ถ้าหากบุตรของท่านโยกตัว หรือขยับร่างกายบางส่วนเป็นจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นเวลาที่กำลังนอนหรือระหว่างการนอน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นภาวะหนึ่งเรียกว่า ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวของร่างกายสัมพันธ์กับการนอน โดยภาวะดังกล่าวอาจจะเป็นไปจนโตเป็นผู้ใหญ่เลย
ภาวะ RMD คืออะไร? เป็นความความผิดปกตินี้มีความสัมพันธ์กับภาวะใด และความผิดปกติที่มีลักษณะคล้ายคลึงใดบ้างที่ต้องแยกโรคกับภาวะ RMD? เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกาย รวมถึงทางเลือกในการรักษาเพื่อความปลอดภัยในบุตรท่าน
ตรวจการนอน Sleep Test วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,455 บาท ลดสูงสุด 50%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ผลการศึกษาเรื่องความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกาย
ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวร่างกาย (RMD) สามารถสังเกตได้ในเด็กเล็กขณะกำลังจะนอน หรือระหว่างการนอน ซึ่งในช่วงเวลานี้ เด็กที่มีความผิดปกติจะทำการโยกตัว หรือขยับบางส่วนของร่างกาย อาทิเช่น แขน มือ ศีรษะ หรือลำตัว ในลักษณะการโยนที่เป็นจังหวะ และพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การผงกศีรษะ หรือการกลอกลูกตา ก็สามารถสังเกตได้เช่นกัน ถึงแม้ว่าการเคลื่อนไหวเหล่านั้นจะมีลักษณะค่อนข้างเบา และอาจจะเป็นการกล่อมตัวเองนอนของเด็กเล็กได้ แต่พฤติกรรมเหล่านี้สามารถมีอาการที่รุนแรงได้ หากถ้าเกิดการเคลื่อนร่างกายอย่างรุนแรง จะส่งผลทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ ภาวะดังกล่าวจะเรียกว่า Jactatio capitis nocturna หรือ Rhythm du sommeil ซึ่งเป็นคำอธิบายดั้งเดิมของภาวะดังกล่าวที่บันทึกไว้เมื่อปี 1905
ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อไหร่?
เด็กที่มีความผิดปกติทางด้านการเคลื่อนไหวจะเริ่มตอนก่อนอายุ 3 ปี และอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อเด็กโตขึ้น
ในบางกรณีพบได้ยาก ความผิดปกติอาจคงอยู่เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
โดยทั่วไปภาวะ RMD มักจะเกิดขึ้นในช่วงแรกของการนอน ซึ่งจะพบได้บ่อยในระหว่างการนอนตื้น ๆ หรือในช่วงการนอน non-REM และการเคลื่อนไหวจะลดระดับลงเมื่อเข้าการนอนระยะที่ 2 อาการอาจแสดงได้ในระหว่างการนอนช่วง REM ด้วย แต่การที่จะแยกจากพฤติกรรมการนอนในช่วง REM จะทำได้ค่อนข้างลำบาก
ภาวะอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะ RMD ได้แก่
- โรคสมาธิสั้น (ADHD)
- กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome)
- โรคออทิสซึม
- กลุ่มอาการเรตต์ (Rette syndrome)
- กลุ่มอาการแองเจิลแมน (Angelman syndrome)
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ(sleep apnea)
อย่างไรก็ตามการที่บุตรของท่านมีการเคลื่อนไหวนั้น ไม่จำเป็นที่เด็กจะเกิดความผิดปกติดังกล่าวก็ได้
ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหววินิจฉัยได้อย่างไร?
โดยผู้ปกครองของเด็กหลาย ๆ คนต้องทำการสังเกตการณ์เคลื่อนไหวของบุตรของท่านด้วย และควรเล่าถึงสิ่งที่ท่านได้สังเกตมาให้กุมารแพทย์ฟัง ซึ่งจะได้ประวัติการนอนของเด็กที่ครอบคลุมมากขึ้น เนื่องจากยังมีภาวะอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ กับภาวะ RMD ที่อาจต้องได้รับการรักษาโดยเฉพาะ ซึ่งการเคลื่อนไหวของร่างกายที่อยู่นอกเหนือการควบคุมนั้น อาจะทำให้เด็กเกิดอาการชักตอนกลางคืนได้ และอาจพบการหดตัวของกล้ามที่มีลักษณะคล้ายความผิดปกติกางการเคลื่อนไหว
นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติด้านการนอนของเด็กที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การนอนละเมอ และภาวะสับสนระหว่างการตื่นนอน ปัญหาทางพฤติกรรมลักษณะอื่น ๆ ที่มีการแสดงผลคล้ายกับภาวะ RMD ดังนั้นควรที่จะตรวจสอบยาบางชนิดที่อาจเป็นสาเหตุของการเคลื่อนไหวที่มากจนเกินไประหว่างการนอนของเด็ก ซึ่งหากบุตรของท่านได้รับประทานยาแก้แพ้ ยาแก้อาเจียน หรือยาที่สำหรับภาวะทางจิตอื่น ๆ (เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า และยารักษาโรคจิต) ในกรณีนี้ควรหยุดใช้ยาดังกล่าวแล้วปรึกกุมารแพทย์ เพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหวเหล่านี้ โดยการทดสอบบางอย่างอาจจำเป็นที่จะช่วยหาสาเหตุของการเคลื่อนไหวนี้ โดยการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (Electroencephalogram; EEG) หรือการตรวจการนอนหลับ (Polysomnogram) ที่มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองเป็นองค์ประกอบ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ทางเลือกการรักษาความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวมีอะไรบ้าง?
ขั้นตอนปฏิบัติที่สามารถลดโอกาสการทำร้ายร่างกายตัวเองของเด็กขณะมีการเคลื่อนไหวเหล่านี้ มีดังนี้
ขั้นแรกการจัดตารางเวลานอนของเด็กให้คงที่ และควรศึกษาแนวทางปฏิบัติเพื่อการนอนที่ดีขึ้นในเด็ก ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยให้เด็กได้นอนอย่างมีคุณภาพ และยังช่วยป้องกันปัจจัยที่ทำให้อาการกำเริบได้ เช่น การอดหลับอดนอน การปฏิบัติตามมาตรการรักษาความปลอดภัยอาจเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อการเคลื่อนไหวรุนแรงมากขึ้นจนทำให้ตัวเด็กบาดเจ็บ อาจต้องเคลื่อนเบาะรองที่นอนไปไว้บนพื้นห้องให้ห่างไกลจากผนังและสิ่งของอื่นๆ เด็กบางคนที่มีปัญหาผงกศีรษะอย่างรุนแรงก็ควรสวมหมวกกันน็อคป้องกันการกระทบกระแทกไว้ก่อน บางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้ยากล่อมประสาทเพื่อลดการเคลื่อนไหว เช่น clonazepam ซึ่งเป็นยารักษาโรควิตกกังวล
นอกจากนี้ เทคนิคการผ่อนคลายอื่น ๆ ก็พบว่าสามารถช่วยได้เช่นกัน โดยส่วนใหญ่ความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวเหล่านี้แม้จะทำให้ผู้ปกครองเป็นกังวล แต่มักไม่เป็นอันตรายต่อตัวเด็ก และเจ้าตัวก็มักไม่รู้สึกว่ามันกวนใจ และส่วนมากเด็กจะหายจากอาการนี้เองเมื่อโตขึ้น
ดังนั้นการรับการรักษาในระยะอาจจะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น และถึงแม้ว่าอาการนี้จะยังเป็นอยู่จนถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ แต่ก็มักจะไม่สร้างปัญหาให้กับคนรอบข้าง ซึ่งเมื่อเกิดเคลื่อนไหวนั้นจะไม่มีความรุนแรง โดยถ้าหาท่านพบว่าบุตรของท่านมีปัญหาการเคลื่อนไหวที่อยู่นอกเหนือการควบคุมในขณะนอน ท่านควรเริ่มไปปรึกษากับกุมารแพทย์ว่าจำเป็นที่จะต้องรับการประเมินผลของอาการต่อไปหรือไม่