ภาพรวม
วัคซีน Td/IPV เป็นวัคซีนสูตรที่ต้องฉีดให้ครบ 5 ครั้ง ช่วยป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ โปลิโอ (ประเภทวัคซีนโปลิโอเชื้อตาย)
ปกติแล้วจะได้รับวัคซีนเมื่อมีอายุระหว่าง 13 ถึง 18 ปี ระหว่างชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึง 3 เด็กจะได้รับวัคซีนจากทางโรงเรียน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
โรคบาดทะยักคืออะไร
โรคบาดทะยักเป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่นำไปสู่อาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง ปัญหาทางการหายใจ หรือกระทั่งส่งผลถึงชีวิตได้
โรคนี้เกิดจากเชื้อโรคที่พบได้ในดินและมูลสัตว์เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลเปิดหรือแผลไฟไหม้
บาดทะยักไม่สามารถส่งผ่านจากคนสู่คนได้
โรคคอตีบคืออะไร
โรคคอตีบเป็นโรคร้ายแรงที่มีอาการเริ่มจากการเจ็บคอและสามารถก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรวดเร็ว สามารถทำลายหัวใจและระบบประสาท ในกรณีร้ายแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคคอตีบในสหราชอาณาจักร พบกรณีผู้ป่วยเป็นโรคคอตีบมากถึง 70,000 ราย และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 5,000 ราย
โปลิโอคืออะไร?
โปลิโอคือเชื้อไวรัสที่โจมตีระบบประสาทและสามารถก่อให้เกิดกล้ามเนื้ออัมพาตอย่างถาวรได้ และถ้าเชื้อไวรัสส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหน้าอกหรือสมอง ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ก่อนที่จะมีการใช้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ พบผู้ป่วยมากกว่า 8,000 รายในสหราชอาณาจักรในปีที่โรคนี้ระบาด แต่หลังจากที่ได้ผลิตวัคซีนโปลิโอขึ้นสำเร็จ ทำให้ไม่ปรากฏผู้ป่วยโรคนี้ขึ้นในประเทศอีกนับเป็นเวลากว่า 20 ปี (รายล่าสุดพบในปี 1984)
ถ้าได้รับวัคซีนต้านโรคบาดทะยัก คอตีบ และโปลิโอแล้วจะปลอดภัยใช่หรือไม่?
ถือว่าคุณอาจจะได้รับการป้องกันบ้างแล้ว แต่คุณยังต้องได้รับวัคซีนนี้ให้ครบหลักสูตรแผนการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อการป้องกันในระยะยาว
ต้องได้รับวัคซีนปริมาณในเท่าไหร่
คุณต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก คอตีบ และโปลิโอทั้งหมด 5 เข็มในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
มีดังนี้
- 3 เข็มแรก ในวัยทารก
- เข็มที่ 4 เมื่อมีอายุตั้งแต่ 3 ปี 4 เดือน และก่อนที่จะเข้าเรียน
- เข็มที่ 5 ระหว่างอายุ 13 ถึง 18 ปี
ฉันต้องได้รับวัคซีนนี้เพิ่มอีกในอนาคตหรือไม่
คุณอาจไม่ต้องการวัคซีนนี้เพิ่มอีกในอนาคต แต่หากคุณต้องการการฉีดวัคซีนนอกเหนือจากนี้กรณีที่คุณเดินทางไปบางประเทศ สามารถติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณได้
วัคซีน
วัคซีน Td/IPV จะให้บริเวณต้นแขน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีเหตุผลใดบ้างที่ไม่ควรได้รับวัคซีนต้านโรคบากทะยัก คอตีบ และโปลิโอ?
มีเด็กวัยรุ่นบางรายที่ไม่ควรรับวัคซีน Td/IPV เช่นกัน คุณไม่ควรฉีดวัคซีนชนิดนี้ถ้าคุณได้รับการยืนยันถึงปฏิกิริยาการแพ้อย่างรุนแรงต่อ:
- นีโอมัยซัย (Neomycin เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์)
- สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์)
- โพลีมิกซิน บี (Polymyxin B-ยาปฏิชีวนะปริมาณน้อยมากที่บรรจุอยู่ในวัคซีน )
- วัคซีนที่เคยได้รับก่อนหน้า
ไม่มีเหตุผลทางการแพทย์ใดนอกเหนือจากนี้ที่ทำให้คุณไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน ถ้าคุณยังกังวล ติดต่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านคุณ
กรณีที่เจ็บป่วยในวันนัดฉีดวัคซีน
หากคุณไม่สบายเล็กน้อยโดยไม่มีไข้ เช่นรู้สึกหนาวๆ คุณควรได้รับวัคซีน กรณีที่คุณไม่สบายและมีไข้ ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปจนกว่าคุณจะหายดี นี่จะเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ให้อาการป่วยส่งผลกระทบต่อวัคซีนและเพื่อไม่ให้วัคซีนเพิ่มอาการเจ็บป่วยของคุณให้มากขึ้น
แจ้งแพทย์ของคุณก่อนรับวัคซีนหากคุณมีอาการต่อไปนี้:
- ภาวะเลือดออกผิดปกติ
- การชักที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการไข้
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าวัคซีนนั้นปลอดภัย
ยาทุกชนิด(รวมทั้งวัคซีน) ได้รับการตรวจสอบเรื่องความปลอดภัยและประสิทธิภาพโดย Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency (MHRA) และวัคซีนเหล่านี้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยอย่างสูงเพื่อให้ใช้งานในประเทศอังกฤษ ประเทศต่างๆในทวีปยุโรป รวมทั้งแจกจ่ายไปสู่หลายล้านคนทั่วโลก
การใช้งานจะถูกดูแลความปลอดภัยโดย MHRA และจะถูกจับตาดูต่อไป
หลังจากรับวัคซีน
หลังจากได้รับวัคซีนอาจมีผลข้างเคียงตามมา แต่มักไม่เป็นอันตราย
ผลข้างเคียง
ผลข้างที่ที่พบได้ทั่วไปจากวัคซีนจะเกิดขึ้นบริเวณแขนที่คุณได้รับการฉีดวัคซีนและรวมถึง:
- บวม
- แดง
- คันเล็กน้อย
อาการเหล่านี้จะหายไปภายในสองถึงสามวัน
อาการข้างเคียงอื่นๆที่พบได้น้อยมาก ได้แก่:
หากคุณรู้สึกไม่ดีหลังจากฉีดวัคซีน รับประทานยาพาราเซตามอนหรือไอบูโปรเฟน อ่านฉลากข้างเคียงอย่างละเอียดและรับประทานในปริมาณที่เหมาะกับช่วงอายุของคุณ ไม่แนะนำให้รับประทานยาล่วงหน้าเพื่อป้องกันการเป็นไข้ล่วงหน้า
ถ้าคุณกังวลเกี่ยวกับลูก เชื่อมั่นในสัญชาตญาณ ควรพบแพทย์ที่สถานพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้านคุณได้ทันที และรีบไปพบแพทย์ทันทีที่ลูกมีไข้มากกว่า 39° เซลเซียส