กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เรื่องของคอเลสเตอรอล

เผยแพร่ครั้งแรก 11 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เรื่องของคอเลสเตอรอล

เรื่องของคอเลสเตอรอล

อ่านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล รู้หรือไม่ว่าคอเลสเตอรอลก็มีประโยชน์ต่อร่างกายคุณ มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกตัวในร่างกาย ฉะนั้นแล้วมารู้จักจักคอเลสเตอรอลรวมทั้งระดับของคอเลสเตอรอลกันเถอะ! สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

เช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่มีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี ไขมันก็เช่นกัน คนทั่วไปมักมีความเข้าใจผิดว่าไขมันทุกชนิดไม่ดีต่อร่างกาย ซึ่งไม่ใช่ความจริงแม้แต่น้อย และไขมันตัวที่ถูกใส่ร้ายบ่อยกว่าใครเพื่อนก็คือคอเลสเตอรอล

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
สูตรอาหารเสริม รวมสารสำคัญ 9 ชนิด สำหรับ เบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูง ความดัน ไขมัน

ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • ทุกคนทราบกันดีว่าคอเลสเตอรอลเป็นสาเหตุของโรคผนังหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจ และโรคต่างๆ มากมาย แต่น้อยคนนักที่ทราบว่าคอเลสเตอรอลจำเป็นต่อร่างกายเรา
  • อย่างน้อยสองในสามของคอเลสเตอรอลในร่างกายถูกสร้างจากตับหรือลำไส้ ทั้งยังพบได้ในสมอง ต่อมหมวกไต และเยื่อหุ้มเส้นประสาท และเมื่อพูดถึงแง่ดีของคอเลสเตอรอลแล้ว ก็ต้องยอมรับว่ามันดี ดีมาก และดีมากๆ
  • คอเลสเตอรอลที่ผิวหนังจะถูกเปลี่ยนเป็นวิตามินดีที่มีประโยชน์กับร่างกาย เมื่อได้รับการกระตุ้นจากรังสียูวีในแสงแดด
  • คอเลสเตอรอลมีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญอาหารในกลุ่มแป้งหรือคาร์โบไฮเดรต (ยิ่งรับประทานแป้งมาก ร่างกายก็จะสร้างคอเลสเตอรอลมากขึ้นตาม)
  • คอเลสเตอรอลเป็นวัตถุดิบหลักในการสร้างออร์โมนกลุ่มสเตียรอยด์ จากต่อมหมวกไต ซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิต เช่น คอร์ติโซน
  • คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ทุกตัวในร่างกายและยังจำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง
  • ความแตกต่างทางด้านพฤติกรรมของคอเลสเตอรอลขึ้นอยู่กับโปรตีนที่มันเกาะด้วย ลิโพโปรตีนเป็นโปรตีนในเลือดที่ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล
  • ลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (แอลดีแอล) มีจำนวนประมาณร้อยละ 65 ของคอเลสเตอรอลในเลือด และจัดว่าเป็นผู้ร้ายที่คอยขนถ่ายคอเลสเตอรอลไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดแดง ซึ่งเมื่อรวมเข้ากับสารอื่นๆ จะกลายเป็นคราบที่อุดตันเส้นเลือด
  • ลิโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำมาก (วีแอลดีแอล) มีเพียงร้อยละ 15 ของคอเลสเตอรอลในเลือด แต่เป็นสารที่ตับต้องการเพื่อใช้ในการสร้างแอลดีแอล ยิ่งมีวีแอลดีแอลมาก ตับก็จะยิ่งส่งแอลดีแอลออกมามาก และคุณก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มมากขึ้นด้วย
  • ลิโพโปรตีนความหนาแน่นสูง (เอสดีแอล) มีประมาณร้อยละ 20 ของคอเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด มีส่วนประกอบหลักคือเลซิทิน เป็นพระเอกที่คอยทำหน้าที่ล้างคราบจากผนังหลอดเลือด และคอยขนถ่ายคอเลสเตอรอล โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน (การศึกษาล่าสุดพบว่า ผู้ที่มีสะโพกใหญ่ แต่เอวบาง จะมีเอชดีแอลสูงกว่าผู้ที่อ้วนแบบลงพุง ซึ่งอาจเป็นคำอธิบายว่าเพราะเหตุใดผู้หญิงจึงอายุยืนกว่าผู้ชายถึงแปดปีโดยเฉลี่ย)
  • สั้นๆ ง่ายๆ คือ ยิ่งคุณมีเอชดีแอลมาก ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็ยิ่งน้อย
  • อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ถึงแม้ว่าอัตราการบริโภคไข่ในสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันจะเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของเมื่อปี ค.ศ. 1945 แต่อัตราการเป็นโรคหัวใจไม่ได้ลดลงตามไปด้วยแต่อย่างใด และแม้ว่าสมาคมโรคหัวใจ สหรัฐอเมริกาจะลงความเห็นว่าไข่มีอันตราย แต่การไม่รับประทานเลยก็อาจมีอันตรายพอกัน ไข่ไม่เพียงแต่จะมีโปรตีนสมบูรณ์แบบที่สุดกว่าอาหารอื่น มันยังมีเลซิทินซึ่งช่วยในการดูดซึมของไขมัน และที่สำคัญที่สุดคือ ช่วยเพิ่มระดับของเอชดีแอลได้!

ระดับของคอเลสเตอรอล

  • เมื่อพูดถึงระดับคอเลสเตอรอล เรามักจะหมายความถึงระดับของคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือด หรือ serum cholesterol ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่เหมาะสมสำหรับ ทุกคนคือไม่เกินกว่า 200 มก./ดล.
  • อัตราส่วนของเอชดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดดี) ต่อแอลดีแอล (คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี) มีความสำคัญเช่นเดียวกับอัตราส่วนของเอชดีแอลต่อคอเลสเตอรอลในเลือดทั้งหมด ยิ่งคุณมีเอชดีแอลมาก คุณก็ยิ่งมีเกราะคุ้มกันการอุดตันของเส้นเลือดแดงมากขึ้น
  • การตรวจวัดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดมักรวมไปถึงการวัดระดับ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นไขมันที่ต่างจากคอเลสเตอรอล แต่มีความเชื่อโยงกันอยู่ กล่าวคือ คุณอาจมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงโดยที่ระดับคอเลสเตอรอลต่ำ (หรือในทางกลับกัน) ก็ได้ แต่การลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลงมักช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงด้วย
  • จำกัดการรับประทานไขมันในแต่ละวันของคุณให้ไม่เกินกว่าร้อยละ 30 (หากต่ำกว่าร้อยละ 20 จะยิ่งดี) ของแคลอรีรวมทั้งหมด จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลที่สูงลงได้มาก อีกทั้งไม่ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวเกินกว่าร้อยละ 10 ด้วย

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Everything You Need to Know About Your Cholesterol. Health Essentials from Cleveland Clinic. (https://health.clevelandclinic.org/everything-you-need-to-know-about-your-cholesterol/)
5 Things You Should Know About Cholesterol. Health.com. (https://www.health.com/nutrition/5-things-you-should-know-about-cholesterol)
Cholesterol Levels: What You Need to Know: MedlinePlus (https://medlineplus.gov/cholesterollevelswhatyouneedtoknow.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป