อาการและสาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

เผยแพร่ครั้งแรก 11 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อาการและสาเหตุของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

อาการที่สำคัญคือความอ่อนเพลียเมื่อยล้าหลังจากการออกแรงเพียงเล็กน้อย หรือใช้สมองคิดเรื่องไม่ยากมากนัก และร่างกายไม่สามารถฟื้นตัวได้ตามปกติ ซึ่งในปัจจุบันนักวิจัยยังทำการศึกษาต่อเนื่องถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวว่าสามารถเกิดได้อย่างไร

อาการ

อาการของการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ (Myalgic encephalomyelitis: ME) หรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS) นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล และอาจมีบางช่วงเวลาที่อาการของคุณดีขึ้นจนคุณจะสามารถทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้ แต่อีกช่วงเวลาหนึ่งอาการก็อาจรุนแรงยิ่งขึ้นได้และส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคุณอย่างมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากคุณพบว่าตนเองมีอาการแปลก ๆ หรือเป็นอาการใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ให้เข้าปรึกษาแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของคุณ เนื่องจากอาการใหม่เหล่านั้นอาจไม่ได้เกิดจากกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังก็เป็นได้ ในช่วงมีประจำเดือน อาการของคุณอาจแย่ลงได้แต่ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเช่นนั้นไปทั้งหมด โดยอาการที่อาจพบได้มีดังต่อไปนี้

ความเมื่อยล้า

ความเหนื่อยล้าและอ่อนเพลียอย่างรุนแรง และเป็นต่อเนื่องตลอดเวลาเป็นหนึ่งในอาการที่สำคัญของ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ หรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ ความเมื่อยล้าของกลุ่มอาการนี้จะรู้สึกแตกต่างจากความเหนื่อยทั่ว ๆ ไป การออกแรง ใช้สมองอย่างง่าย ๆ หรือแม้แต่การรวมกันของกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง สามารถทำให้ผู้ป่วยกลุ่มอาการดังกล่าวนั้นหมดแรงไปได้อย่างสิ้นเชิง และอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ เพิ่มขึ้นตามมาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ post-exertional malaise (PEM) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถฟื้นตัวได้แม้ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อย

อาการอื่น ๆ ของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง ได้แก่ :

  • รู้สึกไม่ค่อยสบาย
  • เจ็บปวด
  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
  • ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สมาธิ การใช้ความคิด และความทรงจำ
  • ปัญหาการพูดและการใช้ภาษา รวมถึงการนึกคำพูดไม่ออก
  • สมดุลอุณหภูมิผิดปกติ
  • เวียนหัว
  • ไวต่อแสงและเสียง
  • คลื่นไส้
  • ความอยากอาหารลดลง

หากความเจ็บปวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่รุนแรงมากกว่าความเมื่อยล้า ในกรณีนั้นอาจต้องพิจารณาถึงกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด หรือโรคไฟโปรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) ร่วมด้วยซึ่งเป็นภาวะการวินิจฉัยโรคที่แยกต่างหากกับการวินิจฉัยของกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรัง

ความกระวนกระวาย ความวิตกกังวล อารมณ์ไม่ดี และภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจประสบขึ้นได้ในบางเวลา เนื่องจากผลกระทบของสภาพร่างกายและอาการของโรคในชีวิตของพวกเขา ดังนั้น ไม่ได้หมายความว่า อาการของการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบหรือกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังนั้นเป็นความผิดปกติทางจิตเวชแต่อย่างใด

สาเหตุ

การวิจัยเพิ่มเติมยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อยืนยันสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง หลักฐานการศึกษาล่าสุดแสดงให้เห็นว่า อาจมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้ และอาจแบ่งกลุ่มอาการนี้ออกเป็นหลายประเภทแตกต่างกันไป กลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังที่แตกต่างกันเหล่านี้ ยังคงต้องมีการค้นคว้าอีกมาก ทั้งเรื่องที่ทำไมอาการของโรคแต่ละคนจึงแตกต่างกัน สภาวะของโรคก็ต่างกัน รวมถึงวิธีการจัดการว่าสามารถทำได้อย่างไร

อาการอ่อนล้าเรื้อรังอาจปรากฏขึ้นอย่างกะทันหันหรือค่อย ๆ พัฒนากินเวลานานเมื่อเวลาผ่านไป อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการติดเชื้อโดยทั่วไป โดยทั่วไปจะเป็นการติดเชื้อไวรัสซึ่งจริง ๆ แล้วพบได้ค่อนข้างน้อย ส่วนสิ่งกระตุ้นที่เป็นไปได้อื่น ๆ ได้แก่ การบาดเจ็บ การผ่าตัด และความเครียดในเหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิต อย่างไรก็ตาม บางกรณีอาจไม่พบตัวกระตุ้นที่ชัดเจนสำหรับกลุ่มอาการอ่อนล้าเรื้อรังในผู้ป่วยบางรายได้เช่นกัน

https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/brain-nerves-and-spinal-cord/chronic-fatigue-syndrome#causes


22 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Chronic fatigue syndrome (CFS/ME). NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/chronic-fatigue-syndrome-cfs/)
Chronic fatigue syndrome: Symptoms, treatment, and causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/184802)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป