรือฟันปลอม
  • ลิ้นเป็นฝ้าขาวยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ เช่น การอักเสบของโรคไลเคนพลานัส การมีเชื้อราในช่องปากซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา Candida โรคซิฟิลิส 
  • ฝ้าสีขาวที่ลิ้นจะหายไปเองได้ไม่ยาก หรืออาศัยการดูแลด้วยตนเอง เช่น รับประทานโปรไบโอติก แปรงฟันให้สะอาด แต่ถ้าอาการก็ยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย

ลิ้นเป็นฝ้าขาว หรือที่เรียกว่า (White tongue) คือ การที่บริเวณใดๆ ของลิ้นมีฝ้าสีขาวออกเทาเคลือบอยู่ ซึ่งฝ้าที่ขาวนั้นอาจเกิดขึ้นทั้งลิ้น หรือเกิดเป็นหย่อมๆ 

ทั้งนี้มีหลายสาเหตุที่ทำให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว และแต่ละสาเหตุนั้นก็มีวิธีรักษาที่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วอาการดังกล่าวไม่ทำให้เกิดอันตราย แต่ในบางกรณีลิ้นเป็นฝ้าขาวก็สามารถบ่งบอกได้ถึงปัญหา หรือความผิดปกติเกี่ยวกับสุขภาพที่กำลังก่อต่อขึ้นก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของลิ้นเป็นฝ้าขาว

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ลิ้นเป็นฝ้าคือ การดูแลสุขอนามัยของช่องปากได้ไม่ดีพอ หากเป็นเช่นนั้นปุ่มเล็กๆ บนลิ้นที่เรียกว่า Papillae จะบวมขึ้น และเกิดการอักเสบในช่องปาก เชื้อโรค เศษซากอาหาร และเซลล์ที่ตายแล้วสามารถไปติดที่ระหว่าง Papillae ทำให้ลิ้นเป็นสีขาวได้นั่นเอง 

สำหรับปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและสุขอนามัยที่ทำให้ลิ้นเป็นสีขาวมีดังนี้

  • ปากแห้ง โดยเกิดจากการหายใจทางปาก หรือการนอนโดยอ้าปากค้างไว้
  • แปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟันไม่ถูกวิธี
  • ไม่แปรงลิ้น
  • อยู่ในภาวะขาดน้ำ
  • เกิดการระคายเคืองจากมุมแหลมในปาก เช่น ฟัน เหล็กดัดฟัน หรือฟันปลอม
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • สูบบุหรี่ หรือเคี้ยวยาสูบ

สาเหตุอื่นๆ ของการเกิดลิ้นเป็นฝ้าขาว

นอกจากนี้การที่ลิ้นเป็นฝ้าขาวยังเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ ดังนี้

โรคไลเคนพลานัส

โรคไลเคนพลานัสทำให้เกิดการอักเสบและนั่นก็สามารถส่งผลต่อปาก โดยทำให้เกิดปื้นสีขาวและหนาในช่องปากและลิ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีแผลเปื่อยในปาก หรือเจ็บที่แก้มและเหงือก

ลิวโคพลาเคีย

ลิวโคพลาเคียเป็นฝ้าสีขาวที่เกิดขึ้นบนลิ้นและปากมักเกิดจากสารที่ทำให้ระคายเคืองอย่างยาสูบและบุหรี่ แต่ก็อาจมีต้นเหตุมาจากการอักเสบ และการระคายเคืองที่เกิดจากฟันปลอม แต่โดยทั่วไปแล้วไม่ทำให้เกิดอันตราย

เชื้อราในช่องปาก

การมีเชื้อราในช่องปากถือเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีขาว ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา Candida ผู้ป่วยมักมีฝ้าสีขาว หรือสีขาวผสมสีอื่นๆ เล็กน้อย และสามารถรู้สึกเจ็บโดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจมีแนวโน้มที่จะมีภาวะดังกล่าว ตัวอย่างเช่น คนที่เพิ่งรับประทานยาปฏิชีวนะ หรือผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการทำคีโม หรือเคมีบำบัดมา 

นอกจากนี้การดูแลสุขอนามัยช่องปากได้ไม่ดี หรือใส่ฟันปลอมที่ไม่เข้ากับปากก็ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน

โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สามารถแสดงอาการในช่องปาก หากไม่รักษาโรคนี้ก็สามารถทำให้เกิดฝ้าขาวบนลิ้นและทำให้เจ็บในช่องปากได้ ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสจำเป็นต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์

อย่างไรก็ตาม โรคร้ายบางโรคอย่างมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งลิ้น ก็สามารถทำให้ลิ้นเป็นสีขาวได้ แม้ว่าจะพบได้ไม่บ่อยก็ตาม นอกจากนี้การเป็นโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบแบบเรื้อรังก็อาจทำให้ลิ้นเป็นสีขาวได้เช่นกัน

เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์?

โดยมากแล้ว ฝ้าสีขาวที่ลิ้นจะหายไปเองได้ไม่ยาก แต่ถ้าดูแลช่องปากแล้วแต่อาการก็ยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการอื่นๆ เกิดขึ้นร่วมด้วย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป 

การรักษา

การรักษาฝ้าขาวที่ลิ้นที่เกิดจากบางโรคอาจจำเป็นต้องใช้การรักษาที่เฉพาะเจาะจง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • เชื้อราในช่องปาก รักษาโดยใช้ยาต้านเชื้อรา ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบยาที่ใช้หยด โดยใช้ยาเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
  • โรคไลเคนพลานัส รักษาโดยใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ในกรณีที่อาการร้ายแรง แต่ส่วนมากจะให้แพทย์ หรือทันตแพทย์ติดตามอาการ
  • ลิวโคพลาเคีย แพทย์จะติดตามอาการเพื่อให้มั่นใจว่า อาการไม่แย่ลงกว่าเดิม
  • โรคซิฟิลิส รักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเพนิซิลิน หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่

วิธีการรักษาที่สามารถทำที่บ้านได้

1.โปรไบโอติก

เราสามารถพบโปรไบโอติกได้ในอาหารและเครื่องดื่มประเภทหมักดอง เช่น กิมจิ ผักดอง คอมบูชา โยเกิร์ต ทั้งนี้โปรไบโอติกเป็นแบคทีเรียชนิดที่ไม่เพียงแต่ดีต่อระบบย่อยอาหารเท่านั้น 

แต่ยังมีงานวิจัยที่พบว่า โปรไบโอติกสามารถช่วยต่อสู้กับเชื้อราในปากและแบคทีเรียที่ไม่ดีชนิดอื่นๆ ได้ ซึ่งโปรไบโอติกอาจช่วยให้สภาพในช่องปากสมดุล และป้องกันไม่ให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว

2.ใช้เบกกิ้งโซดาขัด

การนำเบกกิ้งโซดาสำหรับทำอาหารโรยบนแปรงสีฟัน จากนั้นนำมาขัดที่ลิ้น ฟัน และเหงือกอาจช่วยลดแบคทีเรียที่ทำให้ลิ้นเป็นสีขาว มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า เบกกิ้งโซดาช่วยฆ่าแบคทีเรียที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในช่องปากอย่างสเตรปโตคอกคัส (Streptococcus) และแคนดิดา (Candida) ได้

3.กระเทียมดิบ

การรับประทานกระเทียมดิบอาจช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า แคนดิดา ได้  มีงานวิจัยพบว่า สารประกอบอัลลิซินที่พบได้ในกระเทียมมีคุณสมบัติช่วยกำจัดแบคทีเรียชนิดแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ได้ 

อย่างไรก็ดี คุณสามารถรับประทานกระเทียบดิบทั้งกลีบทุกวัน หรือจะสับแล้วรับประทานกับน้ำมันมะกอกเพียงเล็กน้อย เพื่อลดโอกาสการเกิดฝ้าขาวที่ลิ้น

4.ขูดลิ้น

การขูดลิ้นเบาๆ จากด้านหลังไปด้านหน้าอาจช่วยลดและกำจัดแบคทีเรีย รวมถึงเศษต่างๆ ที่ติดค้างอยู่ในช่องปากได้ ซึ่งมีหลายบริษัทที่ผลิตอุปกรณ์สำหรับขัดลิ้นโดยเฉพาะ แต่คุณก็สามารถใช้มุมของช้อนขัดลิ้นได้เช่นกัน

วิธีป้องกัน

  • ดูแลสุขอนามัยช่องปากให้ดี โดยแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีน้อยวันละ 1 ครั้ง
  • ใช้อุปกรณ์สำหรับขูดลิ้นทุกวัน หรืออาจใช้แปรงสีฟันก็ได้
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้หลากหลายและมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  • ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจสภาพช่องปาก

โดยทั่วไปแล้ว การมีฝ้าสีขาวที่ลิ้นมักไม่เป็นอันตราย ถ้าลองปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ตามวิธีที่เรากล่าวไป แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย คุณก็อย่าลังเลที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิง ผู้ชายทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
White Tongue: Symptoms, Signs, Causes & Treatment. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/white_tongue/symptoms.htm)
White Tongue & Thrush: Symptoms, Causes, Treatments. Cleveland Clinic. (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/17654-white-tongue)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป