กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

Slippery Elm (เปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 ม.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

ข้อมูลภาพรวมของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม

สลิปเปอรี่เอล์ม (Slippery elm) คือต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีการใช้เปลือกไม้ส่วนใน (ไม่ได้นำมาใช้ทั้งเปลือก) มาทำยา เนื่องจากคุณสมบัติของสลิปเปอรี่เอล์มที่เป็นเยื่อเมือก เมื่อผสมกับน้ำจะพองตัวได้เป็นสารที่มีลักษณะเนียน เหนียว และประกอบด้วยสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น antioxidants, แร่ธาตุต่างๆ วิตามินซี และวิตามินบี

ผู้คนใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มกับอาการไอ, เจ็บคอ, โคลิก (colic), ท้องร่วง, ท้องผูก, ริดสีดวง (hemorrhoids), กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome (IBS)), การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะและระบบทางเดินปัสสาวะ, ซิฟิลิส (syphilis), โรคเริม (herpes), และกำจัดพยาธิตัวตืด (tapeworms) อีกทั้งยังมีการใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มป้องกันแผลในกระเพาะอาหารและขั้วลำไส้, สำหรับภาวะลำไส้อักเสบ (colitis), โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ (diverticulitis), การอักเสบ GI, และลดกรดในกระเพาะอาหารที่มีมากเกินไป อีกทั้งการรับประทานเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มยังทำให้ผู้หญิงแท้งบุตรได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การทาเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มบนผิวหนังสามารถช่วยรักษาบาดแผล, แผลไหม้, เก๊าท์, โรครูมาติซึ่ม (rheumatism), โรคเริม (cold sores), แผลน้ำร้อนลวก, ฝี (abscess), แผลเยื่อบุ (ulcers), อาการปวดฟัน, เจ็บคอ, และใช้หล่อลื่นให้คลอดบุตรง่ายขึ้น

ในด้านอุตสาหกรรม เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มถูกใช้เป็นอาหารสำหรับทารกและผู้ใหญ่เพื่อคุณค่าโภชนาการ และเป็นส่วนผสมในลูกอมยาบางชนิดเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ

เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มออกฤทธิ์อย่างไร?

เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มประกอบด้วยสารเคมีและเยื่อเมือกที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ อีกทั้งยังช่วยขับเมือกไปเคลือบลำไส้ สามารถลดการระคายเคืองและการอักเสบ จึงช่วยแก้ไขปัญหากระเพาะอาหารและลำไส้ได้ด้วย

การใช้และประสิทธิภาพของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม

เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มมีลักษณะเป็นผงแห้ง ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปได้หลายรูปแบบ เช่น ลูกอม ยาเม็ด ชาชงภาวะที่อาจใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่

  • อาการเจ็บคอ ลูกอมยาหลายประเภทประกอบด้วยเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มเป็นหนึ่งในสมุนไพรสำหรับช่วยบรรเทาอาการไอและเจ็บคอ ซึ่งลูกอมประเภทนี้มักจะมีผลเป็นยาแก้ปวดไปในตัวเช่นกัน

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มรักษาได้หรือไม่

  • มะเร็ง งานวิจัยกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยโกโบ (burdock root), รูบาร์บอินเดีย, sheep sorrel, และเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มไม่อาจช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้
  • กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome (IBS)) การศึกษาแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม, แลคทูโลส, รำข้าวโอ๊ต, และรากชะเอมเทศสามารถเพิ่มการเคลื่อนตัวของลำไส้และลดอาการปวดท้องกับท้องอืดของผู้ป่วย IBS ที่เป็นท้องผูกได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม, บิลเบอร์รี่, อบเชย, และ agrimony สามารถลดอาการปวดท้อง, ท้องอืด, และแก๊สของผู้ป่วย IBS ที่เป็นท้องร่วงได้
  • อาการไอ
  • โคลิก (Colic)
  • ท้องร่วง
  • ท้องผูก
  • ริดสีดวง (Hemorrhoids)
  • การติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม

เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มถูกจัดว่าอาจจะปลอดภัยสำหรับผู้คนส่วนมาก เมื่อนำไปทาบนผิวหนังอาจทำให้บางคนมีปฏิกิริยาแพ้และระคายเคืองผิวหนังบ้าง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ:

สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: มีเรื่องเล่าว่าเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มอาจทำให้แท้งบุตรเมื่อสอดเข้าไปในคอช่องคลอดขณะตั้งท้อง แต่เมื่อเวลาผ่านมาความสามารถของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มเช่นนี้เปลี่ยนไปเป็นการรับประทานแทน อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ก็ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือพอจะมายืนยันเรื่องเหล่านี้ได้ กระนั้นเพื่อความปลอดภัย ผู้หญิงที่มีครรภ์หรือผู้หญิงที่ให้นมบุตรไม่ควรรับประทานเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม

การใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มร่วมกับยาชนิดอื่น

ใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาสำหรับรับประทานกับเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม

เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มประกอบด้วยใยอาหารอ่อนที่เรียกว่า mucilage ซึ่งสามารถลดปริมาณยาที่ร่างกายดูดซึมเข้าไปได้ ดังนั้นการทานเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มร่วมกับยาที่รับประทานเข้าปากนั้นอาจลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ลง เพื่อป้องกันการตีกันเช่นนี้ให้ทานเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มอย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังจากทานยาไปแล้ว

ปริมาณยาที่ใช้

ขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับเปลือกสลิปเปอรี่เอล์มนั้นจะขึ้นอยู่กับหลาย ๆ ปัจจัย เช่นอายุ, สุขภาพ, และภาวะสุขภาพอื่น ๆ ของผู้ใช้ ซึ่ง ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มาชี้ชัดปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกสลิปเปอรี่เอล์ม ดังนั้นต้องพึงจำไว้ว่าแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติก็ไม่จำเป็นต้องปลอดภัยทุกครั้ง พยายามปฏิบัติตามคำแนะนำบนฉลากยาและปรึกษากับเภสัชกร, แพทย์, หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านอื่นก่อนใช้เปลือกสลิปเปอรี่เอล์มทุกครั้ง


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sara McGlothlin, Slippery Elm: The Gut-Healing, Anxiety-Alleviating Food That Functional Docs Love — But Most People Have Never Heard Of (https://www.mindbodygreen.com/articles/slippery-elm-benefits-side-effects-and-exactly-how-to-use-it-for-constipation)
Peggy Pletcher, The Therapeutic Capabilities of Slippery Elm Bark (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/slippery-elm-bark#1), 29 Feb 2016
Indian Elm, Moose Elm, et al., Slippery elm (https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-978/slippery-elm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน ผู้อ่านไม่ควรเลือกใช้ยาเองจากการอ่านบทความ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง เพราะแต่ละท่านอาจมีสาเหตุของโรค โรคประจำตัว และประวัติการรักษาที่ต่างกัน ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)