ทุกคนคงทราบอยู่แล้วว่า “การช่วยตัวเอง” คือ การทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของตน โดยตัวเราเองเป็นผู้กระทำ อาจมีการใช้อุปกรณ์ช่วยหรือไม่ก็ได้
รู้จักการช่วยตัวเองให้มากขึ้น อ่านเพิ่มเติม: การช่วยตัวเองคืออะไร
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วันที่ 14-16 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา HonestDocs ทำการสำรวจพฤติกรรมการช่วยตนเองของผู้เข้าชมเว็บไซต์ Honestdocs.co โดยวิธีแสดงแบบสอบถามออนไลน์ ผู้ร่วมตอบคำถามมีทั้งหมด 5,296 คน มีทั้งเพศชายและหญิง อาศัยอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย
กลุ่มอายุของผู้ตอบแบบสอบถาม แสดงในรูปแบบกราฟเป็นดังนี้
จะเห็นได้ว่ากลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยเรียนมหาวิทยาลัย ถึงเพิ่งเริ่มต้นทำงาน
จากการสำรวจความถี่ของการช่วยตัวเอง จำแนกตามเพศ สามารถแสดงผลในรูปแบบกราฟดังด้านล่าง
จะเห็นว่า ผู้หญิงเกินครึ่งหนึ่ง (60%) ไม่ช่วยตัวเอง ส่วนผู้ชายที่ตอบแบบสอบถามว่าไม่ช่วยตัวเอง ก็มีจำนวนไม่น้อย คือคิดเป็น 32% ของผู้ชายที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด เป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไม่ค่อยช่วยตัวเอง (หรือตอบคำถามว่าไม่ได้ช่วยตัวเอง) อาจเกี่ยวข้องกับประเด็นต่อไปนี้
- ค่านิยมของสังคม มองว่าการช่วยตัวเองแสดงถึงการหมกมุ่นเรื่องเพศ ผู้ที่ช่วยตัวเองจึงถูกมองแง่ลบ
- ความรู้เรื่องการตอบสนองอารมณ์ทางเพศด้วยตัวเองอาจยังไม่เปิดกว้างนัก ทำให้ไม่รู้ว่าควรปฏิบัติอย่างไรจึงถูกต้อง
อ่านเพิ่มเติม: ผู้หญิงช่วยตัวเองแล้วเลือดออก เกิดจากอะไรได้บ้าง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- อุปกรณ์สำหรับช่วยตัวเองยังถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายสำหรับประเทศไทย ถือเป็นสินค้าลามก อนาจาร เป็นอันตรายต่อสังคมและศีลธรรม
อ่านเพิ่มเติม: รู้จัก “ไวเบรเตอร์” และหลักการใช้ที่ปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม จากผลการสำรวจก็ยังพบว่ามีผู้หญิงที่ช่วยตัวเองในทุกช่วงความถี่ โดยส่วนใหญ่ (10%) ช่วยตัวเอง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ รองลงมา (9%) ช่วยตัวเองทุกวัน ที่เหลือช่วยตัวเองสัปดาห์ละครั้ง 2-3 ครั้งต่อเดือน 2-3 เดือนครั้ง และเดือนละครั้ง ตามลำดับ คิดเป็นประมาณ 4-6% ใกล้เคียงกัน
ส่วนความถี่ของการช่วยตัวเองในผู้ชาย ส่วนใหญ่ (31%) ช่วยตัวเองทุกวัน รองลงมา (21%) ช่วยตัวเอง 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อันดับ 3 (8%) ช่วยตัวเองสัปดาห์ละครั้ง ที่เหลือช่วยตัวเอง 2-3 ครั้งต่อเดือน เดือนละครั้ง และ 2-3 เดือนครั้ง ตามลำดับ คิดเป็นประมาณ 2-3%
ทั้งนี้ แม้ว่าการช่วยตัวเองจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่หากสังเกตตัวเองแล้วพบว่าช่วยตัวเองบ่อยมากกว่าที่เคย นานๆ เข้าอาจเข้าข่าย “เสพติดการช่วยตัวเอง”
สัญญาณบอกว่าเสพติดการช่วยตัวเอง รวมถึงข้อดี-ข้อเสียของกิจกรรมนี้มีอะไรบ้าง อ่านเพิ่มเติมได้ใน ช่วยตัวเองบ่อย มีผลดี-ผลเสียอย่างไร
เมื่อดูข้อมูลผลสำรวจโดยจำแนกตามช่วงอายุกับความถี่ของการช่วยตัวเอง ซึ่งแสดงดังรูปแบบกราฟด้านล่าง
จะเห็นว่าในทุกกลุ่มอายุมีผู้ไม่ช่วยตัวเองเป็นจำนวนมาก รองลงมามักจะช่วยตัวเองทุกวัน และเมื่อพิจารณาตามช่วงอายุ คนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นจะช่วยตัวเองบ่อย แล้วค่อยๆ ลดความถี่ลงเมื่ออายุมากขึ้น สอดคล้องกับธรรมชาติของร่างกายที่มีฮอร์โมนเพศสูงเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น ส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ควบคู่กับมีความต้องการทางเพศเพิ่มขึ้น และเมื่อผ่านพ้นวัยเจริญพันธุ์ไป ร่างกายจะเสื่อมถอย ฮอร์โมนเพศลดลง ความต้องการทางเพศก็ลดลงเช่นเดียวกัน
Hilight จากการสำรวจ
- การช่วยตัวเองเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่พบว่าคนส่วนใหญ่ไม่ช่วยตัวเอง
- ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ไม่ช่วยตัวเองนั้นอาจเกี่ยวข้องกับค่านิยมของสังคม และอุปกรณ์ช่วยตัวเองจัดเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศไทย
- คนที่ช่วยตัวเองทุกวัน ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น (12-17 ปี) จึงควรมีการให้ความรู้แก่คนกลุ่มนี้ เพราะแม้การช่วยตัวเองจะเป็นวิธีตอบสนองอารมณ์ทางเพศที่ไม่ทำให้ตั้งครรภ์ แต่การใช้อุปกรณ์หรือใช้วิธีที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้