การถ่ายเลือดคือการนำเลือดจากคนคนหนึ่ง (ผู้บริจาคเลือด) ไปสู่อีกคนหนึ่ง
กระบวนการถ่ายเลือดมีขึ้นเพื่อ:
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- เพื่อทดแทนเลือดที่เสียไประหว่างการผ่าตัดใหญ่ การคลอดบุตร หรือจากอุบัติเหตุ
- เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาประเภทอื่น ๆ โดยภาวะโลหิตจางเป็นภาวะที่ผู้ป่วยจะมีเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ
- เพื่อรักษาโรคของระบบโลหิตอย่างเช่นทัลลาสซิเมีย หรือโรคเม็ดเลือดรูปเคียว เป็นต้น
คุณสามารถปฏิเสธเข้ารับการถ่ายเลือดก็ได้ แต่ต้องเข้าใจด้วยว่ามันไม่ใช่ผลดีเท่าไรนัก การรักษาหรือการผ่าตัดบางอย่างไม่สามารถดำเนินการได้อย่างปลอดภัยหากไม่มีการถ่ายเลือดเข้ามาเกี่ยวข้อง
กระบวนการ
เลือดจะถูกส่งผ่านทางหลอดพลาสติกที่จะถูกสอดเข้าเส้นเลือดในแขนของคุณ แต่ละยูนิทจะใช้เวลาระหว่าง 30 นาทีไปจนถึง 4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดที่ต้องใช้
การถ่ายเลือดเกิดขึ้นเร็วขนาดไหน?
เซลล์เม็ดเลือดแดงหนึ่งถุง (ยูนิท) สามารถให้เลือดได้นาน 2 ถึง 3 ชั่วโมง และหากจำเป็นก็สามารถเปลี่ยนยูนิทใหม่ได้เรื่อย ๆ ยกตัวอย่างเช่นในการรักษาภาวะเลือดออกรุนแรงจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
สำหรับเกล็ดเลือดหรือพลาสม่า หนึ่งยูนิทสามารถให้ได้ 30 ถึง 60 นาที
ความปลอดภัย
การบริจาคเลือดเป็นกระบวนการที่ผู้ให้บริจาคสมัครใจเข้าร่วมเอง โดยทุกครั้งจะมีการตรวจสอบและคัดเลือกผู้ร่วมบริจาคเพื่อให้มั่นใจว่าเลือดของพวกเขาสะอาดและปลอดภัย ก่อนเข้าบริจาคเลือด ผู้ให้บริจาคจะถูกสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ แนวทางการใช้ชีวิต และประวัติทางการแพทย์ของพวกเขา หลังจากที่มีการบริจาคเลือดแล้ว เลือดที่ได้มายังต้องผ่านการทดสอบหาการติดเชื้อเหล่านี้ก่อน:
- ไวรัสตับอักเสบ B
- ไวรัสตับอักเสบ B
- HIV และเอดส์
- ซิฟิลิส
- ไวรัส human T-cell lymphotropic (HTLV) ซึ่งเป็นไวรัสอันตรายที่หายาก บางคนที่มีไวรัสนี้จะป่วยเป็นโรคลูคีเมีย
เมื่อเทียบกับความเสี่ยงที่มีอยู่ทุกวันนี้ การติดเชื้อจากการถ่ายเลือดนั้นเกิดขึ้นได้ยากมาก ๆ ก่อนการถ่ายเลือด คุณจะถูกตรวจสอบกรุ๊ปเลือดเพื่อให้เข้ากับเลือดที่จะได้รับ โดยอาจมีการใช้สายรัดเข้ามาช่วยระบุข้อมูลของคุณ โดยรายละเอียดที่ระบุบนสายรัดจะมีชื่อนามสกุลจริงและวันที่เกิด ข้อมูลบนสายรัดจะถูกตรวจสอบกับถุงเลือดที่ใช้ก่อนการถ่ายเลือดทุกครั้ง ซึ่งระหว่างการถ่ายเลือด คุณจะถูกจับตามองอาการตลอดเวลา
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
เลือดเหล่านี้ทำหน้าที่อะไร?
เมื่อผู้บริจาคเลือดให้เลือดของพวกเขา จะมีการใช้อุปกรณ์พิเศษสำหรับผู้ให้บริจาค ซึ่งจะคัดแยกเลือดที่ได้ไปตามนี้
- เซลล์เม็ดเลือดแดง: ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย และเป็นประเภทยูนิทที่ถูกใช้รักษาภาวะโลหิตจาง
- เกล็ดเลือด: องค์ประกอบที่ช่วยในการสมานบาดแผลที่ช่วยหยุดการไหลของเลือด การถ่ายเกล็ดเลือดสามารถใช้เพื่อป้องกันการเลือดออกรุนแรงของผู้ป่วยที่มีระดับเกล็ดเลือดต่ำ อย่างเช่นผู้ป่วยที่กำลังทำคีโมอยู่ เป็นต้น (การรักษามะเร็งที่มีผลข้างเคียงรุนแรง)
- พลาสม่า: ของเหลวที่เป็นองค์ประกอบส่วนมากของเลือด โดยพลาสม่าประกอบด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อเซลล์ของร่างกายอย่างโปรตีน ซึ่งช่วยทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือด
- เซลล์เม็ดเลือดขาว: ตัวที่มีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อ
เหตุใดการถ่ายเลือดจึงจำเป็น?
การถ่ายเลือดมีอยู่หลายประเภท การเลือกใช้งานขึ้นอยู่กับปัจจัยดังต่อไปนี้:
- สุขภาพโดยรวมของคุณ
- ประวัติการรักษา
- ประเภทของการผ่าตัดที่กำลังดำเนินการ
- ความรุนแรงของสภาวะของคุณ
โดยผู้ใหญ่ที่มีขนาดร่างกายมาตรฐานต้องใช้เลือดประมาณ 5 ลิตร สำหรับการเสียเลือดปริมาณน้อย (1.5 ลิตร) สามารถใช้น้ำเกลือแทนได้ ซึ่งร่างกายจะแทนที่สารดังกล่าวด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดงใหม่ภายในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์
ประเภทของการถ่ายเลือดมีดังต่อไปนี้:
การถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดง
เหตุผลสำหรับการถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดงนั้นก็เพื่อรักษาโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายขาดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจน จนทำให้เนื้อเยื่อร่างกายและเซลล์ขาดออกซิเจน
โรคโลหิตจางสามารถก่อให้เกิดการเสียเลือดรุนแรงระหว่างกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่นระหว่างการคลอดบุตร การผ่าตัดใหญ่ หรือจากอุบัติเหตุ
โรคโลหิตจางยังสามารถเกิดมาจาก:
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
สภาวะทางสุขภาพที่มีอัตราการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าปรกติ: ยกตัวอย่างเช่นผู้ป่วยโรคโลหิตจางที่ขาดธาตุเหล็ก วิตามิน B12 หรือโฟเลต (มักรักษาได้โดยไม่จำเป็นต้องเข้าถ่ายเลือด) และโรคมะเร็งบางชนิดอย่างมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สภาวะทางสุขภาพที่ขัดขวางการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดง: อย่างเช่นโรคเม็ดเลือดจางรูปเคียว และทัลลาสซิเมีย
สภาวะหรือปัจจัยที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย: ยกตัวอย่างเช่นการติดเชื้อบางประเภทอย่างมัลลาเลีย การใช้ยาหรือสารพิษบางประเภทอย่างแอลกอฮอล์หรือสารตะกั่ว หรือมาจากการที่ระบบภูมิต้านทานเข้าใจผิดจนไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สุขภาพดีอยู่
หากแพทย์แนะนำให้คุณเข้ารับการถ่ายเลือด คุณควรตั้งคำถามว่าทำไมกระบวนการนี้จึงจำเป็น และมีแนวทางรักษาอื่นอีกไหม คุณมีสิทธิ์ที่จะไม่เข้ารับการถ่ายเลือด ซึ่งคุณต้องเข้าใจถึงผลที่จะตามมาหากไม่ถ่ายเลือด เนื่องจากการรักษาทางการแพทย์หรือการผ่าตัดบางอย่างจะไม่ปลอดภัยหากปราศจากการถ่ายเลือดควบคู่ไปด้วย
การถ่ายเกล็ดเลือด
การถ่ายเกล็ดเลือดถูกใช้เพื่อรักษาผู้ที่มีระดับเซลล์เกล็ดเลือดในเลือดต่ำ หากคุณเป็นภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คุณจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเลือดไหลไม่หยุดแม้จะประสบกับอุบัติเหตุเล็กน้อยเท่านั้น
สาเหตุของการเกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำอาจต้องทำการรักษาด้วยการถ่ายเกล็ดเลือดมีดังนี้:
- มะเร็ง: อย่างเช่นลูคีเมีย หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
- การบำบัดคีโม หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก: ซึ่งจะไปลดกระบวนการผลิตเกล็ดเลือดลง
- โรคตับเรื้อรัง หรือตับแข็ง: ซึ่งเกิดมาจากหลาย ๆ สาเหตุรวมไปถึงการบริโภคแอลกอฮอล์มากเกินไป
- ภาวะติดเชื้อหรือการติดเชื้อรุนแรง: อาจส่งผลทำให้เกิดภาวะเลือดแข็งตัวผิดปรกติ หรือมีเกล็ดเลือดต่ำได้
การถ่ายพลาสม่า
พลาสม่าคือของเหลวที่ผสมในน้ำเลือดซึ่งประกอบไปด้วยโปรตีนที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด การถ่ายพลาสม่านั้นจำเป็นในการบรรเทาภาวะเลือดออกรุนแรง อาทิเช่นหลังจากการผ่าตัด หรือการคลอดบุตร เป็นต้น การถ่ายประเภทนี้ยังจำเป็นต่อโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการผลิตโปรตีนในเลือดอีกด้วย (อย่างเช่นโรคตับ)
การถ่ายแกรนูโลไซท์
แกรนูโลไซท์คือเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อของร่างกาย การถ่ายแกรนูโลไซท์มักไม่ค่อยเกิดขึ้น แต่กระบวนการนี้ก็จำเป็นสำหรับการรักษาภาวะติดเชื้อรุนแรงหลังการทำคีโมหรือการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ เป็นต้น
การผ่าตัดศัลยกรรม
นักศัลยกรรมมักจะใช้วิธีถ่ายเลือดไปพร้อมกับการผ่าตัดเพื่อลดปริมาณของเลือดที่เสียไป ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านไป การดำเนินการนี้มีความง่ายดายมากขึ้น เนื่องมาจากการใช้เทคนิคผ่าตัดแบบส่องกล้องที่ซึ่งจะใช้วิธีกรีดรอยบนร่างกายที่มีขนาดเล็กมากแทน
แต่กระนั้นการผ่าตัดศัลยกรรมบางอย่างก็จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่ทำให้เลือดของผู้ป่วยออกเยอะ จึงทำให้การถ่ายเลือดยังคงจำเป็นต่อการรักษาอยู่ดี
อีกทั้งการเข้ามาของกระบวนการดูแลคนไข้ระหว่างการผ่าตัดที่ก้าวหน้าอย่างมาก ทำให้ระหว่างการผ่าตัดศัลยกรรมนั้นมีการสูญเสียเลือดและเซลล์ร่างกายไปน้อยมาก แพทย์สามารถนำสิ่งที่กระจัดกระจายออกจากร่างกายกลับเข้าไปใหม่ได้ ซึ่งคุณสามารถสอบถามแพทย์หรือพยาบาลที่ต้องดูแลเคสผ่าตัดของคุณได้ว่ากระบวนการดังกล่าวเหมาะสมกับการผ่าตัดที่คุณต้องทำหรือไม่
การเตรียมการสำหรับรับการถ่ายเลือด
หากคุณต้องเข้ารับการถ่ายเลือดตามมาตรการรักษา แพทย์หรือพยาบาลเจ้าของไข้จะเป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดให้แก่คุณ
ในการขอความยินยอมจากคุณ แพทย์ต้องแจ้งให้คุณทราบถึง:
- เหตุผลที่ว่าทำไมจึงต้องมีการถ่ายเลือดขึ้น และมีแนวทางอื่น ๆ อีกไหม
- ความเสี่ยงและภาวะข้างเคียงที่มาจากการถ่ายเลือด
- แต่สำหรับบางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมจากคนไข้ก่อน อาทิเช่นหากคนไข้หมดสติจากอุบัติเหตุใหญ่ เป็นต้น
เลือดจะถูกถ่ายอย่างไร?
จะมีการเก็บตัวอย่างเลือดของคุณก่อนการถ่ายเลือด เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ของเลือดที่ต้องถ่ายกับเลือดของคุณ
คุณต้องระบุชื่อนามสกุลจริงกับวันที่เกิด โดยข้อมูลประจำตัวของคุณจะถูกจดลงสายรัดที่ใช้ตรวจสอบทุกครั้งก่อนที่แพทย์จะใช้ถุงเลือด
เลือดที่ถ่ายให้จะส่งผ่านท่อพลาสติกขนาดเล็กที่เสียบเข้าไปในเส้นเลือดที่แขน ท่อจะเชื่อมกับตัวหยด ซึ่งตัวหยดดังกล่าวจะหยดเลือดเข้าไปในเส้นเลือดที่แขน
อาจมีการรักษาอื่น ๆ ควบคู่ไปตามภาวะของคุณ อีกทั้งผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้ท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าซึ่งจะสอดเข้าไปยังทรวงอกแทน
อาจมีการใช้สายเสียบหลอดเลือดดำส่วนกลางประกอบด้วย ซึ่งจะเสียบเข้าที่ข้อแขน
ระหว่างการถ่ายเลือด
ผู้ได้รับเลือดจะรู้สึกไม่สบายตัวเล็กน้อยขณะที่ท่อถูกเสียบเข้าไปยังเส้นเลือด แต่จะไม่รู้สึกอะไรขณะที่กำลังทำการถ่ายเลือด
คุณจะถูกจับตามองตามช่วงเวลา และหากคุณรู้สึกไม่สู้ดีระหว่างการถ่ายเลือด ต้องแจ้งผู้ดูแลอาการของคุณในทันที
บางคนอาจมีอุณหภูมิร่างกายตกลงจนเกิดอาการหนาวสั่น หรืออาจมีผื่นขึ้น ปฏิกิริยาเหล่านี้ถูกจัดว่าเบาและมักรักษาได้ด้วยการใช้พาราเซตตามอล หรือผ่อนความเร็วการถ่ายเลือดลง
ปฏิกิริยาต่อต้านที่รุนแรงระหว่างการถ่ายเลือดจะเกิดขึ้นได้ยากมาก ซึ่งหากเกิดขึ้น แพทย์จะทราบทันทีที่เห็นอาการของคุณ (พวกเขาผ่านการฝึกฝนเล่าเรียนกับสถานการณ์ดังกล่าวมาดี) ซึ่งพวกเขาจะทำการรักษาคุณทันที หากคุณยังคงมีความกังวลหรือสงสัยอยู่ก็สามารถปรึกษากับแพทย์ พยาบาล หรือแพทย์ผดุงครรภ์ของคุณได้ตลอดเวลา
เลือดหนึ่งยูนิทสามารถถ่ายได้ประมาณ 30 นาทีจนไปถึง 4 ชั่วโมง
ความเสี่ยง
การถ่ายเลือดเป็นกระบวนการทั่วไปที่มีความเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงรุนแรงที่ต่ำมาก เนื่องจากจะมีการตรวจความเข้ากันได้ของเลือดผู้บริจาคกับเลือดของคุณก่อนการถ่ายจริง และตลอดกระบวนการยังมีการจับตามองดูสภาวะของคุณตลอดเวลาอีกด้วย
ปฏิกิริยาแพ้
การเกิดภาวะแพ้เลือดที่ถ่ายเข้าร่างกายนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่หายากมาก โดยในปี 2013 มีเพียง 320 กรณีที่พบปฏิกิริยาต่อต้านหลังจากการถ่ายเลือดไปแล้วเท่านั้น (ในประเทศ UK)
ปฏิกิริยาแพ้ดังกล่าวเกิดมาจากระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองต่อโปรตีนหรือสารอื่น ๆ ในเลือดที่ถ่ายเข้า ทำให้เกิดอาการแก้ขึ้น ซึ่งมักเกิดขึ้นไม่รุนแรง หรือหายไปเองหลังการถ่ายเลือด
อาการแพ้ทั่วไปมีดังนี้:
- มีผื่นแดงและคันตามผิวหนัง (ลมพิษ)
- มือ แขน ขา เท้า และข้อขาบวมออก (อาการเท้าบวม)
- วิงเวียน
- ปวดศีรษะ
- อาการแพ้ที่พบเห็นได้ไม่บ่อยนักมีดังนี้:
- มีไข้สูงที่ 38 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
- หนาวสั่น
- หายใจสั้น
- ริมฝีปากและเปลือกตาบวม
โดยปฏิกิริยาเหล่านี้มักจะทุเลาหรือหายไปหลังการถ่ายเลือดเสร็จสิ้น อีกทั้งในบางกรณีก็สามารถควบคุมรักษาอาการเหล่านี้ด้วยยาแอนติฮิสตามินหรือพาราเซตตามอล
ปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน
การแพ้รุนแรงเฉียบพลันเป็นปฏิกิริยาแพ้ที่อันตรายจนถึงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับตัวแอนติบอดีและสารอื่น ๆ ในเลือด โดยในปี 2013 ที่ประเทศอังกฤษพบกรณีผู้ที่มีปฏิกิริยารุนแรง 33 คน ซึ่งเป็นมาจากการถ่ายเลือดเอง
ภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลันอาจเกิดขึ้นทันทีที่เริ่มถ่ายเลือด ซึ่งมีอาการดังนี้:
- หายใจติดขัดรุนแรง
- รู้สึกจะเป็นลม หรือมีเหงื่อออกท่วม
- ขึ้นผื่น หรือมีการบวมที่เปลือกตาหรือริมฝีปาก
- การรักษาภาวะแพ้รุนแรงเฉียบพลันมักรักษาได้ด้วยการฉีดยาอะดรีนาลีน
ภาวะน้ำในร่างกายมากเกินไป
การถ่ายเลือดเข้าร่างกายในปริมาณที่มากเกินไปภายในเวลาสั้น ๆ จะทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำเกินขึ้น ซึ่งเป็นเช่นนี้ได้มากในผู้ป่วยที่อ่อนแอ สูงอายุ หรือมีน้ำหนักมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์
การมากเกินของของเหลวทำให้หัวใจไม่สามารถใช้แรงสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกายได้เพียงพอ (ภาวะหัวใจล้มเหลว) ซึ่งก่อให้เกิดอาการหายใจช่วงสั้น ๆ สำหรับผู้ป่วยสูงอายุและผู้ที่มีภาวะทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ อย่างผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะเป็นภาวะน้ำเกินได้ง่าย
ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาเพื่อขับของเหลวออกจากร่างกาย (ยาขับปัสสาวะ) และด้วยการลดความเร็วในการถ่ายเลือดลง เป็นต้น
การบาดเจ็บที่ปอด
ความเสี่ยงร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ยากที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเลือดก็คือการเกิดการบาดเจ็บของปอดเฉียบพลันที่เกิดจากการถ่ายเลือด (TRALI) โดยมักเกิดกับกรณีการถ่ายเกล็ดเลือดกับการถ่ายพลาสม่ามากกว่าการถ่ายเซลล์เม็ดเลือดแดง
TRALI เป็นสภาวะที่ไม่เป็นที่รู้จักนัก ที่ซึ่งปอดเกิดการอักเสบรุนแรงภายใน 6 ชั่วโมงของการถ่ายเลือด โดยการอักเสบระดับสูงจะทำให้ปอดขาดออกซิเจน และในบางกรณีมันก็อันตรายถึงชีวิต
ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากเชื่อว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันที่ผิดปรกติบางชนิดก่อให้เกิดการอักเสบที่เกี่ยวพันกับ TRALI
การรักษา TRALI ต้องมีการใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ซึ่งต้องทำเช่นนี้ไปจนกว่าการอักเสบที่ปอดจะลดลง
ปฏิกิริยาเม็ดเลือดแตก
ปฏิกิริยาเม็ดเลือดแตกตัวจากการถ่ายเลือด (HTR) เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยากับเลือดที่ได้รับมาและเริ่มโจมตีเซลล์เม็ดเลือดนั้น ๆ
อาการของ HTR สามารถเกิดขึ้นหลังเสร็จสิ้นหรือระหว่างการถ่ายเลือด หรืออาจเกิดขึ้นภายหลังนานไม่กี่วันก็ได้ ปฏิกิริยาดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกับปฏิกิริยาที่มักพบหลังการถ่ายเลือดอื่น ๆ แต่ปัสสาวะของผู้ป่วยจะออกสีเข้มมากกว่าเนื่องมาจากการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงนั่นเอง
HTR เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ยากมาก ซึ่งมักเกิดมาจากสาเหตุต่อไปนี้:
- ผู้ป่วยมีแอนติบอดีที่หายาก ซึ่งไม่สามารถตรวจพบได้ระหว่างขั้นตอนการตรวจเลือด
- สำหรับกรณีที่เกิดปฏิกิริยาแบบล่าช้า ร่างกายได้สร้างแอนติบอดีใหม่ขึ้นมาหลังการถ่ายเลือด ซึ่งไปทำลายเลือดที่ถ่ายเข้าไป
- และในกรณีที่หายากมาก ๆ คือการให้เลือดที่ไม่เข้ากับกรุ๊ปเลือดของคนไข้ ทำให้ต้องมีการระบุข้อมูลรายบุคคลไว้ที่หลอดตัวอย่างเลือดให้ชัดเจนและถูกต้อง และต้องทำการตรวจสอบถุงเลือดที่จะถ่ายให้กับข้อมูลคนไข้อย่างถี่ถ้วนที่สุด
เลือดปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย
แม้จะเกิดขึ้นได้ยากมากก็ตาม แต่เลือดบริจาค ก็ยังมีโอกาสที่จะปนเปื้อนกับเชื้อโรคได้อยู่ดี โดยเฉพาะสำหรับการบริจาคเกล็ดเลือดที่มีความอ่อนไหวต่อการปนเปื้อนสูงกว่าปกติ เพราะการเก็บเกล็ดเลือดต้องเก็บที่อุณหภูมิห้อง
หากคนไข้ได้รับเลือดที่มีการปนเปื้อน จะเกิดภาวะเลือดเป็นพิษ ซึ่งมีอาการต่อไปนี้:
- อุณหภูมิร่างกายสูง
- หนาวสั่น
- หัวใจเต้นแรง
- หายใจเร็ว
- สภาวะทางจิตผันผวน อย่างเช่นรู้สึกสับสน
- ภาวะติดเชื้อนี้มักจะดำเนินการรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
เลือดปนเปื้อนเชื้อไวรัส
เป็นกรณีที่หายากสุด ๆ ที่คนไข้จะติดเชื้อไวรัสจากการถ่ายเลือด เนื่องจากเลือดที่ใช้ถ่ายต้องผ่านกระบวนการทดสอบที่เข้มงวดอย่างมาก โดยคาดประมาณว่า:
- มีความเสี่ยงที่จะติดโรคตับอักเสบ B จากการถ่ายเลือดที่ประมาณ 1 ใน 1.3 ล้าน
- มีความเสี่ยงที่จะติดโรคตับอักเสบ C จากการถ่ายเลือดที่ประมาณ 1 ใน 28 ล้าน
- มีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อ HIV จากการถ่ายเลือดที่ประมาณ 1 ใน 6.5 ล้าน
- ซึ่งยังไม่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสเหล่านี้จากการถ่ายเลือดตั้งแต่ปี 2005 แล้ว
โรควัวบ้า (vCJD)
โรควัวบ้า (CJD) เป็นภาวะที่หายากและอันตรายอย่างมากที่จะค่อย ๆ เข้าไปทำลายสมอง รูปแบบของภาวะที่เรียกว่า Creutzfeldt-Jakob disease (vCJD) จะเกิดจากการที่รับประทานเนื้อที่ติดเชื้อวัวบ้าเข้าไป ซึ่งโรคนี้สามารถส่งต่อหากันผ่านการถ่ายเลือดได้ ซึ่งนับว่าเป็นกรณีที่หายากมาก ๆ
โดยมีรายงานว่าเคยพบกรณีผู้ป่วยติดเชื้อโรควัวบ้าจากการถ่ายเลือดเพียง 4 รายจากการถ่ายเลือดทั้งหมด 2.1 ล้านในแต่ละปีเท่านั้น