อาการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว

เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
อาการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว

อาการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัวนั้นเป็นอาการปวดหัวลักษณะที่พบบ่อยที่สุด โดยสามารถทำให้เกิดอาการปวดที่ศีรษะ ลำคอ และด้านหลังตาได้ตั้งแต่ระดับเบา ปานกลางไปจนถึงรุนแรง บางคนอาจจะรู้สึกว่าเหมือนกับมียางรัดมารัดที่รอบๆ หน้าผาก

คนส่วนใหญ่ที่มีอาการปวดหัวลักษณะนี้นั้มักจะมีอาการปวดหัวเป็นช่วงๆ โดยเฉลี่ยเดือนละ 1-2 ครั้ง อย่างไรก็ตามอาจจะมีอาการเรื้อรังได้ และมีบางส่วนที่อาจจะมีอาการมากกว่า 15 วันต่อเดือน ผู้หญิงนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะนี้มากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สาเหตุ

อาการปวดศีรษะลักษณะนี้นั้นเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อในบริเวณศีรษะและลำคอ มีอาหาร กิจกรรมและตัวกระตุ้นหลายอย่างที่สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวดังกล่าวได้ บางคนอาจจะมีอาการหลังจากที่จ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหรือหลังจากขับรถนานๆ อุณหภูมิที่เย็นนั้นก็อาจจะกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ได้เช่นเดียวกัน

สาเหตุอื่นที่สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ประกอบด้วย

อาการ

อาการของการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัวประกอบด้วย

  • ปวดหัวตื้อๆ
  • รู้สึกเหมือนมีอะไรรัดที่รอบหน้าผาก
  • เจ็บบริเวณรอบๆ หน้าผากและหนังศีรษะ

อาการปวดนั้นมักจะอยู่ในระดับไม่รุนแรงถึงปานกลาง แต่ก็อาจจะปวดมากได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความสับสนกับอาการปวดศีรษะจากไมเกรน อาการปวดศีรษะจากไมเกรนนั้นมักจะทำให้เกิดอาการปวดลักษณะตุ๊บๆ ที่ศีรษะข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง

อย่างไรก็ตามอาการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัวนั้นไม่ได้มีอาการเหมือนไมเกรนทุกอย่าง เช่นไม่มีอาการคลื่นไส้หรืออาเจียน ในบางรายอาจจะมีอาการไวต่อแสงและเสียงที่ดังได้คล้ายกับไมเกรน

ในรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาอื่น เช่นเนื้องอกในสมอง เช่นการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษา

การใช้ยาและรักษาที่บ้าน

คุณสามารถใช้ยาแก้ปวดทั่วไปเช่น ibuprofen หรือแอสไพรินในการบรรเทาอาการปวดได้ แต่ควรเฉพาะเป็นครั้งคราว

การใช้ยาแก้ปวดในปริมาณที่มากเกินไปนั้นอาจจะทำให้มีอาการปวดหัวที่รุนแรงขึ้นได้เวลาที่ยาหมดฤทธิ์

บางครั้งยาเหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอในการรักษา ซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาเช่น

หากใช้ยาแก้ปวดแล้วยังไม่ได้ผล แพทย์อาจจะมีการสั่งจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อช่วยหยุดการหดตัวของกล้ามเนื้อ และยาต้านเศร้าเช่น selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) เพื่อช่วยปรับสมดุลของสารสื่อประสาท serotonin และช่วยในการจัดการกับความเครียด

แพทย์อาจจะแนะนำวิธีรักษาอื่นๆ เช่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • การเรียนเทคนิคการจัดการความเครียด เพื่อช่วยจัดการกับความเครียดและวิธีคลายเครียด
  • Biofeedback เป็นเทคนิคการผ่อนคลายที่สอนในการจัดการความเจ็บปวดและความเครียด
  • Cognitive behavioral therapy (CBT) เป็นการบำบัดด้วยการพูดคุยที่ช่วยให้คุณรู้จักสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความเครีดย ความวิตกกังวล
  • การฝังเข็ม เป็นการรักษาทางเลือกที่อาจจะช่วยลดความเครียดได้โดยการฝังเข็มลงในจุดต่างๆ ของร่างกาย

อาหารเสริม

อาหารเสริมบางชนิดอาจจะช่วยลดอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาหารเสริมเหล่านี้อาจจะส่งผลต่อยาที่ใช้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ

อาหารเสริมที่อาจจะช่วยป้องกันการเกิดอาการปวดหัวจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัวประกอบด้วย

  • Butterbur
  • Coenzyme Q10
  • Feverfew
  • Magnesium
  • Riboflavin (วิตามินบื 2)

วิธีต่อไปนี้อาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้

  • ประคบร้อนหรือเย็นที่ศีรษะเป็นเวลา 5-10 นาทีหลายๆ ครั้งต่อวัน
  • อาบน้ำร้อนเพื่อคลายกล้ามเนื้อ
  • ปรับท่าทาง
  • หยุดพักสั้นๆ ระหว่างที่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันความเครียดที่ตา
  • อย่างไรก็ตามเทคนิคเหล่านี้อาจจะไม่ได้ช่วยป้องกันอาการปวดหัวได้ทุกรูปแบบ

การป้องกัน

เนื่องจากอาการปวดหัวลักษณะนี้นั้นมักจะเกิดจากตัวกระตุ้นบางอย่าง ดังนั้นการที่สามารถระบุตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการได้นั้นจึงเป็นวิธีหนึ่งในการป้องกันการเกิดอาการในอนาคต

การจดบันทึกอาการปวดหัวนั้นสามารถช่วยระบุสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้ ควรจดอาหาร เครื่องดื่ม กิจกรรม และสถาการณ์ต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดความเครียดในวันที่มีอาการปวดหัว หลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน คุณอาจจะพบความเชื่อมโยง เช่นหากบันทึกของคุณนั้นแสดงว่าอาการปวดหัวนั้นมักจะเกิดในวันที่รับประทานอาหารบางชนิด แสดงว่าอาหารดังกล่าวอาจจะเป็นต้วกระตุ้นให้เกิดอาการปวดหัว

ผลลัพธ์

อาการปวดศีรษะจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัวนี้มักจะตอบสนองต่อการรักษาและแทบจะไม่ส่งผลให้เกิดการทำลายระบบประสาทในระยะยาว อย่างไรก็ตาม การมีอาการปวดศีรษะเรื้อรังนั้นสามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณได้ และยังอาจจะทำให้เข้าร่วมกิจกรรมทางกายได้ลำบาก อาจจะต้องมีการหยุดเรียนหรือลางาน หากอาการปวดศีรษะนั้นส่งผลต่อชีวิตประจำวันควรปรึกษาแพทย์

อย่าละเลยอาการที่รุนแรง ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการปวดหัวฉับพลันหรือเกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • พูดยานคาง
  • เสียการทรงตัว
  • ไข้สูง

เพราะอาจจะเป็นอาการแสดงของปัญหาอื่นๆ ที่รุนแรงเช่นโรคเส้นเลือดสมอง เนื้องอกหรือเส้นเลือดโป่งพองได้


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Alana Biggers, MD, Tension Headaches (https://www.healthline.com/health/tension-headache), September 26, 2019
Headaches: In depth. National Center for Complementary and Integrative Health. https://nccih.nih.gov/health/pain/headachefacts.htm.
Headache hygiene tips. American Headache Society Committee for Headache Education. http://www.achenet.org/resources/trigger_avoidance_information/.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป