อันตรายจากการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป

เผยแพร่ครั้งแรก 24 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อันตรายจากการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป

อ่านข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับอันตรายจากการรับประทานน้ำตาลมากเกินไป แล้วอะไรเป็นปัจจัยหลักและเป็นสาเหตุของความอ้วน ตลอดจนปริมาณน้ำตายที่อยู่ในยาต่างๆ หากคุณสนใจ สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

ปัญหาใหญ่ของน้ำตาลก็คือ พวกเรารับประทานมันมากเกินไป (คนละ กว่า 154 ปอนด์ในแต่ละปี) และบ่อยครั้งที่เราไม่รู้ตัวเองเลย อาหารใน คอมคาร์โบไฮเดรตที่ให้ความหวานทั้งหมดจัดว่าเป็นน้ำตาล แม้ว่าเราจะเรียกชื่ออื่น เช่น ในซีเรียลหนึ่งกล่องอาจจะมีซูโครสเป็นส่วนประกอบอันดับสาม คอร์นไซรัปเป็นส่วนประกอบอันดับห้า และน้ำผึ้งเป็นส่วนประกอบอันดับเจ็ด คุณอาจจะไม่รู้ตัวเลยว่า แท้จริงแล้วคุณกําลังรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ประกอบอยู่ราวร้อยละ 50!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้บริโภคทุกวันนี้ตกหลุมพรางของน้ำตาลตั้งแต่เริ่มแรก อาหารสูตรสําหรับเด็กทารกส่วนใหญ่มักเติมรสหวานด้วยน้ำตาล เช่นเดียวกับอาหารเด็กเล็ก (ควรอ่านฉลากก่อน) เนื่องจากน้ำตาลทําหน้าที่เป็นทั้งสารกันเสียและสาร ดูดซับความชื้น มันจึงมักถูกใส่ลงในผลิตภัณฑ์ที่เราไม่คาดคิดว่าจะมี เช่น เกลือ เนยถั่วลิสง ผักกระป๋อง และซุปก้อน คุณเชื่อไหมว่าซอสมะเขือเทศ ที่คุณใส่ลงบนแฮมเบอร์เกอร์นั้นมีน้ำตาลน้อยกว่าไอศกรีมเพียงร้อยละ 8 และ คุณเชื่อไหมว่าครีมที่เติมลงในกาแฟมีน้ำตาลอยู่ร้อยละ 65 ในขณะที่ช็อกโกแลต แท่งมีน้ำตาลอยู่ร้อยละ 51

ความเป็นจริงคือ พวกเรากําลังรับประทานน้ำตาลมากเกินกว่าที่สุขภาพของเราจะรับได้เป็นเรื่องที่ไม่มีข้อโต้แย้งแต่อย่างใดว่าน้ำตาลเป็นปัจจัยหลักของโรคฟันผุ อีกทั้งโรคอ้วนซึ่งหนึ่งในสามของประชากรบนโลกกําลังเผชิญ โรคด้านเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในถุงน้ำดี ปวดหลัง และข้ออักเสบ น้ำตาลไม่เพียงแต่เป็นสาเหตุของความอ้วน น้ำตาล ในอาหารยังกระตุ้นให้คุณรับประทานมากขึ้น และหากคุณลดปริมาณแคลอรีที่รับประทานในแต่ละวัน โดยไม่ลดปริมาณน้ำตาลที่รับประทานลง คุณจะสูญเสียสารอาหารไปเร็วกว่าน้ำหนักตัว น้ำตาลยังเป็นปัจจัยทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ก่อให้เกิดเบาหวานและโรคหัวใจอีกด้วย

มันหวานเพียงใด

น้ำตาลแฝงคือน้ำตาลที่ซ่อนอยู่ในอาหารที่คุณไม่คาดคิด (เชื่อไหมน้ำโทนิกยี่ห้อแคนาดาดราย มีน้ำตาลประมาณ 18.25 ช้อนชาต่อกระป๋อง ขนาด 12 ออนซ์) หากคุณต้องการเป็นตํารวจตรวจจับน้ำตาล ผมแนะนํา ให้เริ่มที่การอ่านฉลาก ควรมองหาสารที่ใส่แทนน้ำตาล เช่น คอร์นไซรัปหรือ น้ำตาลข้าวโพด และมองหาคําที่ลงท้ายด้วยเสียง -โอส (-ose) ซึ่งมักเป็นสาร ในกลุ่มน้ำตาล น้ำตาลไม่ว่าจะใช้ชื่ออะไรก็ยังคงเป็นน้ำตาล และไม่เว้นแม้แต่ยา ก็ยังถูกเติมรสหวานลงไป

ยา                                                                                             ปริมาณน้ำตาล ในยา 1 ช้อนโต๊ะ

Alternagel liquid

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Basaljel extra-strength liquid

Gaviscon liquid

GaviScon-2 tablets

Maalox plus tablets

Mylanta liquid

Riopan Plus chew tablets

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

 

2,000 มก.

375 มก.

1,500 มก.

2,400 มก.

575 มก.

2,000 มก.

610 มก.

 

หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับน้ำตาลหรือแซ็กคารินในยา สามารถปรึกษาเภสัชกรได้ครับ

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why is sugar bad for you? 5 reasons. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324854)
The sweet danger of sugar. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/heart-health/the-sweet-danger-of-sugar)
How does sugar in our diet affect our health?. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/how-does-sugar-in-our-diet-affect-our-health/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
การนอน (Sleep)
การนอน (Sleep)

นอนเท่าไหร่ถึงจะพอ? ความรู้เรื่องการนอนเพื่อสุขภาพ

อ่านเพิ่ม