พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
เขียนโดย
พญ. สุชาดา สมศักดิ์ แพทย์เวชกรรมทั่วไป
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ผิวไหม้แดด คล้ำเสีย (Sunburn) ในช่วงสงกรานต์

สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน และวิธีรักษาผิวไหม้ คล้ำเสีย ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยเมื่อทำกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงหน้าร้อน
เผยแพร่ครั้งแรก 22 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 25 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 3 เม.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ผิวไหม้แดด คล้ำเสีย (Sunburn) ในช่วงสงกรานต์

ผิวไหม้แดด คล้ำเสีย ปัญหาผิวที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน ความรุนแรงมีหลายระดับ ถ้าเป็นมากอาจเกิดอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากอาการที่ปรากฏทางผิวหนัง

สาเหตุผิวไหม้แดด

ผิวไม้ คล้ำเสีย มักเกิดจากผิวหนังในสภาวะปกติปราศจากสิ่งปกปิดถูกแสงแดดเป็นเวลานาน จนเกิดอาการบวม แดง พองที่ผิวหนังชั้นนอก และลอกออกในที่สุด กรณีที่ถูกแสงแดดจัดๆ นานๆ นอกจากจะทำให้ผิวหนังบวมแดงพองแล้ว อาจมีอาการคลื่นไส้ อ่อนเพลีย มีไข้ ร่วมด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

รังสีที่แผ่กระจายจากดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นอันตรายต่อผิวคือ แสงอัลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet light) ซึ่งแบ่งตามความยาวคลื่นได้ 3 ช่วง ช่วงที่ตกลงสู่พื้นโลกและส่งผลต่อผิวหนังได้แก่

  • ยูวีเอ (UVA) ทำให้เกิดผิวคล้ำแดด เพราะแสงจะกระตุ้นการสร้างเมลานิน แต่ไม่ทำให้เกิดการอักเสบ
  • ยูวีบี (UVB) ทำให้เกิดผิวเกรียมแดดและผิวหนังอักเสบ ผิวแก่ก่อนวัย และเกิดมะเร็งผิวหนัง และถึงแม้ว่ารังสียูวีบีจะถูกกรองออกไปด้วยกระจก แต่รังสีทุกชนิดอาจเข้ามาในบ้านที่เปิดประตูหน้าต่างไว้ด้วยกระแสลมทั้งที่อยู่ในที่ร่มก็ตาม

อาการผิวไหม้แดด

  • สีผิวแดงคล้ำเป็นปื้น ณ ตำแหน่งที่ถูกแสงแดด ผิวหนังลอก คัน ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังสัมผัสรังสี UV
  • เกิดตุ่มน้ำพุพอง
  • รู้สึกปวดแสบปวดร้อน

วิธีป้องกันผิวไหม้แดด

  1. ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดในช่วง 9.00-15.00 น. เพราะเป็นเวลาที่แสงแดดทำลายผิวได้มากที่สุด
  2. ใช้ Sunscreen หรือผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ซึ่งแม้จะอยู่ในที่ร่มก็ควรทาไว้ เนื่องจากรังสีทุกชนิดอาจเข้ามาในบ้านที่เปิดประตูหน้าต่างไว้ด้วยกระแสลม สำหรับคนไทย ค่า SPF ที่เหมาะสม คือ SPF 15 ขึ้นไป โดยความสามารถในการดูดซับรังสียูวีบีก็จะเพิ่มขึ้นตามปริมาณค่า SPF แต่ก็ไม่มากนัก และควรทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง เพราะครีมกันแดดบางส่วนจะถูกชะล้างออกด้วยเหงื่อ หรือน้ำ อย่างไรก็ตาม

สิ่งที่พึงระลึกเสมอคือ ไม่มีผลิตภัณฑ์กันแดดตัวใดที่จะสามารถป้องกันอันตรายจากแสงแดดได้ 100 %

วิธีรักษาผิวไหม้แดด

  1. ประคบเย็นที่ผิวหนังหลังสัมผัสแสงแดด
  2. ทาครีมหรือเจลว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) เพื่อทดแทนความชุ่มชื้นที่เสียไป
  3. ใช้ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ลดการอักเสบใต้ผิวหนัง เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อน ระคายเคืองที่ผิวหนัง

นอกจากนี้ ยังมีวิธีรักษาอาการผิวไหม้แดด ด้วยธรรมชาติอีกมากมาย ติดตามอ่านได้ที่นี่ คลิก


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ภญ.ฐนิตา ทวีธรรมเจริญ ฝ่ายเภสัชกรรม Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, สวยใส ไม่ไร้สติ...แสงแดดกับการดูแลรักษาผิว (http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=301), 21 สิงหาคม 2560.
WebMD Medical Reference, reviewed by Debra Jaliman, MD, Sunburn (http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/sunburn), 16 July 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)
จุดด่างดำบนผิวหนัง (Hyperpigmentation)

การเกิดจุดด่างดำบนผิวหนัง แม้ไม่ใช่เรื่องประหลาดและไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็อาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคบางชนิดได้

อ่านเพิ่ม